วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science en-US journal.Libbuu@gmail.com (วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา) chain_d@hotmail.com (chain) Thu, 14 Dec 2023 07:31:20 +0000 OJS 3.2.1.4 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ฟลักซ์ของของแข็งแขวนลอยและสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำบริเวณปากแม่น้ำแขมหนู จังหวัดจันทบุรี ในช่วงฤดูแล้งและฤดูน้ำมาก ในปี พ.ศ. 2558 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8794 <p>คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาฟลักซ์ของน้ำ ของแข็งแขวนลอยและสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำในรอบน้ำขึ้นน้ำลงบริเวณปากแม่น้ำแขมหนูจังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2558 ในช่วงฤดูแล้ง ระหว่างวันที่ 20-21 เมษายน และช่วงฤดูน้ำมาก ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม พบว่าฟลักซ์สุทธิของน้ำมีทิศทางไหลเข้าสู่แม่น้ำในช่วงฤดูแล้ง (2.71 × 106 m3/day) และไหลออกสู่ทะเลในช่วงฤดูน้ำมาก (0.59 × 10<sup>6</sup> m<sup>3</sup>/day) ฟลักซ์ของของแข็งแขวนลอย แอมโมเนีย และซิลิเกต ที่ทิศไหลออกสู่ทะเลในทั้งสองฤดูกาลโดย ฟลักซ์ในฤดูแล้งมีปริมาณที่ต่ำกว่าในฤดูน้ำมาก ฟลักซ์ของไนไตรท์ ไนเตรท และฟอสเฟต มีทิศทางไหลเข้าสู่ปากแม่น้ำในฤดูแล้งและไหลออกสู่ทะเลในฤดูน้ำมากเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์ของน้ำแต่ฟลักซ์ที่ไหลเข้าแม่น้ำมีปริมาณที่ต่ำกว่า ฟลักซ์ที่ไหลออกสู่ทะเลอย่างมาก ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของสารเหล่านี้ จากภายในแม่น้ำมากกว่าจากทะเลภายนอก ฟลักซ์ของของแข็งแขวนลอยและซิลิเกตที่มีปริมาณมากกว่าฟลักซ์ชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงน้ำมากอาจเป็นผลมาจากการชะล้างจากการผุพังและการกัดเซาะของแผ่นดิน ชายฝั่ง หรือพื้นท้องน้ำ ฟลักซ์ของสารอาหารกลุ่มไนโตรเจน ที่ไหลออกสู่ทะเลมีปริมาณที่มากกว่าฟลักซ์ของฟอสฟอรัสอย่างมาก อาจแสดงถึงแหล่งที่มาที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำ ได้แก่ ปุ๋ยที่ตกค้างจากการทำเกษตรกรรม และการขับถ่ายหรือการย่อยสลายของของเสียของสิ่งมีชีวิตจากแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือแหล่งชุมชน เมื่อเปรียบเทียบกับแม่น้ำอื่นๆ ในภาคตะวันออก พบว่าฟลักซ์ทุกชนิดมีปริมาณที่ต่ำกว่าแม่น้ำอื่นๆ เป็นส่วนใหญ่&nbsp; The fluxes of water, suspended solid, and dissolved inorganic nutrients during a tidal cycle at the Kham Noo River Mouth, Chanthaburi Province were investigated during the dry season between 20–21 April and during the wet season between 8–9 October 2015. It was found that the net water flux flowed into the river during the dry season (2.71 × 106 m 3 /day) and into the sea during the wet season (0.59 × 10<sup>6</sup> m<sup>3</sup> /day). The suspended solid, ammonia, and silicate fluxes flowed toward the sea in both seasons, with fluxes in the dry season being much lower than those in the wet season. The nitrite, nitrate, and phosphate fluxes tended to flow into the river in the dry season and to the sea in the wet season as well as the seasonal variations in water flux. However, the fluxes flowing into the river were much lower than those flowing into the sea. The results show that the source of these substances was from within the river rather than from the sea. Suspended solid and silicate fluxes that were larger than other fluxes, especially during the wet season, may be the result of the leaching from decay and erosion of the land, coast, or water bottom. Nitrogen nutrient fluxes out to the sea were considerably greater than phosphorus fluxes, which may indicate a source occurring in the watershed, i.e., agricultural residues, and the excretion or degradation of wastes from aquaculture or community sources. Compared to other rivers in the eastern region, all fluxes of Kham Noo River were lower than most others.</p> อนุกูล บูรณประทีปรัตน์, สุธิดา กาญจน์อติเรกลาภ , ศุภวัตร กาญจน์อติเรกลาภ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8794 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 ศึกษาวิธีการสกัดและสมบัติทางเคมีกายภาพของโปรตีนพืชในการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนื้อสัตว์ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8795 <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย คือ เพื่อตกตะกอนโปรตีนและนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์โปรตีนพืชเลียนแบบเนื้อสัตว์ เบื้องต้นมีการศึกษากรรมวิธีในการกำจัดกลิ่นถั่วเหลืองที่ใช้เป็นแหล่งโปรตีนในอาหาร พบว่า ถั่วที่แช่ด้วย 0.5% CaCO<sub>3</sub> มีการกำจัดกลิ่นถั่วได้ดีที่สุด และประสิทธิภาพในการตกตะกอนโปรตีนจากถั่วเหลืองด้วย 1% Glucono delta lactone (GDL) ให้ปริมาณโปรตีนสูงสุด 50.04% แต่ให้รสขมตกค้าง รองลงมาคือ 3% MgSO<sub>4</sub> : NaCl (2 : 1) ให้ปริมาณโปรตีน 44.51% (p ≤ 0.05) โดย MgSO<sub>4</sub> : NaCl (2 : 1) เข้มข้น 3% ถูกคัดเลือกใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์จากพืชแบบปริมาณโปรตีนสูง พบว่าสูตร A ที่ใช้โปรตีนพืชของของเห็ดแครงต่อเห็ดเข็มทองในอัตราส่วน 70: 30 ให้ปริมาณโปรตีนสูงสุด 20.61% (p ≤ 0.05) และเมื่อพัฒนาเนื้อสัมผัสด้วยการใช้ กระบวนการร่วม 2 วิธี คือ การแช่เยือกแข็ง (Freezing; AF) และการใช้แรงเฉือน (Shearing; AS) เปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุมคือเนื้อหมู พบว่า ค่าการเกาะติดของโครงสร้าง (Cohesiveness) ของเนื้อหมูมีค่าน้อยที่สุด ขณะที่เส้นใยโปรตีนพืชจะให้ค่าความยืดหยุ่น (Springiness) และความสามารถของการเคี้ยว (Chewiness) สูงกว่าเนื้อหมู นอกจากนั้นสูตร AS-70:30 ให้ค่าเนื้อสัมผัสและลักษณะปรากฏหลังการดูดกลับน้ำที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเนื้อหมูสด โดยอัตราการดูดซับน้ำของทุกสิ่งทดลองมีมากค่ามากขึ้นตามระยะเวลาในการอบแห้งที่นานขึ้น&nbsp; The objectives of the present study were to precipitate protein from soybeans and apply it to in plant based meat products. Preliminary studies have been conducted to eliminate the smell of soybeans in order to use them as a protein source in food. It was found that soybean odor elimination with 0.5% CaCO<sub>3</sub> was the best method of odor removal. The efficiency of soybean protein precipitation with 1% GDL provided the highest protein content (50.04%), but it gave a residual bitter taste, followed by 3% MgSO<sub>4</sub> : NaCl (2 : 1) providing 44.51% protein content (p ≤ 0.05). The ratio of MgSO<sub>4</sub> : NaCl (2 : 1) at a 3% concentration was selected for the production of high protein plant- based meat. It indicated that formula A using a ratio of plant protein of cockle mushroom to Golden needle mushroom of 70:30 had the highest protein content of 20.61% (p ≤ 0.05). The texture of plant- based meat was developed by two processes, such as freezing (AF) and shearing (AS), and compared with the control sample (pork meat). It was found that the adhesion value (Cohesiveness) of pork meat was the least, while plant- based protein providing flexibility (Springiness) and the ability to chew (Chewiness) was higher than those of pork. In addition, the texture and appearance of the AS-70:30 after rehydration were similar to the fresh pork. The water absorption rate of all experimental data increased with the increasing in drying time.</p> ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ, มัทวัน ศรีอินทร์คำ , ณัฎฐิกา ศิลาลาย Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8795 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การบำบัดน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์สูงจากโรงงานผลิตขนมจีนและโรงฆ่าสัตว์ด้วยระบบถังกรองไร้อากาศร่วมกับพืชลอยน้ำที่ระยะเวลาเก็บกักน้ำแตกต่างกัน https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8796 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบถังกรองไร้อากาศร่วมกับพืชลอยน้ำที่ระยะเวลาเก็บกักน้ำแตกต่างกันในการบำบัดน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์สูง โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุด คือชุดที่ 1 การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตขนมจีนด้วยระบบถังกรองไร้อากาศร่วมกับจอก (พืชลอยน้ำ) และชุดที่ 2 การบำบัดน้ำเสียจากโรงฆ่าสัตว์ด้วยระบบถังกรองไร้อากาศร่วมกับผักตบชวา (พืชลอยน้ำ) การออกแบบกำหนดปริมาณน้ำเสียเข้าระบบอย่างต่อเนื่อง 40 ลิตรต่อวัน ใช้ระยะเวลาเก็บกักน้ำ 6, 12, 18, 21, 24 และ 36ชั่วโมง เก็บตัวอย่างน้ำเข้าและออกจากระบบมาวิเคราะห์ค่าของแข็งแขวนลอย บีโอดีและซีโอดี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างประสิทธิภาพการบำบัดด้วยสถิติ F-test (One-way ANOVA) ที่ระดับ .05 ผลการศึกษาประสิทธิภาพของระบบถังกรองไร้อากาศร่วมกับพืชลอยน้ำที่ระยะเวลาเก็บกักน้ำ 6, 12, 18, 21, 24 และ 36 ชั่วโมง พบว่า ทั้ง 2 ชุดการทดลองสามารถบำบัดของแข็งแขวนลอยได้เพิ่มขึ้นเมื่อระยะเวลาเก็บกักน้ำนานขึ้น โดยมีประสิทธิภาพการบำบัดในน้ำเสียโรงงานผลิตขนมจีนเท่ากับร้อยละ 23.31, 16.87, 36.95, 26.04 และ 49.14 ตามลำดับ และน้ำเสียโรงฆ่าสัตว์เท่ากับร้อยละ 23.99, 34.37, 41.25, 44.75 และ 50.12 ตามลำดับ ส่วนประสิทธิภาพการบำบัดบีโอดีและซีโอดีพบว่า ที่ระยะ เวลาเก็บกักน้ำ 12 ชั่วโมง สามารถบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตขนมจีนได้มากสุดร้อยละ 23.60 และ 36.12 และที่ระยะเวลาเก็บกักน้ำ 24 ชั่วโมง สามารถบำบัดน้ำเสียจากโรงฆ่าสัตว์ได้มากสุดร้อยละ 52.78 และ 39.79 เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดทั้ง 2 ชุด การทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการบำบัดของแข็งแขวนลอยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนบีโอดีและซีโอดี ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05&nbsp; The objectives of this research were to study and compare the efficiency of anaerobic filter tank system in combined with floating plants at different hydraulic retention times in treatment of high organic wastewater. The experiments were divided into 2 sets, i.e. the first set, the treatment of wastewater from the Fermented Rice Noodles Factory with anaerobic filter tank system with water lettuce (a floating plant) and the second set, the treatment of wastewater from the slaughterhouse with anaerobic filter tank system with water hyacinth (a floating plant). There was design for continuous wastewater intake of 40 liters per day, using water retention periods 6, 12, 18, 21, 24 and 36 hours. Water samples were taken in and out of the system for analyzing of suspended solids, BOD and COD. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation, and compared the difference in treatment efficacy with F-test (One-way ANOVA) statistic at the .05 level. The study results on the efficiency of the anaerobic filter system with floating plants at the water retention periods of 6, 12, 18, 21, 24 and 36 hours showed that both sets of experiments were able to treat more suspended solids when the water retention period was longer. The treatment efficiency in Fermented Rice Noodles Factories wastewater were 23.31, 16.87, 36.95, 26.04 and 49.14 %, respectively, and slaughterhouse wastewater were 23.99, 34.37%, 41.25, 44.75 and 50.12 %, respectively. Efficiency of treated BOD and COD were found that at the water retention period of 12 hours, wastewater of Fermented Rice Noodles Factories can be treated at a maximum of 23.60 % and 36.12%, and at the water retention period 24 hours, the slaughterhouse wastewater can be treated at a maximum of 52.78% and 39.79 %. When comparing the treatment efficiency of two trials, it was found that efficiency of suspended solids treatment was significantly different, while BOD and COD were not statistically significant difference at .05 level.</p> อังศุมา ก้านจักร, เมตตา เก่งชูวงศ์, รติกร แสงห้าว , ชมภู่ เหนือศรี Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8796 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 กระบวนการดูดซับซัลเฟตในน้ำเสียด้วยวัสดุดูดซับที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8797 <p>การศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับซัลเฟตออกจากน้ำเสีย โดยใช้ด้วยวัสดุดูดซับที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ ปูนขาว เปลือกหอยนางรมบด เถ้าหนักและเถ้าลอยจากเตาเผาขยะชุมชน โดยทำการ ศึกษาทดลองเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสม โดยการปรับเปลี่ยนปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการดูดซับ ได้แก่ ค่าพีเอช (PH) ของสารละลายปริมาณของตัวดูดซับ ระยะเวลาที่ใช้ในการดูดซับ และความเข้มข้นเริ่มต้นของซัลเฟตไอออน (SO<sub>4</sub> <sup>2-</sup>) ในน้ำเสีย ผลการศึกษา พบว่า วัสดุดูดซับทุกชนิดมีความสามารถในการดูดซับซัลเฟต ที่ความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัม/ลิตร ประสิทธิภาพในการดูดซับมีค่าประมาณ 22.45 - 46.19% ความสามารถในการดูดซับ ซัลเฟตมีค่าประมาณ 111 – 215 มิลลิกรัม/กรัม โดยเถ้าลอยมีประสิทธิภาพในการดูดซับสูงสุด ซึ่งสภาวะที่เหมาะสม คือ ปริมาณตัวดูดซับ 3 กรัมลิตร ค่าพีเอชของสารละลาย เท่ากับ 3 และระยะเวลาที่ใช้ในการดูดซับเท่ากับ 30 นาที ผลการศึกษาไอโซเทอมของการดูดซับซัลเฟตบนพื้นผิวของวัสดุดูดซับแต่ละชนิด พบว่า ปูนขาวและเถ้าลอยมีรูปแบบที่สอดคล้องกับไอโซเทอมการดูดซับของฟรุนดลิช บ่งชี้ว่าเป็นการดูดซับแบบหลายชั้นหรือเป็นการดูดซับทางกายภาพ ส่วนการดูดซับด้วยเปลือกหอยนางรมบดและเถ้าหนักมีรูปแบบที่สอดคล้องกับไอโซเทอมการดูดซับแลงเมียร์ บ่งชี้ว่าเป็นการดูดซับแบบชั้นเดียวและเป็นการดูดซับทางเคมี The research was focus on adsorption efficiency of sulfate by absorbent containing calcium carbonate including lime oyster powder fine ash and bottom ash from municipal incinerator. Batch experiment were performed as a function of pH, adsorbent dosage, contract time and initial sulfate concentration. The results revealed that all adsorbent materials had the ability to absorb sulfate. At the concentration of 1,000 mg SO<sub>4</sub> <sup>2-</sup> /L, the adsorption efficiencies were 22.45 – 46.19%, and the sulfate adsorption capacities were 110.71 –215.06 mg/g. The fly ash had the highest absorption efficiency. The optimum condition was 3 g/L of adsorbent, pH of wastewater was 3, and contact time was 30 minutes. The results of adsorption processes of sulfate on the surface of each type of adsorbent showed that lime and fly ash were better correlated to the Freundlich adsorption isotherm. Which shown that the adsorption was multi-layer adsorption or physisorption. Whereas, oyster powder and bottom ash were well fitted with the Langmuir adsorption isotherm, which indicated that adsorption was monolayer adsorption on a homogenous surface or chemisorption.</p> ทิตยา บัณฑิต, มธุริน หงษ์ร่อน , ณัฐฐา แสงนรินทร์ เหมจินดา Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8797 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การสำรวจคุณภาพน้ำผิวดินภายในพระตำหนักเมืองนคร อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8798 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณภาพน้ำผิวดินภายในพระตำหนักเมืองนครอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ โดยทำการเก็บตัวอย่างจำนวน 5 จุด ดำเนินการเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2564 ทำการเก็บตัวอย่างเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้ก้อนอิฐและกระชอนในการช้อนตัวอ่อนแมลงและสิ่งมีชีวิต ที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำตามจุดที่ได้กำหนดไว้จากนั้นจึงนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันโดยใช้เกณฑ์การประเมินตามคู่มือ นักสืบสายน้ำของมูลนิธิโลกสีเขียว พ.ศ. 2561 ผลการสำรวจพบความหลากหลายของกลุ่มแมลงน้ำทั้งสิ้น 5 อันดับ 8 วงศ์ โดยอันดับ Odonata, Gastropod และ Hemiptera พบอันดับละ 2 วงศ์ ส่วนอันดับ Ephemeroptera และ Caridea อันดับละ 1 วงศ์ ตามลำดับ คุณภาพน้ำจากจุดเก็บตัวอย่างทั้ง 5 จุด อยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำพอใช้ เหมาะสำหรับการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ พบตัวอ่อนแมลงและสิ่งมีชีวิตที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำ เช่น กุ้งฝอย หอยขม หอยเจดีย์ ตัวอ่อนแมลงตัวสั้น และตัวอ่อนแมลงปอห่างเดี่ยว ลักษณะของแหล่งน้ำจะมีการทับถมของใบไม้และเศษวัชพืช เป็นจำนวนมากและมีหญ้าปกคลุมบางส่วน มีการไหลของน้ำอยู่ตลอดเวลา สำรวจจะพบตัวอ่อนแมลงและสิ่งมีชีวิตที่เป็น ตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำสะอาดและคุณภาพน้ำพอใช้อยู่ในจุดเดียวกันด้วย อันเกิดจากการปรับตัวของตัวอ่อนแมลงให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิต&nbsp; This research was to survey the surface water quality within Muang Nakhon Reception House, Phrom Khiri District, Nakhon Si Thammarat Province, by using biological indicators. Inside the City Hall by collecting samples at 5 points, conducted for 3 months, from August to October 2021, samples were collected once a month. Using bricks and a colander Collect insect larvae and organisms as indicators of water quality at predetermined points and compare them using assessment criteria according to the Green World Foundation's Water Detective Guide 2018. The results of the survey revealed the diversity of aquatic insect groups in 5 ranks, 8 families, respectively, from Odonata, Gastropod, and Hemiptera, 2 of each, while Ephemeroptera, Caridea, of 1 of each, respectively. Water quality from all 5 sampling points was within the criteria of fair water quality. Suitable for use in agriculture and animal husbandry. Found insect larvae and organisms that are water quality indicators such as shrimp, periwinkle, pagoda snails, short insect larvae, and solitary dragonfly larvae. The nature of water source will have a large accumulation of leaves and weed debris and be partially covered with grass. There is always a flow of water. The survey, insect larvae, and organisms that are indicators of clean water quality and fair water quality are also found in the same spot. Caused by the adaptation of insect larvae to adapt to all environments for living.</p> วัฒนณรงค์ มากพันธ์ , ศดานันท์ สวนแก้ว Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8798 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การใช้ประโยชน์กากตะกอนจากระบบตะกอนเร่งเป็นวัสดุทดแทนในการผลิตอิฐมอญ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8799 <p>ปัจจุบันค่าใช้จ่ายจากภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้นเป็นอย่างมากสำหรับการกำจัดกากตะกอนจากระบบตะกอนเร่งในประเทศไทย โดยเฉพาะในกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง กากตะกอนน้ำเสียจากระบบตะกอนเร่งกลายเป็นปัญหาสำคัญของโรงบำบัดน้ำเสียต่างๆ โดยวิธีการกำจัดแบบเดิมที่นิยมใช้คือ การฝังกลบและเผา ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ยั่งยืนและไม่เหมาะสมเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจใช้กากตะกอนจากระบบตะกอนเร่งทดแทนดินในการทำอิฐมอญ โดยอัตราส่วนที่ใช้มี 7 อัตราส่วนถูกใช้ในงานวิจัยนี้ ได้ทำการผสมระหว่างดินเหนียวปกติกับกากตะกอนจากระบบตะกอนเร่งเท่ากับ 1:0 (ชุดควบคุม), 0.9:0.1, 0.8:0.2, 0.7:0.3, 0.6:0.4 และ 0.5:0.5 โดยน้ำหนักแห้ง มีสามพารามิเตอร์ถูกพิจารณานำมาใช้ในการทดสอบคุณสมบัติของอิฐมอญที่ผลิตได้ คือ ความหนาแน่น ความสามารถในการดูดซึมน้ำ และความสามารถในการรับแรงอัด พบว่าอิฐที่เติมกากตะกอนจากระบบตะกอนเร่งเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์ (ที่อัตราส่วนเท่ากับ 0.9:0.1) มีความเหมาะสมสำหรับงานก่อสร้าง เนื่องจากอิฐที่ผลิตได้มีน้ำหนักเบาและมีความสามารถในการรับแรงอัดได้สูงสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของประเทศไทย อย่างไรก็ตามมีข้อจำกัดในการนำอิฐที่ผลิตได้ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งพบว่ามีความสามารถในการดูดซึมน้ำสูง อิฐควรถูกนำไปแช่ในน้ำก่อนนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นกากตะกอนน้ำเสียจากระบบตะกอนเร่งจึงมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เป็นวัสดุทดแทนดินโดยรีไซเคิลในกระบวนการผลิตอิฐมอญ ซึ่งผลที่ตามมาคือ เป็นประโยชน์ด้านการเงินและสิ่งแวดล้อมเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการกำจัดแบบเดิมมากไปกว่านี้งานวิจัยนี้สามามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับจัดการกากตะกอนน้ำเสียจากระบบตะกอนเร่งจากแหล่งอื่น&nbsp; Currently, Thai industrial spending is high for waste-activated sludge (WAS) disposal in Thailand, particularly in tapioca starch production that uses an activated sludge wastewater process. WAS is a significant problem in several wastewater treatment plants. Previous disposal methods, such as landfills and incineration, are not sustainable and proper due to limitations of environmental concerns. Therefore, this research was interested in using WAS as a soil substitute in fired clay brick production. Seven mixing ratios between normal clay soil (NS) and WAS (1:0 (control), 0.9:0.1, 0.8:0.2, 0.7:0.3, 0.6:0.4, and 0.5:0.5 by dry weight) were established in this research. Three parameters were considered for testing the properties of the finished fired clay brick as follows: density (D), water absorption (WA), and compressive strength (CS). It was found that the bricks with the addition of 10% WAS (at a mixing NS: WAS ratio of 0.9:0.1) were suitable for construction work due to the produced lightweight bricks and the high compressive strength according to the Thai community product standard (TCPS). However, there was a limitation on the use of produced brick, which has high-water absorption. The bricks should be soaked in water before using. Thus, WAS is a promising soil substitute for recycling in fired clay brick production, resulting in many financial benefits and environmental advantages as compared to the traditional WAS disposal. In addition, this research can be used as a guideline for WAS application from other sources.</p> สุพิชญา มีสาด, ชุมาพร รถสีดา , ปิยะวดี ศรีวิชัย Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8799 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 ผลของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวผงต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เต้าหู้นมสดเสริมเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวผง https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8800 <p>จุดประสงค์งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาปริมาณเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวผงต่อกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เต้าหู้นมสดโดยได้ทำการศึกษาผลิตภัณฑ์เต้าหู้นมสดเสริมเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวผงร้อยละ 0, 1, 2 และ 3 ศึกษาสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ความสว่าง ค่าสีเนื้อสัมผัส และลักษณะปรากฏ ศึกษาสมบัติทางเคมี ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง ไลโคพีน และความสามารถในการต้านสารอนุมูลอิสระ DPPH ศึกษาสมบัติทางจุลชีววิทยาด้านจุลินทรีย์ทั้งหมด และศึกษาการยอมรับประสาทสัมผัสด้านลักษณะปรากฏ สีกลิ่น รสชาติเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมโดยใช้ผู้ทดสอบชิมที่ไม่ผ่านการฝึกฝนจำนวน 30 คน แบบ 9-point hedonic scale ผลการวิเคราะห์ทางกายภาพพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นค่าความสว่าง เมื่อเพิ่มปริมาณเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวผงมากขึ้นมีผลทำให้แนวโน้มเนื้อสัมผัสไลโคพีน และความสามารถในการต้านสารอนุมูลอิสระ DPPH มีค่าเพิ่มขึ้น ผลการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ผลการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาพบว่า จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดของทุกตัวอย่างเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.528/2547) ส่วนผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่า ผลิตภัณฑ์เต้าหู้นมสดเสริมเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวผงร้อยละ 1 ได้รับคะแนน ความชอบด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมสูงสุดเท่ากับ 7.56, 7.36 และ 7.53 คะแนน ตามลำดับ&nbsp; The objective of this research was to study the effect of gac fruit aril powder on the processing of the tofu milk that was supplemented with 0%, 1%, 2% and 3% of gac fruit aril powder. Physical properties such as brightness, color, texture, appearance, chemical properties including pH, lycopene and percentage of DPPH inhibition and microbiological properties including total plate count of samples were analyzed. In addition, sensory evaluation of each product’s appearance, color, odor, taste, texture and overall acceptability was performed by 30 untrained panelists using the 9-point hedonic scale. With respect to the physical properties, it was found that all treatments were significantly different, except for the brightness. As the amount of gac fruit aril powder increased texture, lycopene and percentage of DPPH inhibition values also significantly increased. Chemical properties showed that they were significantly different (p&lt;0.05).&nbsp; Microbiological results revealed that total plate count of all samples met the standard regulation according to the Thai Industrial Standards Institute for tofu milk (CPS.528/2004). Sensory evaluation indicated that taste, texture and overall acceptability of tofu milk products supplemented with 1% of gac fruit aril powder gave the highest scores of 7.56, 7.36 and 7.53, respectively.</p> วัฒนา วิริวุฒิกร Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8800 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 องค์ประกอบและแนวทางการจัดการขยะมูลฝอย จากแผงลอยย่านเทเวศร์ กรุงเทพมหานคร https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8801 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและปริมาณขยะมูลฝอย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์ประกอบและปริมาณขยะมูลฝอย และแนวทางการจัดการขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการจำหน่ายสินค้าในจุดผ่อนผันค้าขายหาบเร่-แผงลอยบริเวณตลาดเทเวศร์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่ศึกษามีแผงลอยทั้งสิ้น 71 แผงลอยแบ่งตามลักษณะสินค้าที่จำหน่ายได้เป็น 4 ประเภท คือ แผงลอยจำหน่ายอาหาร 42 แผงลอย ผักและผลไม้ 17 แผงลอยเครื่องดื่ม 5 แผงลอย และเบ็ดเตล็ด 7 แผงลอย มีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นเฉลี่ย 181.00 + 7.15 กิโลกรัม/วัน ขยะมูลฝอยส่วนใหญ่ (84.23%) เป็นขยะอินทรีย์ เฉลี่ย 152.46 + 7.15 กิโลกรัม/วัน ส่วนขยะที่ขายได้และขยะที่ขายไม่ได้ มีปริมาณเล็กน้อย เฉลี่ย 15.66 + 0.65 และ 12.88 + 0.29 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ประเภทของแผงลอยที่แตกต่างกัน และวันหยุดยาว มีผลต่อองค์ประกอบและปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p&lt;0.05) ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า พื้นที่ศึกษาจำเป็นต้องมีระบบการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีแนวทางดำเนินการหลัก 3 ด้าน คือ (1) การลดและคัดแยกขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด (2) การปรับปรุงระบบเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย และการนำขยะมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และ (3) การส่งเสริมระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยนี้มีประโยชน์สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบใช้เป็นแนวทางจัดการขยะมูลฝอยจากกิจกรรมหาบเร่-แผงลอยในพื้นที่ศึกษา ใช้เป็นข้อมูลฐาน และประยุกต์ใช้กับพื้นที่ที่มีกิจกรรมคล้ายคลึงกัน เพื่อช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม&nbsp; This survey research aimed to study the waste composition, influence factors, and management guidelines for the solid waste generated from different types of hawkers in the Thewet area, Dusit District of Bangkok. It was found that there were 71 hawker stalls in the study area, including of 42 food stalls, 17 fruit/vegetable stalls, 5 beverage stalls, and 7 miscellaneous stalls. The average weight of waste generated was 181.00 ± 7.15 kilograms/day. The vast majority (84.23%) of the waste generated was organic waste, about 152.46 ± 7.15 kilograms/day, while the resalable waste and non-resalable waste were found in small amounts, which about 15.66 ± 0.65 and 12.88 ± 0.29 kilograms/day, respectively. It was also revealed that significant differences (95% confidence level, p&lt;0.05) in waste composition were found in different types of hawkers, and during the long holiday periods. These findings highlighted that the study area needed more appropriate and effective waste management, consisting of (1) waste minimization and separation, (2) waste collection improvement and waste utilization according to the circular economy model, and (3) public-private-people participation. These results could be used for hawker waste management by the responsible agency, and be applied in similar areas to enhance sustainable tourism, along with eco-friendly development and growth.</p> ธนิษฐา หอมสุวรรณ, จุฬาภรณ์ กำเนิดเพชร , ศรัณยา สุจริตกุล Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8801 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 ผลของการเสริมเอนไซม์โปรติเอสและไฟเตสในอาหารต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต อัตรารอด อัตราแลกเนื้อ ประสิทธิภาพของอาหาร และประสิทธิภาพการย่อยอาหารของปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8802 <p>ทำการทดลองใช้โปรติเอสร่วมกับไฟเตสมาเสริมในอาหารสำเร็จรูป เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการเจริญเติบโต อัตรารอด การใช้ประโยชน์จากอาหาร และประสิทธิภาพการย่อยได้ของวัตถุแห้ง (ADMD) โปรตีน (ACPD) และไขมัน (ALD) ของปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus) โดยวางแผน การทดลองแบบสุ่มตลอด แบ่งออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ตามความเข้มข้นของโปรติเอสในสูตรอาหาร ประกอบด้วย 500 ยูนิต/กิโลกรัม 1,000 ยูนิต/ กิโลกรัม, 2,000 ยูนิต/กิโลกรัม ร่วมกับไฟเตส 500 ยูนิต/กิโลกรัม ทั้ง 3 สูตร และชุดควบคุมที่ไม่เติมเอนไซม์ โดยผสมลงให้ทั่วในอาหารสำเร็จรูปที่บดละเอียดที่มีโปรตีน 31.98±0.06 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยผสมโครมิกออกไซด์ 0.5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักอาหาร นำไปอัดเม็ด ผึ่งให้แห้งแล้วจึงไปเคลือบด้วยน้ำมันตับปลา 0.5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักอาหาร นำมาทดสอบเลี้ยงปลาดุกลูกผสมขนาดเริ่มต้นที่น้ำหนัก 5.45±0.05 กรัม และความยาว 9.22±0.04 เซนติเมตร ในบ่อคอนกรีต ขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร ที่ความหนาแน่น 30 ตัวต่อตารางเมตร ให้อาหาร 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว วันละ 3 ครั้ง ทำ 3 ซ้ำ ทำการสุ่มปลาจำนวน 10 ตัว (33 เปอร์เซ็นต์) ทุกๆ 10 วัน ของแต่ละซ้ำเพื่อประเมินความยาวและน้ำหนัก และเมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงครบ 70 วัน ทำการเก็บขี้ปลาเพื่อนำไปหาประสิทธิภาพการย่อยสารอาหาร ผลการทดลองพบว่า ปลาทุกกลุ่มมีอัตรารอด เปอร์เซ็นต์น้ำหนักและความยาวที่เพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตจำเพาะ ความแปรปรวนของขนาด อัตราแลกเนื้อมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p&gt;0.05) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวัน ประสิทธิภาพของอาหาร น้ำหนักอาหารที่ปลากิน ประสิทธิภาพการย่อยวัตถุแห้งและประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนของปลาชุดที่ได้รับอาหารเสริมโปรติเอส 500 ยูนิต/กิโลกรัม ร่วมกับไฟเตส 500 ยูนิต/กิโลกรัม มีค่าสูงกว่าปลาชุดได้รับอาหารชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p&lt;0.05) แต่ไม่แตกต่างกับปลาชุดที่ได้รับอาหารเสริมโปรติเอส 1,000 ยูนิต/กิโลกรัม ร่วมกับไฟเตส 500 ยูนิต/กิโลกรัม และปลาชุดที่ได้รับอาหารเสริมโปรติเอส 2,000 ยูนิต/กิโลกรัม ร่วมกับไฟเตส 500 ยูนิต/กิโลกรัม อย่างมีนัยสำคัญ (p&gt;0.05) ขณะที่ประสิทธิภาพการย่อยไขมันของปลาที่รับอาหารเสริมโปรติเอส 500, 1,000 และ 2,000 ยูนิต/กิโลกรัม ร่วมกับไฟเตส 500 ยูนิต/กิโลกรัม มีค่าสูงกว่าปลาชุดที่ได้รับอาหารชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p&lt;0.05) ชี้ให้เห็นว่าการเสริมเอนไซม์โปรติเอส 500 ยูนิต/กิโลกรัม ร่วมกับเอนไซม์ไฟเตส 500 ยูนิต/กิโลกรัม เป็นระดับเหมาะสมในการเลี้ยงปลาดุกลูกผสมที่ส่งผลให้มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและการใช้ประโยชน์จากอาหารดีขึ้น&nbsp; The effect of inclusion of&nbsp;protease and phytase on growth performance, survival rate, feed utilization and apparent digestibility of dry matter (ADMD), protein (ACPD) and lipid (ALD) of hybrid catfish (Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus), the four experimental feeds were designed by CRD (Completely Randomized Design) as protease levels supplemented in feed formular as followed 500 U/kg (T1), 1,000 U/Kg (T2) 2,000 U/kg (T3) and plus 500 U/kg phytase of these formulas and without enzyme supplementation (C). Enzymes was thoroughly mixed in finely ground feed with 31.98±0.06% protein followed by chromic oxide at 0.5% dry weight and thoroughly mixed, pelleting, drying, then coating with fish liver oil at 0.5% dry weight. The hybrid catfish at initial size of 5.45±0.05 g and 9.22±0.04 cm in size was raised in 1m3 concrete tank at density of 30 fish/m2. They were fed at 5% of body wet weight and three times daily. The three replications were applied. Ten fishes per replication (33%) were randomly sampled for size evaluation every ten days until at day 70 of culture, the fish fecal was collected for digestibility test. Results found that survival rate, %weight and length gains, specific growth rate, size variation and feed conversion ratio were not different (p&gt;0.05) among groups. Average daily weight gain, feed efficiency, feed consumption, ADMD and ACPD of fish fed with feed mixed with 500 U/kg protease and 500 U/kg phytase were significantly higher (p&lt;0.05) than that of control feed but not different (p&gt;0.05) with feed mixed with 1,000 U/kg protease and 500 U/kg phytase and feed mixed with 2,000 U/kg protease and 500 U/kg phytase. ALD of fish fed with feed mixed with 500 U/kg, 1,000 U/kg, and 2,000 U/kg protease and 500 U/kg phytase was significantly higher (p&lt;0.05) than that of control feed. This indicates that the supplementation of protease 500 U/kg and phytase 500 U/kg in feed is the most suitable level for raising this species in terms of growth performance and feed utilization.</p> บุญรัตน์ ประทุมชาติ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8802 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 ความเข้มข้นของปรอท ซีลีเนียม และค่าสัดส่วนโมลาร์ของซีลีเนียมและปรอทในปลาหน้าดิน : ปลาหมูสีแก้มแดง ปลากะพงแดงข้างปาน และปลากะพงเหลืองข้างแถบ จากอ่าวไทย https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8803 <p>การบริโภคปลาทะเลอาจทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงที่จะได้รับปรอทที่ปนเปื้อนในปลาทะเลได้ แต่ปลาทะเลก็เป็นแหล่งที่สำคัญของซีลีเนียมซึ่งเป็นธาตุปริมาณน้อยที่มีความจำเป็นต่อมนุษย์ ประกอบกับซีลีเนียมสามารถลดความเป็นพิษของปรอทได้การศึกษานี้ได้ทำการตรวจวัดความเข้มข้นของปรอทและซีลีเนียมในปลาทะเลหน้าดิน 3 ชนิด ได้แก่ ปลาหมูสีแก้มแดง (n = 22) ปลากะพงแดงข้างปาน (n = 19) และปลากะพงเหลืองข้างแถบ (n = 19) จากเกาะเสม็ด จ. ระยอง, เกาะหมาก จ. ตราด, อำเภอขนอม จ. นครศรีธรรมราช และตลาดหนองมน จ. ชลบุรี ความเข้มข้นปรอทในปลาแต่ละชนิดมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 0.231 ± 0.147, 0.380 ± 0.295 และ 0.237 ± 0.219 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (มก./กก.) น้ำหนักเปียก ตามลำดับ ปลากะพงแดงข้างปานเป็นปลาที่มีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นปรอทสูงกว่าปลากะพงเหลืองข้างแถบ และปลาหมูสีแก้มแดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ความเข้มข้นปรอทในเนื้อเยื่อปลาทั้ง 3 ชนิดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น ความเข้มข้น ซีลีเนียมในปลาแต่ละชนิดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.759 ± 0.102, 0.800 ± 0.085 และ 0.796 ± 0.058 มก./กก. ตามลำดับไม่พบความแตกต่างทางสถิติของค่าความเข้มข้นซีลีเนียมระหว่างชนิดปลาและสถานี และไม่พบแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นซีลีเนียมกับความเข้มข้นปรอทในปลาและขนาดความยาวตัวปลา สัดส่วนโมลาร์ Se:Hg ของตัวอย่างปลาทั้งหมดมีค่าระหว่าง 2.10–60.08 โดยสัดส่วนโมลาร์ Se:Hg มีแนวโน้มลดลงเมื่อความเข้มข้นปรอทและขนาดความยาวตัวปลาเพิ่มขึ้น ความเข้มข้นปรอทในปลาจากการศึกษานี้เป็นไปตามมาตรฐานปรอทในอาหารของประเทศไทย (Ministry of Public Health, 2020) ประกอบกับไม่พบปลาที่มีค่าสัดส่วนโมลาร์ Se:Hg ต่ำกว่า 1 บ่งชี้ว่าปลาทั้ง 3 ชนิดจากอ่าวไทยมีความปลอดภัยต่อการบริโภค&nbsp; Consuming marine fish could increase a person’s exposure to mercury (Hg), a highly toxic trace element. Marine fish is also a main source of selenium (Se), an essential trace element, which counteract Hg toxicity. This study examines concentrations of Hg, Se and Se:Hg molar ratios in muscle tissue of 3 demersal fish species; pink ear emperor (Lethrinus lentjan) (n = 22), Russell’s snapper (Lutjanus russelli) (n = 19) and brown stripe snapper (Lutjanus vitta) (n = 19) from Samet island, Rayong province, Mak island, Trat province, Khanom district, Nakhon Si Thammarat province and Nongmom market, Chonburi province. Mean Hg concentration in 3 fish species were 0.231 ± 0.147, 0.380 ± 0.295 and 0.237 ± 0.219 mg/kg (ww), respectively. The mean Hg concentration of Russell’s snapper was significantly higher than that of brown stripe snapper and pink ear emperor (p&lt;0.05). Mercury concentration was found to increase with fish size. Mean Se concentration were 0.759 ± 0.102, 0.800 ± 0.085 and 0.796 ± 0.058 mg/kg (ww), respectively. No significant difference in Se concentration among species and locations were found. Se concentration shows no correlation with neither Hg concentration nor fish length. Se:Hg molar ratios in all fish samples ranged from 2.10 to 60.08. Se:Hg molar ratio is negatively correlated with Hg concentration and fish length. Hg content in these fish is within the Thai maximum permissible Hg content in food (Ministry of Public Health, 2020) and none of these fish has Se:Hg molar ratios below 1. Therefore, these 3 demersal fish species from the Gulf of Thailand are safe for human consumption.</p> ยศกร ดวงหะทัย, นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ตรี, สุชา มั่นคงสมบูรณ์, สุวรรณา ภาณุตระกูล Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8803 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การประยุกต์การวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกแบบทวิภาคและเทคนิคการสังเคราะห์ข้อมูลเพิ่มจากกลุ่มส่วนน้อยสำหรับการทำนายการผิดนัดชำระสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8805 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกแบบทวิภาค และการแก้ปัญหาข้อมูลที่ไม่สมดุลด้วยเทคนิคการสังเคราะห์ข้อมูลเพิ่มจากกลุ่มส่วนน้อย เพื่อประยุกต์ใช้ในการทำนายการผิดนัดชำระสินเชื่อซึ่งเป็นข้อมูลลูกค้าที่สมัครสินเชื่อ เพื่อการอุปโภคบริโภคของประเทศอินเดียในปี 2021 งานวิจัยนี้แบ่งชุดข้อมูลออกเป็นข้อมูลฝึกหัด และข้อมูลทดสอบทั้งหมด 3 อัตราส่วนที่แตกต่างกัน โดยในแต่ละอัตราส่วนจะสร้างตัวแบบจากข้อมูลที่ยังไม่ปรับให้สมดุล และข้อมูลที่ปรับให้สมดุลด้วยเทคนิคการสังเคราะห์ข้อมูลเพิ่มจากกลุ่มส่วนน้อย สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบ งานวิจัยนี้เลือกใช้การเรียกกลับในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบ ผลการศึกษาพบว่าสำหรับการแบ่งชุดข้อมูลในทุกอัตราส่วนตัวแบบที่สร้างจากข้อมูลที่มีการแก้ปัญหาข้อมูลที่ไม่สมดุลด้วยเทคนิคการสังเคราะห์ข้อมูลเพิ่มจากกลุ่มส่วนน้อยมีการเรียกกลับมากกว่าตัวแบบที่สร้างจากข้อมูลที่ไม่สมดุล ส่งผลให้สามารถทำนายผู้ที่ผิดนัดชำระสินเชื่อได้ดีขึ้น The binary logistic regression analysis and the synthetic minority oversampling technique (SMOTE) are studied in this paper to predict India’s consumer loan default in 2021. SMOTE is used to solve the imbalanced problem. The ratio of training data to testing data is divided into three different groups. In each ratio, the models are constructed from imbalanced data and balanced data. The recall of the models is used for comparative study. The recall of the model based on balanced data is higher than the recall of the model based on imbalanced data in each ratio of the dataset. The prediction of loan default was improved.</p> กัญญาณัฐ มากสูงเนิน , ธิดารัตน์ อารีรักษ์ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8805 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การวิเคราะห์ความหนืดและพฤติกรรมการไหลของอาหารแปรรูปไทย https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8806 <p>การวิเคราะห์ความหนืดและพฤติกรรมการไหลของอาหารเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมกระบวนการผลิต คุณภาพผลิตภัณฑ์ และการบริโภค วัตถุประสงค์ของงานวิจัยพื้นฐานนี้จึงเลือกอาหารแปรรูปไทย 27 ชนิดมาจำแนกพฤติกรรมการไหลด้วยแบบจำลอง คณิตศาสตร์ที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงความหนืด โดยปัจจัยที่ศึกษาคือ การแปรผันอัตราเฉือน (0.01 ถึง 100 ต่อวินาที) และอุณหภูมิ (10-60 องศาเซลเซียส) ผลการศึกษาพบว่า อัตราเฉือนที่เพิ่มขึ้นทำให้ความหนืดของผลิตภัณฑ์ 18 ชนิด เช่น ซอสที่ผสมไฮโดรคอลลอย์ แยมและสเปรด มีค่าลดลงซึ่งอธิบายด้วยสมการเฮอร์เชล-บัลค์ลี (Herschel-Bulkley) ในขณะที่การเพิ่มอัตราเฉือน ไม่มีผลต่อความหนืดในผลิตภัณฑ์ 9 ชนิด เช่น น้ำผึ้ง ไซรัป น้ำมันพืช และน้ำส้มสายชูหมัก ซึ่งจัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการไหลแบบ นิวโตเนียนและอธิบายการไหลแบบนิวโตเนียนด้วยสมการพาวเวอร์ลอว์ (Power law) ค่าดัชนีพฤติกรรมการไหลของนิวโตเนียนมีค่า 0.9574-1.0607 และซูโดพลาสติก (นอนนิวโตเนียน) 0.0215-0.6244 ตามลำดับ การเพิ่มอุณหภูมิให้กับตัวอย่างที่มีพฤติกรรมการไหลทั้งสองแบบทำให้ความหนืดลดลง และโครงสร้างอาหารเกิดการไหลเมื่อมีพลังงานกระตุ้นสูงพอให้กับโมเลกุลขององค์ประกอบเคมีในอาหาร&nbsp; Analysis of the viscosity and flow behaviour of foods is essential to control food processing, product quality and consumption. The basic research objective was to analyze the viscosity and flow behaviour of 27 Thai processed foods and then apply mathematical models to describe their viscosity changes. The focus factors were variations in shear rate (0.01-100 1/s) and temperature (10-60 <sup>o</sup>C). The results showed that the increases in shear rate led to decrease in the viscosity of 18 products such as sauces mixed with hydrocolloids, jam, and spread, which was described by the Herschel-Bulkley equation. However, the viscosity profiles of honey, syrup, vegetable oil and fermented vinegar were independent of shear rate changes. These products were classified as Newtonian flow and described the flow by the Power Law equation. The index of the flow behaviour of Newtonian was 0.9574-1.0607 and pseudoplastic (non-Newtonian) was 0.0215-0.6244. The increases in temperature of both flow behaviours resulted in the decreases of viscosity and flowability of the food structure when the energy was high enough to activate chemical molecules in the foods.</p> นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8806 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การประเมินความชื้นในดินโดยใช้ข้อมูลการรับรู้จากระยะไกลบริเวณป่าต้นน้ำหมู่บ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8807 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อประเมินความชื้นในดินด้วยข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 OLI/TIRS ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ หมู่บ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมและพฤศจิกายนถึงธันวาคม ปี 2564 โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิว (Land Surface temperature: LST) และดัชนีความแตกต่างของพืชพรรณ (Normalized Difference Vegetation Index: NDVI) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีความชื้นในดิน จากภาพถ่ายดาวเทียมและร้อยละความชื้นในดินที่ได้จากการสุ่มเก็บตัวอย่างความชื้นในดินจำนวน 30 ตัวอย่าง และทำการตรวจวัดในห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษา พบว่า ในเดือนพฤศจิกายนมีความชื้นในดินเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ เดือนพฤษภาคม เมษายน ธันวาคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าค่าดัชนีความชื้นในดินที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียม และค่าร้อยละความชื้นในดินที่ได้จากการเก็บตัวอย่างภาคสนามและนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการในแต่ละเดือนไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่พบความสัมพันธ์ตามช่วงฤดูกาลโดยมีค่าสถิติสหสัมพันธ์ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.653) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาสามารถเป็นแนวทางในการประเมินความชื้นในดินโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อติดตามภาวะความแห้งแล้งของพื้นที่สำหรับวางแผนการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำต่อไป This study aimed to estimate soil moisture in the watershed forest area of Pa Sak Ngam Village, Doi Saket district, Chiang Mai province, Thailand using Landsat 8 OLI/TIRS satellite image data. The analysis was conducted between February to May and November to December in 2021. The relationship between Land Surface temperature (LST) and Normalized Difference Vegetation Index (NDVI) was evaluated. The research also explored the connection between the soil moisture index obtained from satellite images and the soil moisture percentage obtained from thirty laboratory-measured soil samples. Results showed that average soil moisture in November had the highest, followed by May, April, December, February, and March, respectively. In addition, the soil moisture index obtained from satellite images and soil moisture percentage obtained from field samples and analyzed in the laboratory each month were not correlated. However, there was a significant seasonal correlation with a moderate correlation (0.653) at the 95% confidence level. The study findings could serve as a guideline for monitoring drought conditions using satellite images to assess soil moisture in the area and planning the restoration and conservation of watershed forests.</p> จักรพงค์ นามวงค์ , ชนิดา สุวรรณประสิทธิ์ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8807 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การดำเนินการทวิภาคที่เปลี่ยนหมู่ของฟูลเทอมที่อันดับลด https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8808 <p>เชตของฟูลเทอมที่อันตับลด W<sub>tn</sub><sup>ODn</sup> (X<sub>n</sub>) เป็นเซตของเทอมชนิตพิเศษที่สร้างมาจากการแปลงเต็มที่อันดับลดบนโซ่จำกัด {1,…,n} และตัวแปรจากพยัญชนะ X<sub>n</sub> เซตของฟูลเทอมที่อันดับลดทั้งหมดถูกทำให้มีสมบัติปิดภายใต้การดำเนินการซุปเปอร์โพสิซันที่ซึ่งสอดคล้องกับกฎซุปเปอร์ของการเปลี่ยนหมู่ ในงานวิจัยนี้การดำเนินการทวิภาค +,*, <sub>xi</sub> บนเชตของฟูลเทอมที่อันดับลดซึ่งก่อกำเนิดจากซุปเปอร์โพสิซันได้ถูกนิยามและความสอดคล้องกับสมบัติการเปลี่ยนหมู่ได้รับการพิสูจน์ นอกจากนั้นเราพิจารณาภาษาต้นไม้ของฟูลเทอมที่อันดับลดและนิยามการดำเนินการของภาษาต้นไม้ดังกล่าว ทฤษฎีบทการฝังของกึ่งกรุปของฟูลเทอมที่อันดับลดไปในกึ่งกรุปของภาษาต้นไม้ที่สร้างมาจากฟูลเทอมที่อันดับลดได้รับการนำเสนอ&nbsp; Order-decreasing full terms are special types of terms derived from order-decreasing full transformations on a finite chain {1,…,n} and variables from an alphabet X<sub>n</sub>. The set of all order-decreasing full terms is closed under the superposition operation such that the superassociative law holds. In this work, three binary operations on the set of all order-decreasing full terms of type t<sub>n</sub> induced by the superposition are defined and the satisfaction with associative property is proved. We also consider tree languages of order-decreasing full terms and define their operation. Embedding theorems of semigroups of order-decreasing full terms into semigroups of tree languages constructed from order-decreasing full terms are provided.</p> ทศพร คำดวง Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8808 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 ผลของสารอัลลีโลพาธิกจากผักแครด (Synedrella nodiflora (L.) Gaertn.) ต่อสรีรวิทยาการงอกของกวางตุ้ง (Brassica chinensis Jusl var parachinensis (Bailey) Tsen & Lee) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8809 <p>อัลลีโลพาธี (allelopathy) เป็นปรากฏการณ์ที่พืชปลดปล่อยสารอัลลีโลพาธิก (allelopathics) เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชข้างเคียง เพื่อลดการแข่งขันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตร ในการศึกษานี้จึงได้ศึกษาถึงผลของสารสกัดจากผักแครด (Synedrella nodiflora (L.) Gaertn.) ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของกวางตุ้ง (Brassica chinensis Jusl var parachinensis (Bailey) Tsen &amp; Lee) โดยทดสอบกับสารสกัดจากผักแครดที่สกัดด้วยเอทธานอล ที่มีความเข้มข้นระหว่าง 1.3-13.0 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร เป็นเวลา 7 วัน พบว่า ความเข้มข้นของสารสกัดจากผักแครดที่ทำให้กวางตุ้งงอกลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ (IC<sub>50</sub>) เท่ากับ 2.96 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ซึ่งมีค่าออสโมติกโพเทนเชียลเท่ากับ -0.08 MPa จากนั้นทำการศึกษาสรีรวิทยาการงอกของเมล็ด โดยทำการเพาะเมล็ดกวางตุ้งในสารสกัดที่ IC<sub>50</sub> เปรียบเทียบกับสารละลายกลูโคส NaCl KNO<sub>3</sub> ที่มีค่าออสโมติกโพเทนเชียลเท่ากัน (-0.08 MPa) และน้ำกลั่น พบว่าการงอกของเมล็ดที่เพาะในสารละลายกลูโคส NaCl KNO<sub>3</sub> และน้ำกลั่นไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างจากสารสกัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) และเมื่อทดสอบการดูดน้ำของเมล็ดเป็นเวลา 0-24 ชั่วโมง พบว่าการดูดน้ำของเมล็ดที่แช่ในสารสกัดไม่แตกต่างจากเมล็ดที่แช่ในน้ำ สารละลายกลูโคส NaCl และ KNO<sub>3</sub> ในทุกช่วงเวลาและเมื่อทดสอบการเปลี่ยนแปลงของอาหารสะสมในเมล็ดที่ได้รับสารสกัดเป็นเวลา 7 วัน เปรียบเทียบกับชุดควบคุม พบว่า เมล็ดที่ได้รับสารสกัดมีปริมาณแป้งสะสม มากกว่าชุดควบคุม แต่มีปริมาณน้ำตาลในเมล็ดกำลังงอกน้อยกว่าชุดควบคุม และยังพบอีกว่าปริมาณโปรตีนที่พบในเมล็ดที่ได้รับสารสกัดจากผักแครดมีปริมาณโปรตีนไม่แตกต่างจากเมล็ดแห้ง และมีปริมาณสูงกว่าชุดควบคุม จึงสามารถสรุปได้ว่า สารสกัดจากผักแครดสามารถยับยั้งการงอกของเมล็ดกวางตุ้งได้ โดยไม่มีผลต่อการดูดน้ำของเมล็ด แต่มีผลต่อการนำอาหารสะสมของเมล็ดมาใช้ระหว่างการงอก&nbsp; Allelopathy is a natural phenomenon that plants release allelopathics to inhibit neighbor plants to reduce the resources revening. This can be developed and use in agriculture. In this study, the Synedrella nodiflora (L.) Gaertn. ethanol extract was used to test seed germination and growth of pakchoi (Brassica chinensis Jusl var parachinensis (Bailey) Tsen &amp; Lee) at the concentration range between 1.3 and 13.0 mg/mL for 7 days. The results show that the IC<sub>50</sub> of extract was 2.96 mg/mL. and the osmotic potential was -0.08 MPa. The physiology of seed gemination was tested. Seeds were geminated in IC<sub>50</sub> of extract, sucrose, NaCl, and KNO<sub>3</sub> (with -0.08 MPa osmotic potential). The results revealed that the percent of gemination and growth of seed soaked in water, sucrose, NaCl, and KNO<sub>3</sub> were not different but statistic significant different (P≤0.05) from extract treated seeds. Seed water absorption in extract, sucrose, NaCl, and KNO<sub>3</sub> was determined and compared with water for 0-24 hour. This show that seed water absorption was not statistically different at all time points. The change of seed storages was also determined in seeds treated by the extract (at IC<sub>50</sub>) compared to the control for 7 days. Extract treated seed showed higher starch content than the control but lower reducing sugar content. The protein content of treated seeds was not statistically different from untreated dry seeds, but the control had statistic significant lower protein content (P≤0.05). In conclude, the extract can inhibit pakchoi gemination which no effect on water absorption but showed the effect on food storages utilization during germination.</p> ยุวะธิดา กิ่งทอง , ภาคภูมิ พระประเสริฐ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8809 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การศึกษาจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาการย่อยสลายเมทิลีนบลูผ่านกระบวนเร่งเชิงแสง ด้วยอนุภาคซิงค์แคดเมียมซัลไฟด์ภายใต้การฉายรังสียูวี https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8811 <p>งานวิจัยนี้ได้สังเคราะห์อนุภาคซิงค์แคดเมียมซัลไฟด์ที่มีอัตราส่วนโมลของ Zn<sup>2+</sup> : Cd<sup>2+</sup> เท่ากับ 4 : 1 (ZCS1) และ 1 : 4 (ZCS2) ด้วยวิธีการฉายรังสีไมโครเวฟ อนุภาค ZCS1 และ ZCS2 ที่สังเคราะห์ได้จะถูกนำมาทดสอบความ สามารถในการเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายเมทิลีนบลู (MB) ในน้ำที่อุณหภูมิห้อง (27±1 <sup>o</sup>C) ภายใต้การฉายรังสี UV โดยมีการศึกษาผลกระทบของพารามิเตอร์ต่าง ๆ ได้แก่ ความเข้มข้นเริ่มต้นของ MB (8 -12 mg L<sup>-1</sup> ) pH (3 -9) และปริมาณของตัวเร่งปฏิกิริยา (0.06 -0.12 g L<sup>-1</sup>) ที่มีต่อจลนศาสตร์ของปฏิกิริยา ประสิทธิภาพในการย่อยสลาย MB ภายใต้การฉายรังสี UV (%DEG) และประสิทธิภาพในการกำจัด MB (%REM) จากผลการทดลองพบว่าจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาการย่อยสลาย MB เป็นไปตามแบบจำลองจลนศาสตร์อันดับหนึ่งที่ทุกสภาวะของการทดลอง ยกเว้นในกรณีของ ZCS2 ที่ pH = 3 ที่พบว่าปฏิกิริยาการย่อยสลาย MB ประพฤติตัวเป็นปฏิกิริยา อันดับศูนย์ค่าคงที่อัตรา (k<sub>obs,1</sub>) ของปฏิกิริยาการย่อยสลาย MB มีค่าเพิ่มขึ้นตาม pH แต่ไม่เปลี่ยนแปลงตามความเข้มข้นเริ่มต้นของ MB มากนัก จากค่าของ k<sub>obs,1 </sub>ที่ได้สรุปว่า ZCS2 (0.0236 min<sup>-1</sup> £ k<sub>obs,1 </sub>£ 0.0283 min<sup>-1</sup>) มีความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงเหนือกว่า ZCS1 (0.0118 min<sup>-1</sup> £ k<sub>obs,1 </sub>£ 0.0212 min<sup>-1</sup>) สภาวะที่เหมาะสมในการกำจัด MB ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ความเข้มข้นเริ่มต้นของ MB = 12 mg L<sup>-1</sup> , pH = 9 และปริมาณของตัวเร่งปฏิกิริยา = 0.1 g L<sup>-1</sup> โดยสภาวะดังกล่าวให้ค่า %DEG สูงสุด (91.5% และ 96.0% สำหรับ ZCS1 และ ZCS2 ตามลำดับ) และค่า %REM สูงสุด (95.4% และ 97.3% สำหรับ ZCS1 และ ZCS2 ตามลำดับ) ที่ระยะเวลาของการฉายรังสี UV เท่ากับ 120 นาที&nbsp; Zinc cadmium sulfide (ZCS) nanoparticles with the Zn<sup>2+</sup>: Cd<sup>2+</sup> mole ratios of 4: 1 (ZCS1) and 1: 4 (ZCS2) were synthesized using microwave irradiation method. Photocatalytic activity of ZCS1 and ZCS2 towards the degradation of methylene blue (MB) in water at room temperature (27±1<sup>o</sup>C) under UV irradiation was investigated.&nbsp;The effects of parameters such as the initial MB concentration (8 - 12 mg L<sup>-1</sup>), pH (3 - 6) and catalyst dose&nbsp;(0.06 - 0.12 g L<sup>‑1</sup>) on the reaction kinetics, MB degradation efficiency under UV irradiation (%DEG) and MB removal efficiency (%REM) were examined. The degradation kinetics of MB followed the first-order kinetic model under all conditions attempted, except for the case of ZCS2 at pH = 3 where the degradation of MB exhibited the zero-order reaction behavior. The rate constant (kobs,1) for the degradation of MB was found to increase with increasing pH, but did not vary much with the initial MB concentration. Based on the values of kobs,1, the photocatalytic activity of ZCS2&nbsp;(0.0236 min-1 £ kobs,1 £ 0.0283 min-1) was superior to that of ZCS1 (0.0118 min<sup>-1</sup> £ kobs,1 £ 0.0212 min<sup>-1</sup>). The optimal conditions for the MB removal in this work included the initial MB concentration of 12 mg L<sup>‑1</sup>, pH = 9 and the catalyst dose of 0.1 g L<sup>‑1</sup>. These conditions essentially leaded to the maximum values of both %DEG (91.5% and 96.0% for ZCS1 and ZCS2, respectively) and %REM (95.4% and 97.3% for ZCS1 and ZCS2, respectively) at the UV irradiation time of 120 minutes.</p> นรวิชญ์ ราษฎร์พิบูลย์ , ณัฐวิศิษฏ์ ยะสารวรรณ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8811 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การประเมินอัตรารอดของหญ้าทะเลที่ได้รับการฟื้นฟูด้วยภาพถ่าย จากอากาศยานไร้คนขับบนแพลตฟอร์ม Google Earth Engine https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8812 <p>กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินโครงการฟื้นฟูหญ้าทะเลแบบบูรณาการทุกภาคส่วน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ถึง 2564 บริเวณอ่าวพังงา จังหวัดพังงา เป็นพื้นที่ 24 ไร่ต่อปี โดยได้ย้ายปลูกต้นพันธุ์หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides (Linnaeus f.) Royle, 1839) รวม 153,600 ต้น อย่างไรก็ตาม การติดตามประเมินอัตรารอดหลังจากการย้ายปลูกด้วยวิธีเก่า ใช้ทรัพยากรบุคคลมาก สิ้นเปลืองเวลา และไม่อาจประเมินผลได้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ การศึกษานี้จึงได้นำภาพถ่ายความละเอียดสูง ที่บันทึกด้วยอากาศยานไร้คนขับ มาประมวลผลบนแพลตฟอร์ม Google earth engine โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการประเมินอัตรารอดของหญ้าคาทะเลที่ได้รับฟื้นฟูที่รวดเร็วและครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่าหญ้าทะเล ที่ได้รับการฟื้นฟูด้วยการย้ายปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 -2564 มีอัตรารอดเฉลี่ยร้อยละ 31.62±4.52 โดยที่ผลการวิเคราะห์มีความแม่นยำและความครบถ้วนในการตรวจจับกอหญ้าทะเล ร้อยละ 0.85±0.05 ภายใต้ข้อจำกัดบางประการ เช่น ระดับน้ำทะเล และความหนาแน่นของพันธุ์หญ้าที่ย้ายปลูกซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการตรวจนับจำนวนกอหญ้าทะเล ผลผลิตที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้จะสามารถนำไปใช้ประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการต่อไป&nbsp; Department of Marine and Coastal Resources (DMCR) together with local communities around Phangnga bay have restored 0.1536 square kilometer of Enhalus acoroides (Linnaeus f.) Royle, 1839. Total of 153,600 shoots and sprout has been transplanted to the site since 2018 to 2021. The survival rate of the seagrass was assessed by in-situ visual investigation which was time-consuming, labor-intensive and cover only small portion of the restoration area. This paper presents a faster and better area coverage assessment procedure using Unmanned Aerial Vehicle (UAV) imagery analyzed on Google Earth Engine platform. The result of survival rate assessed by this method is 31.62 ±4.52 percent on average with mean accuracy detection (0.85 ±0.05) under specific condition such as sea level and seagrass density which negatively affect the detection efficiency. The proposed model output can be implemented to assess the accomplishment of DMCR seagrass restoration project.</p> พีรดนย์ เกิดผล Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8812 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การคัดแยกไลติกเฟจและการศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของ Pseudomonas aeruginosa TISTR1287 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8813 <p>ไลติกเฟจสามารถเป็นทางเลือกในการยับยั้งไบโอฟิล์มของ Pseudomonas aeruginosa ไบโอฟิล์มเป็นสารพอลิเมอร์ นอกเซลล์ของแบคทีเรียที่มีบทบาทสำคัญต่อการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแยกไลติกเฟจจากตัวอย่างน้ำและดินที่เก็บจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของ P. aeruginosa TISTR1287 จากการคัดแยกไลติกเฟจด้วยวิธีเพิ่มปริมาณ และแยกไลติกเฟจบริสุทธิ์สามารถแยกไลติกเฟจ จำนวน 4 ไอโซเลต คือ PAMFUP1, PAMFUP2, PAMFUP3 และ PAMFUP4 การทดสอบความจำเพาะเจาะจงต่อโฮสต์ต่อ P. aeruginosa จำนวนสี่สายพันธุ์พบว่า เฟจทั้งสี่ไอโซเลตมีความจำเพาะเจาะจงต่อ P. aeruginosa TISTR1287 โดยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสที่ได้จากเฟจไอโซเลต PAMFUP1, PAMFUP2, PAMFUP3 และ PAMFUP4 คือ 0.80±0.15 มม., 0.77±0.18 มม., 0.98±0.13 มม. และ 3.90±0.44 มม. ตามลำดับ และจากการทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งไบโอฟิล์มของเฟจ พบว่า เมื่อบ่มเฟจร่วมกับ P. aeruginosa TISTR1287 เป็นเวลา 8 ชั่วโมงและ 24 ชั่วโมง ปริมาณไบโอฟิล์มลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.00) Lytic phages act as an alternative inhibitor against Pseudomonas aeruginosa biofilms. A biofilm, a matrix composed of bacterial extracellular polymeric substances, is vital in exacerbating the spread of antibiotic resistance. This research aimed to isolate lytic phages from water and soil samples collected from Mae Fah Luang University premises and investigate their anti-biofilm activity against P. aeruginosa TISTR1287. Phages were isolated using an enrichment protocol and a double overlay agar plaque assay. Four lytic phage isolates were identified and named PAMFUP1, PAMFUP2, PAMFUP3, and PAMFUP4. Spot tests revealed that all four phages are specific for P. aeruginosa TISTR1287. The plaque diameters reached by phage isolates PAMFUP1, PAMFUP2, PAMFUP3, and PAMFUP4 were 0.80±0.15 mm, 0.77±0.18 mm, 0.98±0.13 mm, and 3.90±0.44 mm, respectively. Finally, crystal violet assays were performed to determine biofilm inhibition by four phages. The results demonstrated that these four phages significantly reduced the biofilm formation at 8 hrs and 24 hrs post incubation (p&lt;0.00).</p> นันทนิจ จารุเศรณีย์, ศรีนวณ นิยม , สมบูรณ์ คำเตจา Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8813 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 RSPG-สถานีบูรพา: การเพิ่มและการปรับปรุงฐานข้อมูลและเว็บแอปพลิเคชันของทรัพยากรท้องถิ่นแห่งภาคตะวันออก https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8814 <p>RSPG-สถานีบูรพา เป็นฐานข้อมูลและเว็บแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้แผนงานวิจัยศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต อพ.สธ.-ม.บูรพา (สนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี) ในการดำเนินงานปีที่สอง ได้มีการเพิ่มและปรับปรุงฐานข้อมูล ทรัพยากรชีวภาพ ได้แก่ พืชพรรณไม้ หญ้าทะเล สาหร่ายทะเล หอย กุ้ง กั้ง ปู เพรียงหิน มด แมงมุม และแพลงก์ตอนทะเล ทรัพยากรกายภาพ ได้แก่ หินและแร่ และแผนที่เชิงกายภาพโลก และทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ได้แก่ เครื่องยาสมุนไพร ลายผ้าไทย ทั้งนี้ในแต่ละฐานข้อมูลก็จะมีรายละเอียดของรูปแบบการสืบค้นที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะและรูปแบบของข้อมูล โดยมีการจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้จากการสืบค้นข้อมูลตัวอย่างภายในฐานข้อมูลโดยการใช้การสืบค้นข้อมูลเบื้องต้นด้วยคำสำคัญ (Basic data search) การสืบค้นผ่าน การจัดหมวดหมู่ (Grouping) การสืบค้นโดยการคัดกรองจากชื่อชนิดหรือชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) การสืบค้นโดยใช้ลำดับอนุกรมวิธาน (Taxonomic rank) การสืบค้นโดยใช้ลักษณะเด่นที่สังเกตเห็นจากรูปลักษณ์ภายนอก (Pictorial key) การสืบค้นจากคลังรูปภาพ (Gallery) และการสืบค้นจากแผนที่การกระจาย (Distribution map) จากผลการประเมินระบบฐานข้อมูล และเว็บแอปพลิเคชันผ่านแบบประเมินออนไลน์ จำนวนทั้งสิ้น 416 คน ได้ผลความพึงพอใจต่อการใช้งานเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจโดยรวมระหว่าง Gen Z, Gen Y, และ Gen X พบว่าไม่แตกต่างกัน สำหรับผู้ประเมิน Gen Z มีระดับความพึงพอใจเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย = 4.23) น้อยกว่า ผู้ประเมิน Gen Y (ค่าเฉลี่ย = 4.65) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวม พบว่าผู้ประเมิน Gen Z มีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2565 ไม่แตกต่างจากปี พ.ศ. 2564 (ค่าเฉลี่ย = 4.09) กล่าวโดยสรุป งานวิจัยนี้จัดทำขึ้น เพื่อให้มีความสอดคล้องต่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก เพื่อตอบสนองพันธกิจหลักของ อพ.สธ. และมหาวิทยาลัยบูรพา ในการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และสานต่อการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรในภูมิภาคอย่างยั่งยืนสืบต่อไป สามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลและเว็บแอปพลิเคชัน RSPG-สถานีบูรพา ได้ที่ https://www.rspgburapha.com/&nbsp; RSPG-Burapha is a database and web application that is part of the research plan, Lifelong Learning Center RSPG-BUU (under the Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn). During the operation in the second year, the information of selected plants, sea grasses, seaweeds, shellfish, shrimps, mantis shrimps, crabs, barnacles, ants, spiders, and marine planktons have been updated or added into the database of biological resources. The information of selected rocks minerals, and world physical maps have been updated or added into the database of physical resourse. Lastly, the herbal medicines and Thai fabric patterns have been included into the database of cultural and intellectual resources. Each database requires different search patterns depending on the features and formats of its information. In addition, learning activities (i.e., searching for sample data within the database using basic data, grouping, scientific name, taxonomic rank, pictorial key, gallery and distribution map) were conducted. The results of an online evaluation on satisfaction towards system usage from the sample group with 416 persons showed a high level of satisfaction at a mean of 4.36. A comparison of the average overall satisfaction levels between Gen Z, Gen Y, and Gen X found no difference. Overall satisfaction with use of Gen Z (average = 4.23) was significantly less than Gen Y (average = 4.65) (p &lt; 0.05). When comparing the overall satisfaction results of Gen Z respondents, the mean satisfaction in 2022 is not difference with the result in 2021 (average = 4.09). In summary, this research was conducted in order to complement the learning of children and youth who are the main target groups, to meet the main missions of RSPG and Burapha University as a center of learning, and to create awareness of conservation and sustainable use of resource in the region. The database and web application, RSPG Burapha can be accessed from https://www.rspgburapha.com/.</p> พิทักษ์ สูตรอนันต์, พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา, เบญจวรรณ ชิวปรีชา, สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์, วรนพ สุขภารังษี, นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร, รณชัย รัตนเศรษฐ, พีรพัฒน์ มั่งคั่ง, ทรรศิน ปณิธานะรักษ์, จริยาวดี สุริยพันธุ์, จิตรา ตีระเมธี , ณัฐนนท์ ลีลาตระกูล Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8814 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 ผลของการเสริมเปลือกมะม่วงน้ำดอกไม้ในผลิตภัณฑ์ครองแครงกรอบต่อสมบัติทางเคมีกายภาพและสมบัติทางประสาทสัมผัส https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8815 <p>การวิจัยครั้งนี้ศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ครองแครงกรอบเสริมเปลือกมะม่วงน้ำดอกไม้ที่ระดับร้อยละ 0, 20, 30, 40 และ 50 (โดยน้ำหนักของปริมาณแป้งทั้งหมด) เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีกายภาพ และสมบัติทางประสาทสัมผัส ร่วมทั้งการศึกษาคุณภาพทางเคมีกายภาพระหว่างการเก็บรักษา 20 วัน พบว่า องค์ประกอบทางเคมีของเปลือกมะม่วงมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมากที่สุด (ร้อยละ 71.98) การเสริมเปลือกมะม่วงในผลิตภัณฑ์ครองแครงกรอบที่ปริมาณร้อยละ 30 (โดยน้ำหนัก) มีคะแนนการยอมรับโดยรวมมากที่สุด แต่แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับสูตรที่เสริมเปลือกมะม่วงปริมาณร้อยละ 0 และ 20 (โดยน้ำหนัก) การเสริมเปลือกมะม่วงปริมาณร้อยละ 30 (โดยน้ำหนัก) มีคะแนนความชอบทางด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมอยู่ในช่วง 7.72-7.96 คะแนน สำหรับคุณลักษณะทางเคมีและกายภาพของผลิตภัณฑ์ครองแครงที่เสริมเปลือกมะม่วงปริมาณร้อยละ 30 พบว่า มีปริมาณไขมัน ค่าพลังงานทั้งหมดและปริมาณใยอาหารที่ละลายน้ำได้ที่ต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ครองแครงกรอบสูตรพื้นฐาน (p&lt;0.05) ทั้งนี้ค่ากิจกรรมของน้ำอิสระ (a<sub>w</sub>) ค่าสี L* และค่า a* ของผลิตภัณฑ์ครองแครงกรอบสูตรพื้นฐานและผลิตภัณฑ์ครองแครงกรอบที่เสริมเปลือกมะม่วงสุกที่ปริมาณ ร้อยละ 30 (โดยน้ำหนัก) มีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p&gt;0.05) ดังนั้นการเสริมเปลือกมะม่วงสุกในผลิตภัณฑ์ครองแครงกรอบช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในแง่การมีใยอาหารสูงช่วยปรับปรุงลักษณะปรากฎและสีสัน รวมทั้งมีสมบัติทางเคมีกายภาพที่ดีขึ้นซึ่งบ่งบอกจากค่าสีและค่าความแข็ง และมีการยอมรับทางประสาทสัมผัสจากผู้ทดสอบโดยไม่แตกต่างกับสูตรพื้นฐาน&nbsp; This study was taken on to prepare formulated crispy caramel chips with Nam Dok Mai mango peel at 0, 20, 30, 40 and 50% (w/w) in order to evaluate their proximate composition, quality characteristics, texture and sensory properties as well as its physicochemical properties during storage for 20 days. It was found that the chemical composition of the mango peel had the highest amount of carbohydrates (71.98%). The texture of the crispy caramel chips formulated with the ripe mango peel 30% (w/w) were the highest score value. The 30% mango peel supplementation had appearance, color, odor, taste, texture and overall liking score in the range of 7.72-7.96. For the physicochemical characteristics, crispy caramel chips supplemented with mango peel of 30% was found that the fat content, total energy value and soluble fiber content were lower than those of the basic formula (p&lt;0.05). The water activity (a<sub>w</sub>), L*, and a* value of the basic formula and enriched treatment (30%) were not significantly different (p &gt;0.05). Therefore, the addition of Nam Dok Mai mango peel to crispy caramel chips increased the nutritional value especially carbohydrates content and fiber as well as improved appearance and color of the final developed product. Thus, mango peel supplementation in crispy caramel chips could provide the better physicochemical properties indicated by color and hardness values and sensory properties compare with the basic formula.</p> ปานจิต ป้อมอาสา, สิริมา สินธุสำราญ, สามารถ สายอุต , ชัยรัตน์ เตชวุฒิพร Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8815 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส ของสารสกัดน้ำจากต้นเฉาก๊วย https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8816 <p>ในประเทศไทยใช้ต้นเฉาก๊วย (Mesona chinensis) แห้งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตวุ้นเฉาก๊วย ได้มีรายงานว่าสารสกัดน้ำจากต้นเฉาก๊วย (Mesona chinensisaqueous extract, MCAE) มีสารที่มีฤทธิ์ต้านภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ดีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการผลิตและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดน้ำจากต้นเฉาก๊วยย่อมมีส่วนช่วยในการพัฒนาส่วนผสมฟังก์ชันและเครื่องดื่มฟังก์ชันชนิดใหม่ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาอิทธิพลของแหล่งปลูกของต้นเฉาก๊วยต่อปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลของสารสกัดน้ำจากต้นเฉาก๊วยจำนวน 4 ตัวอย่างที่เตรียมจากต้นเฉาก๊วยแห้งนำเข้าจากประเทศจีน (2 ตัวอย่าง) ประเทศเวียดนาม และประเทศอินโดนีเซีย การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่า แหล่งปลูกของต้นเฉาก๊วยแห้งมีผลต่อปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีพีพีเอช และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดสของสารสกัดน้ำจากต้นเฉาก๊วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) สารสกัดน้ำจากต้นเฉาก๊วยมีปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดในปริมาณค่อนข้างสูง (68.63-133.27 mg GAE/g) แต่มีปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในปริมาณที่ต่ำมาก (3.49-5.83 mg QE/g) สารสกัดน้ำจากต้นเฉาก๊วยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีพีพีเอชที่ดี (IC<sub>50</sub> = 17.54-37.98 µg/mL) และมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดสที่ดีมาก (IC<sub>50</sub> = 4.77-26.86 µg/mL) การศึกษาจลนพลศาสตร์ของการยับยั้งการทำงานเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดสของสารสกัด พบว่าฤทธิ์การยับยั้งแปรผันตามความเข้มข้นของสารสกัดน้ำจากต้นเฉาก๊วย การสร้างกราฟไลน์วีเวอร์-เบิร์กแสดงให้เห็นว่าการยับยั้งการทำงานเอนไซม์ของสารสกัดน้ำจากต้นเฉาก๊วยเป็นการยับยั้งแบบไม่แข่งขันที่มีค่าคงที่ของการยับยั้ง (K<sub>i</sub>) เท่ากับ 2.67 µg /mL.&nbsp; Mesona chinensis is raw material for the production of a black grass jelly in Thailand. Mesona chinensis aqueous extract (MCAE) has been reported as a promising anti-hyperglycemia agent. The better understanding of MCAE on its production and biological activities would facilitate the development of a new functional ingredient and beverage. Thus, the effects of botanical source on bioactive compounds, antioxidant activity and hypoglycemic activity of MCAE were investigated. In this present study, we prepared four MCAEs from M. chinensis plants imported from China (2 sources), Vietnam, and Indonesia. Based on data analysis, botanical source of M. chinensis significantly governed total phenolic content, total flavonoids content, DPPH radical scavenging activity and α-glucosidase inhibition activity of MCAE (p&lt;0.05). The results showed that MCAEs possessed considerable amount of total phenolics (68.63-133.27 mg GAE/g) and trace amount of total flavonoids (3.49-5.83 mg QE/g). MCAEs exhibited potent antioxidant (IC<sub>50</sub> = 17.54-37.98 mg/mL) and efficient inhibitor against alpha-glucosidase (IC<sub>50</sub> = 4.77-26.86 µg/mL). The enzyme kinetics data revealed that MCAE inhibited a-glucosidase activity in a concentration-dependent manner. Moreover, the Lineweaver-Burk plot elucidated that the inhibition type of a-glucosidase activity by MCAE was a noncompetitive manner with the inhibitory constant (K<sub>i</sub>) of 2.67 µg/mL. &nbsp;</p> อรสา สุริยาพันธ์, กันต์กนิษฐ์ ตั้งสถิตย์กุลชัย, ศวิตา จิวจินดา, ปัทมพรรณ โลมะรัตน์ , วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8816 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 คุณภาพอากาศและการตรวจรับระดับเสียงในลานจอดรถของห้างสหไทยพลาซ่า จังหวัดนครศรีธรรมราช https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8817 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพอากาศและการตรวจวัดระดับเสียงในลานจอดรถของห้างสหไทยพลาซ่า จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการวิจัยพบว่าความชื้นสัมพัทธ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ประมาณ 74.7 % พบว่ามีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัยที่กำหนดไว้ (ระหว่าง 50-65%) อุณหภูมิมีค่าเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 30.6 องศาเซลเซียส พบว่ามีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัยที่กำหนดไว้ (ระหว่าง 20 – 26 องศาเซลเซียส ) กระแสลมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 0.1 เมตรต่อวินาทีพบว่ามีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัยที่กำหนดไว้ (ระหว่าง 0.1-0.3 เมตรต่อวินาที) ความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 11.1 % พบว่ามีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกฎกระทรวงแรงงานที่กำหนดไว้ (ระหว่าง 19.5 - 23.5%) ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 21.9 ppm พบว่ามีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัยที่กำหนดไว้ (ไม่เกิน 9 ppm) โดยเฉลี่ยความเข้มข้นในเวลา 8 ชั่วโมง, ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีค่าเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 673.1 ppm พบว่ามีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัยที่กำหนดไว้ (ไม่เกิน 1,000 ppm) และความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีค่าเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 0.0 ppm พบว่ามีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษที่กำหนดไว้ (ไม่เกิน 0.3 ppm ) ส่วนระดับเสียงมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 72.1 เดซิเบลเอ พบว่ามีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษที่กำหนดไว้ (ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ) โดยเฉลี่ยค่าระดับเสียงในเวลา 24 ชั่วโมง ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น ที่อุดหู หรือที่ครอบหู เพื่อลดการสัมผัสเสียงดังในพื้นที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา&nbsp; This study aimed to explore the air quality and noise level measurements in the parking area of Sahathai Plaza, Nakhon Si Thammarat Province. The results showed that relative humidity had the highest average value of 74.7%, which was found to be higher than the standard set by the Department of Health (between 50 - 65%). The average maximum temperature was determined to be 30.6 degrees Celsius, which is higher than the Department of Health's recommended range of 20 to 26 degrees Celsius. The average maximum wind current was 0.1 m/s which was found to be value within the standard set by the Department of Health (between 0.1 - 0.3 meters per second). The highest average oxygen concentration was 11.1%, it was found to be lower than the standard set by the Ministry of Labor (between 19.5 - 23.5%). The concentration of carbon monoxide gas had the highest average of 21.9 ppm, which was found to be higher than the standard set by the Department of Health (not more than 9 ppm), on an average concentration in 8 hours, The concentration of carbon dioxide had the highest average of 673.1 ppm, which was found to be lower than the standard set by the Department of Health (not exceeding 1,000 ppm) and sulfur dioxide concentration the highest average value was 0.0 ppm, which was found to be value within the criteria set by the Pollution Control Department (not more than 0.3 ppm) . As for the noise level, the highest average was 72.1 decibels A, which was found to be higher than the standard set by the Pollution Control Department (not exceeding 70 decibels A), averaging the 24-hour noise level. Wearing ears protection, such as earplugs or earmuffs was needed to reduce exposure to loud noises in the work area all the time.</p> วัฒนณรงค์ มากพันธ์, กชกานต์ ศรีแก้ว , จารุวรรณ ต้นส้ม Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8817 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การประยุกต์ใช้ข้อมูลการรับรู้จากระยะไกล เพื่อประเมินพื้นที่ขาดแคลนน้ำของจังหวัดจันทบุรี https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8818 <p>ภัยแล้งเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีสาเหตุซับซ้อนและก่อปัญหาเชิงพื้นที่ในจังหวัดจันทบุรีมาอย่างยาวนาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่ขาดแคลนน้ำโดยใช้ช้อมูลการสำรวจจากระยะไกลจากดาวเทียม Landsat 4-5 (TM), Landsat 7 (ETM+) และ Landsat 8 (OLITIRS) ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2561 ผลการศึกษาพบว่าฤดูร้อนในระหว่าง พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2561 โดยเฉลี่ยจังหวัดจันทบุรีมีสภาวะแล้งน้อยเป็นส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่) แต่ในช่วง พ.ศ.2545, 2546, 2549 และ 2558 เกิดสภาวะแล้งมากโดยครอบคลุมพื้นที่ด้านฝั่งตะวันตกของพื้นที่ศึกษา และในปี พ.ศ. 2558 เกิดสภาวะแล้งมากครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งจังหวัด (ร้อยละ 86 ของพื้นที่ศึกษา) ในฤดูฝนโดยเฉลี่ยจังหวัดจันทบุรีมีสภาวะแล้งน้อยถึงปานกลางเป็นส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ศึกษา) แต่ใน พ.ศ. 2545, 2547, 2548 และ 2549 พบความแห้งแล้งในระดับปานกลางถึงมากบริเวณตอนเหนือและตอนกลางของพื้นที่ศึกษาซึ่งครอบคลุมพื้นที่รวมกันมากกว่าร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ศึกษาซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่เกษตรกรรมและป่าไม้ และในช่วงฤดูหนาว พบว่าในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในสภาพปกติและระดับแล้งน้อย โดยมีพื้นที่รวมกันมากกว่าร้อยละ 80 แต่ในปี พ.ศ. 2545, 2548 และ 2554 พืชพรรณมีภาวะแล้งปานกลางถึงแล้งมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านตะวันออกของพื้นที่ศึกษา ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้สอดคล้องกับรายงานสถานการณ์ภัยแล้งซ้ำซากของจังหวัดจันทบุรีในรอบสิบปีที่ผ่านมา ดังนั้นสามารถนำข้อมูลไปใช้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของจังหวัดจันทบุรีได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป&nbsp; Drought is a natural disaster having complex causes and a spatial problem in Chanthaburi province for a long time. This study aimed to assess water shortage areas by using remote sensing data from Landsat 4-5 (TM), Landsat 7 (ETM+) and Landsat 8 (OLI/TIRS) satellites from 2002 to 2018. We found that in dry season during 2002 to 2018 most of Chanthaburi province (more than 40% of the area) was in slight drought conditions. During the years 2002, 2003, 2006 and 2015, severe drought conditions covered the west side of the province and in 2015, severe drought conditions covered almost the whole province (86% of the study area). In the average wet season, Chanthaburi province has slight to moderate drought conditions (approximately 30-40%), but in 2002, 2004, 2005, and 2006, moderate to severe drought was found in the northern and middle parts of the province, covering more than 40-60% of the total area which is mostly agriculture and forestry area. During the cool dry season, it was found to be in normal conditions and slight drought with more than 80% of total area, but in 2002, 2005 and 2011 vegetation conditions were moderate to severe especially in the eastern part of the study area. The data obtained from this study are consistent with the report on drought-prone situations in Chanthaburi Province in the past ten years. Therefore, the information can be used to integrate with relevant agencies to effectively solve the problem of water shortage in Chanthaburi Province.</p> ลิขิต น้อยจ่ายสิน, ธวัชชัย นาอุดม, สาลินี ผลมาตย์ , จักรพันธ์ นาน่วม Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8818 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การแยกและคัดเลือกเชื้อราที่ผลิตเอนไซม์เซลลูเลสเพื่อใช้ย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8819 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของเชื้อราที่ผลิตเอนไซม์เซลลูเลสในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยสามารถแยกเชื้อราบริสุทธิ์จากดิน ฟางข้าวและเศษใบอ้อยที่เน่าเปื่อยได้ทั้งหมด 36 ไอโซเลท จากนั้นคัดเลือกเชื้อราที่มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสบนอาหาร carboxymethyl cellulose (CMC) agar ด้วยวิธี Gram’s iodine และหาค่าดัชนีการผลิตเอนไซม์โดยวัดอัตราส่วนของเส้นผ่า ศูนย์กลางของการเกิดบริเวณใสต่อเส้นผ่าศูนย์กลางของโคโลนีผลการศึกษาพบว่า มีเชื้อราจำนวน 3 ไอโซเลท ที่มีกิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลสสูงสุด ได้แก่ ไอโซเลท MLP02, MLP05 และ NLP06 โดยมีค่าดัชนีการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสเท่ากับ 1.57±0.06,1.53±0.06 และ 1.47±0.06 ตามลำดับ จากการระบุ ชนิดของเชื้อราในเบื้องต้นโดยการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา พบว่า เชื้อราทั้ง 3 ไอโซเลท มีลักษณะสอดคล้องกับเชื้อรา ในสกุล Aspergillus และเมื่อนำเชื้อราผลิตเอนไซม์เซลลูเลสที่คัดแยกได้มาศึกษาการผลิตเอนไซม์ย่อยสลายลิกโนเซลลูโลสในวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรชนิดต่าง ๆ พบว่า เชื้อรา Aspergillus sp. MLP02 มีค่าดัชนีการผลิตเอนไซม์บนอาหารทดสอบชนิดต่างๆ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p&gt;0.05) ส่วนเชื้อรา Aspergillussp. MLP05 และ Aspergillussp. NLP06 มีค่าดัชนีการผลิตเอนไซม์บนอาหารทดสอบชนิดต่าง ๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) โดยเชื้อรา Aspergillus sp. MLP05 มีค่าดัชนีการผลิตเอนไซม์บนอาหารวุ้นรำข้าว อาหารวุ้นแกลบ และอาหารวุ้นฟางข้าว ที่สูงกว่าอาหารวุ้นชานอ้อยและอาหารวุ้น CMC และเชื้อรา Aspergillussp. NLP06 มีค่าดัชนีการผลิตเอนไซม์บนอาหารวุ้นรำข้าว อาหารวุ้นชานอ้อย และอาหารวุ้น CMC ที่สูงกว่าอาหารวุ้นแกลบและอาหารวุ้นฟางข้าว&nbsp; The objective of the present study was to investigate the ability of cellulase-producing fungi to degrade agricultural residues. A total of thirty-six fungal isolates were isolated from soil, decaying rice straw and decaying sugarcane leaf litter. Cellulase production of the fungal isolates were determined using Gram’s iodine on CMC agar. The ratio of clear zone diameter to colony diameter was calculated and expressed as the enzymatic index. Among them, the isolate MLP02, MLP05 and NLP06 showed the highest cellulase activity with cellulolytic index of 1.57±0.06, 1.53±0.06 and 1.47±0.06, respectively. Based on morphological characteristics data, the three fungal isolates were identified as belonging to the genera of Aspergillus. In addition, cellulolytic fungi were investigated for the ability to produce lignocellulose-degrading enzymes during cultivation using different agricultural residues. The result found that the enzymatic index of Aspergillus sp. MLP02 from cultivation on different agar media tested were not significantly different (p&gt;0.05). In contrast, the enzymatic index of Aspergillus sp. MLP05 on rice bran agar, rice husk agar and rice straw agar were significantly higher than that on sugarcane bagasse agar and CMC agar (p&lt;0.05). Whilst the enzymatic index of Aspergillus sp. NLP06 on rice bran agar, sugarcane bagasse agar and CMC agar were significantly higher than that on rice husk agar and rice straw agar (p&lt;0.05).</p> สันธยา บุญรุ่ง, ปวีณา สุมะหิงพันธ์ , ศิริลักษณ์ สุดศรี Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8819 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 ผลของสูตรอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการเพาะเลี้ยงต้นอ่อนเอื้องจำปา (Dendrobium moschatum (Buch.-Ham.) Sw.) ในหลอดทดลอง https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8820 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงต้นอ่อนเอื้องจำปาในหลอดทดลอง ต้นอ่อนของกล้วยไม้ชนิดนี้ซึ่งได้จากการเพาะเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อและมีความสูง 1 ซม. ถูกนำมาเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ที่แตกต่างกัน (MS, ½MS, VW และ ½VW) ผลการทดลองเมื่อเลี้ยงต้นอ่อนครบ 12 สัปดาห์ พบว่า ต้นอ่อนที่เลี้ยงในอาหารสังเคราะห์สูตร ½VW เจริญให้ความสูงของต้นที่สูงที่สุด (2.19 ซม.) ในอาหารสูตรเดียวกันนี้ยังสามารถชักนำให้เกิดยอดและรากใหม่ได้ที่ร้อยละ 100 โดยมีจำนวนยอดและรากใหม่เฉลี่ยอยู่ที่ 1.72 ยอดต่อต้น และ 5.72 รากต่อต้น ผลการศึกษาเมื่อนำต้นอ่อนความสูง 1 ซม. ไปเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์สูตร ½VW ที่เสริมด้วยออกซิน (IAA, IBA และ NAA) หรือไซโทไคนิน (BA, kinetin และ TDZ) ที่ระดับความเข้มข้น 0, 0.1, 0.5, 1.0 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ในกรณีของอาหารที่เสริมด้วยออกซินนั้น ต้นอ่อนที่เลี้ยงในอาหารที่มี IBA เข้มข้น 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดใหม่และรากใหม่ได้ที่ร้อยละ 95 และ 100 มีจำนวนยอดและรากใหม่เฉลี่ยที่ 4.70 ยอดต่อต้น และ 13.63 รากต่อต้น ขณะที่อาหารซึ่งเสริมด้วยไซโทไคนินพบว่า การเติม kinetin เข้มข้น 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดใหม่และรากใหม่ได้ที่ร้อยละ 100 โดยมีจำนวนยอดและรากใหม่เฉลี่ยอยู่ที่ 3.99 ยอดต่อต้น และ 6.55 รากต่อต้น ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะสามารถใช้เป็นวิธีเพาะเลี้ยงต้นอ่อนเอื้องจำปาให้ได้ปริมาณมากเพื่อให้สามารถนำพืชชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ต่อไป&nbsp; This study aimed to investigate the effect of media and plant growth regulators on the growth of in vitro seedling culture of Dendrobium moschatum (Buch.-Ham.) Sw. The 1 cm height seedlings obtained from seeds in vitro conditions were grown on different media (MS, ½ MS, VW &amp; ½ VW). After 12 weeks of cultivation, the results clearly showed that seedlings on ½VW medium showed the highest plant height (2.19 cm). The same medium was also able to induce new shoots and new roots at 100% with an average number of new shoots and new roots of 1.72 shoots/plant and 5.72 roots/plant, respectively. Further study was done using the same size seedlings cultured on ½VW medium supplemented with auxins (IAA, IBA, NAA) or cytokinins (BA, kinetin, TDZ) at the concentration of 0, 0.1, 0.5, 1.0, and 2.0 mg/L for 12 weeks. The results demonstrated that the new shoot induction and root induction rate of 93.75% and 100% with an average number of new shoots and new roots of 4.70 shoots/plant and 13.63 roots/plant were observed when cultured on the ½VW medium supplemented with 1.0 mg/L IBA. In the case of cytokinins, the results showed that the new shoot induction rate and new root induction rate were at 100% with an average number of new shoots and new roots of 3.99 shoots/plant and 6.55 roots/plant were obtained when cultured on the ½VW medium adding with 1.0 mg/L kinetin. Our results can be used as a method for cultivation in large quantities to use this plant for other purposes, especially for species conservation.</p> วุฒิชัย ฤทธิ, ฐาปกรณ์ เสือผู้, สุมิตานันท์ จันทะบุรี, ไกรฤกษ์ ทวีเชื้อ, ประดิพันธ์ ทองแถม ณ อยุธยา , ญาณพัฒน์ พรมประสิทธิ์ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8820 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 สมบัติทางเคมี-กายภาพและการต้านอนุมูลอิสระของชาใบจิกซึ่งผลิตโดยวิธีการอบแห้งด้วยลมร้อนและการคั่วแบบดั้งเดิม https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8821 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการทำแห้งด้วยลมร้อนและการคั่วแบบดั้งเดิมต่อคุณภาพของชาใบจิก พบว่า การทำแห้งทั้งสองวิธีส่งผลให้ได้ชาใบจิกที่มีความชื้นและค่ากิจกรมของน้ำ (a<sub>w</sub>) อยู่ในช่วง 4.17+0.28 ถึง 5.06+0.66 เปอร์เซ็นต์ และค่า a<sub>w</sub> เท่ากับ 0.36+0.01 ถึง 0.38+0.01 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ชา ชาใบจิกที่ผ่านการคั่วจะมีค่าความสว่าง (L*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) ต่ำกว่า แต่มีค่าความเป็นสีแดง (a*) สูงกว่าชาใบจิกที่ผ่านการอบด้วยตู้อบลมร้อน ในด้านของสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของชาใบจิกที่ผ่านการทำแห้ง พบว่าชาใบจิกที่ผ่านการทำแห้งด้วยตู้อบลมร้อนมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สารประกอบฟลาโวนอยด์ และค่า FRAP สูงกว่าชาใบจิกที่ผ่านการคั่วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ส่วนค่าการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTS <strong><sup>•</sup></strong><sup>+</sup> ผลิตภัณฑ์ชาใบจิกที่ผ่านการทำแห้งทั้ง 2 วิธีมีค่าไม่แตกต่างกัน (P&gt;0.05) และจากการศึกษาคุณภาพด้านสีของน้ำชาใบจิกที่ผ่านทำแห้งด้วยการคั่วและอบลมร้อนและชงด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิและเวลาแตกต่างกัน พบว่า ค่า L* ของน้ำชาใบจิกที่ผ่านการทำแห้งทั้ง 2 วิธี มีค่าลดลง เมื่ออุณหภูมิและในระยะเวลาในการชงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส และระยะเวลา 10 นาที และน้ำชาใบจิกที่ผ่านการทำแห้งด้วยตู้อบลมร้อนมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (PH) ไม่แตกต่างกับชาใบจิกที่ผ่านการทำแห้งด้วยการคั่วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P&gt;0.05) แต่เมื่ออุณหภูมิและระยะเวลาในการชงเพิ่มมากขึ้น ปริมาณกรดทั้งหมดที่ไตเตรทได้ในน้ำชาใบจิกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชาใบจิกที่ผ่านการคั่วและชงที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 10 นาที ที่มีปริมาณกรดทั้งหมดมากที่สุด&nbsp; This research aimed to study the effects of the drying method using a hot air dryer and conventional roasting pan on the qualities of Barringtonia acutangula leaf tea. The moisture content and water activity (aw) of all the samples were in the range of 4.17±0.28% to 5.06±0.66% and 0.36±0.01 to 0.38±0.01 respectively, which were in accordance with the standard criteria of tea products. Roasted B. acutangula leaf tea had lower lightness (L*) and yellowness (b*) values but higher redness (a*) than the hot-air dried sample. In terms of the antioxidant properties of dried B. acutangula leaf tea, it was found that the B. acutangula leaf tea dried in a hot air oven had significantly higher total phenolic compounds, flavonoid, and FRAP values than those of the roasted sample (P≤0.05), whereas DPPH and ABTS <strong><sup>•</sup></strong><sup>+</sup> values were no significant difference between both drying methods (P&gt;0.05). Considering the color parameters of roasted and hot air-dried B. acutangula leaf tea brewed with hot water at different temperatures and times, the L* value of B. acutangula leaf tea dried by both methods decreased with increasing temperature and brewing time, especially at 90 ºC for 10 min. The pH value of&nbsp;B. acutangula leaf tea dried in a hot-air oven was not different from that of the sample dried by roasting (P&gt;0.05). However, when the temperature and brewing time rose, the total titratable acidity of roasted leave tea tended to increase. Especially the roasted sample that was brewed at 90 °C for 10 minutes showed the highest total titratable acidity.</p> ปิยธิดา สุดเสนาะ, พิทยา ใจคำ, สิริกาญจน์ ธนบูรณ์ร้องคำ , เกตุการ ดาจันทา Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8821 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 อิทธิพลของอุณหภูมิต่อเลเซอร์ไดโอดในเลเซอร์ไดโอดแบบโพรงภายนอก https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8822 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิที่มีต่อเลเซอร์ไดโอดภายในระบบเลเซอร์ไดโอดแบบโพรงภายนอกชนิดกระจก สะท้อนตาแมว เลเซอร์ไดโอดแบบโพรงภายนอกชนิดนี้ใช้การโฟกัสแสงไปที่กระจกเพื่อที่จะทำการปรับความถี่ของเลเซอร์ กระแสไฟฟ้าที่ให้กับเลเซอร์ไดโอด และอุณหภูมิของเลเซอร์ไดโอดแบบโพรงภายนอกนี้ สามารถปรับเพื่อให้ได้ค่าความถี่ของเลเซอร์ ที่เหมาะสมสำหรับ D2 ของอะตอมรูบิเดียม อย่างไรก็ตามอุณหภูมิของเลเซอร์มีอิทธิพลอย่างมากต่อเลเซอร์ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของเลเซอร์โดยที่ระยะคาวิตี้คงที่ตลอดการทดลอง ซึ่งความยาวคลื่นของเลเซอร์ถูกวัดด้วยสเปกโตรมิเตอร์ โดยการทดลองในตอนที่สองจะทำการปรับอุณหภูมิ และกระแสที่ค่าต่างๆ โดยใช้ชุดทดลองสเปกโตรสโคปี แบบดูดกลืน อิ่มตัวของอะตอมรูบิเดียมเพื่อวัดการเปลี่ยนชั้นพลังงานแบบละเอียดยิ่งยวดที่ D2 สำหรับการปรับเงื่อนไขที่ดีที่สุดที่สามารถวัดการดูดกลืนที่ D2 สำหรับใช้ในการทดลองต่างๆ กับอะตอมรูบิเดียมได้&nbsp; We study the influence of temperature on laser diode inside an external cavity diode laser (ECDL) with a cateye reflector mirror type. This type of ECDL has a focus beam to the external mirror in order to tune the laser frequency. The input current and temperature of the ECDL can be adjusted to a proper frequency for D2 of rubidium atoms. However, the influence of the temperature has a strong effect on the laser. Therefore, the study of the temperature variation has been conducted. The cavity length of the ECDL was fixed during the experiments. The laser wavelength was measured by a spectrometer. The second experiment, the temperature and current of the laser were adjusted and a rubidium saturated absorption spectroscopy was employed to monitor the D2 hyperfine transitions for the optimization conditions which can measure the absorption at D2 for using in various experiments with rubidium atoms.</p> ณัฐวุฒิ สุขสวัสดิ์, สิทธิ บัวทอง , สรายุธ เดชะปัญญา Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8822 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มแจ่วขมแบบผง https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8823 <p>น้ำจิ้มแจ่วขมเป็นอาหารท้องถิ่นที่นิยมรับประทานอย่างกว้างขวางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย น้ำจิ้มแจ่วขมมีส่วนประกอบของดีวัว และขี้เพี้ยวัว มักรับประทานคู่กับเนื้อย่างเพื่อเพิ่มรสชาติขม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มแจ่วขมให้มีลักษณะเป็นผงและสะดวกในการบริโภค โดยศึกษาสูตรน้ำจิ้มแจ่วขมที่เหมาะสม เปรียบเทียบวิธีการทำแห้งระหว่างการทำแห้งแบบลูกกลิ้งและการทำแห้งแบบถาด จากนั้นทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้ทดสอบจำนวน 50 คนด้วยวิธี 9-Points Hedonic Scale พบว่า สูตรน้ำจิ้มแจ่วขมที่เหมาะสมและผู้ทดสอบให้การยอมรับ คือ สูตรที่มีส่วนผสมหลัก ได้แก่ น้ำดีร้อยละ 0.13 น้ำมะนาวร้อยละ 6.38 น้ำปลาร้อยละ 6.38 น้ำเพี้ยร้อยละ 36.43 ข้าวคั่วป่นร้อยละ 12.75 พริกป่นร้อยละ 7.29 เกลือร้อยละ 7.29 น้ำตาลทรายร้อยละ 13.66 และผักสมุนไพรร้อยละ 9.69 วิธีการทำแห้งน้ำจิ้มแจ่วขมที่เหมาะสม คือ การอบแห้งแบบถาดที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เมื่อวิเคราะห์ค่าคุณภาพของน้ำแจ่วขมแบบผง พบว่า มีปริมาณความชื้นร้อยละ 0.93±0.06 ปริมาณน้ำอิสระ (a<sub>w</sub>) เท่ากับ 0.210±0.019 และไม่พบการปนเปื้อนของ Coliform, E. coli, ยีสต์และรา จากผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า ผู้ทดสอบสนใจจะเลือกซื้อน้ำจิ้มแจ่วขมผงสูตรนี้มากถึงร้อยละ 90 และให้คะแนนความชอบโดยรวมอยู่ในระดับชอบปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 7.0±1.4&nbsp; The bitter spicy dipping sauce is a traditional dish that is widely consumed in Northeastern Thailand. This dipping sauce consists of cow’s bile and cattle small intestinal digesta, locally called ‘Pia’. It is usually eaten with grilled meat for added bitterness. The objective of this research was to develop a product of bitter spicy dipping sauce powder and be convenient to consume. The optimum formula of bitter spicy dipping sauce powder and drying process namely drum drying, and tray drying were investigated. The sensory evaluation of fifty panels was carried out based on the 9-points hedonic scale. The results revealed that the main ingredients composed of 0.13% cow’s bile, 6.38% lime juice, 6.38% fish sauce, 36.43% Pia, 12.75% roasted rice powder, 7.29% chili powder, 7.29% salt, 13.66% sugar, and 9.69% herbs were optimum formula and the panels accepted for bitter spicy dipping sauce powder production. The optimum drying condition was tray drying at 60 °C. The quality of bitter spicy dipping sauce powder was then analyzed. It was found that the powder had 0.93±0.06 % moisture content. The level of water activity (aw) was 0.210±0.019 and there was no contamination of coliform, E. coli, yeast, and mold. The sensory evaluation results showed that 90% of panels were purchase intent this bitter spicy dipping sauce powder and rated the overall liking score at a moderate level with an average of 7.0±1.4. &nbsp;</p> ชุลีพร ชำนาญค้า, สิรินาฏ เนติศรี , บุศราวรรณ ไชยะ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8823 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 ความสัมพันธ์ของกายวิภาคศาสตร์บางประการของพรมมิ (Bacopa monnieri (L.) Wettst.) ต่อปริมาณสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8824 <p>พรมมิ (Bacopa monnieri (L.) Wettst.) เป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญเนื่องจากมีสารซาโปนินในกลุ่มบาโคไซด์ พรมมีสรรพคุณทางยาช่วยในการบำรุงสมองและเสริมความจำ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์เชิงตัวเลขของลำต้นและใบของพรมมิเพื่อวิเคราะห์ร่วมกับปริมาณสารบาโคไซด์บางชนิด ทำการศึกษาลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของพรมมิโดยการตัดตามขวางลำต้นและใบด้วยมือเปล่า (Free hand section) เลือกศึกษาลำต้นที่ตำแหน่งที่ 3.9 และ 15 เซนติเมตรจากปลายยอด และศึกษาเนื้อเยื่อชั้นผิวของใบด้วยวิธีการลอกผิว ( Peeling technique) โดยใช้ใบที่บริเวณข้อที่ 2-3 จากปลายยอด วิเคราะห์สหสมพันธ์ระหว่างลักษณะกายวิภาคของลำต้นและใบโดยรวม และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายวิภาคของลำต้นพรมมิที่ตำแหน่ง 9 เซนติเมตรจากปลายยอด ร่วมกับปริมาณ Bacoside A3 (BacA3), Bacopaside II (Bacll) Bacopaside X (BacX), Bacopasaponin C (BacC) และ Total bacoside (TBA) ผลการศึกษาพบว่าความหนาของคอร์เทกซ์ในลำต้นมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับลักษณะทางกายวิภาคของลำต้นและใบเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายวิภาคของลำต้นพรมมิที่ตำแหน่ง 9 เซนติเมตรจากปลายยอดและปริมาณ BacA3, Bacll, Bacx. BacC และ TBA พบว่าลักษณะกายวิภาคของลำต้นบางลักษณะมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปริมาณสารออกฤทธิ์เหล่านี้ได้แก่ ความหนาของเนื้อเยื่อชั้นผิว ความหนาของเอนโดเดอร์มิส ความหนาของผนังเซลล์เวสเซล เส้นผ่านศูนย์กลางของไส้ไม้ด้านกว้างและยาว ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินปริมาณสารออกฤทธิ์ดังกล่าวในเบื้องต้นจากลำต้นร่วมกับลักษณะอื่นได้&nbsp; Brahmi (Bacopa monnieri (L.) Wettst.) is an important medicinal plant with active principle of saponins as bacoside group. Brahmi contains therapeutic qualities that can assist to energize the mind and improve memory. Aim of this study is to determine the stem and leaf numerical anatomy of Brahmi with correlation analysis between some anatomical characteristics and bacosides content. Stem and leaf anatomy were studied by transverse section using free hand technique. The leaves and stems were selected at 3, 9 and 15 cm from the shoot apex. Leaves at the 2nd-3rd node position from shoot apex were selected for leaf epidermal investigation using the peeling technique. Correlation between all stem and leaf anatomical traits was calculated. Stem anatomical characters of the 9 cm from apex position was correlation analyzed with bacoside content, including Bacoside A3 (BacA3), Bacopaside II (BacII) Bacopaside X (BacX), Bacopasaponin C (BacC) and Total bacoside (TBA). The results showed that the cortex thickness of stem was mostly positively correlated with other stem and leaf anatomical characteristics. Correlation analysis between the 9 cm position of stem anatomy with bacoside contents revealed that some anatomical characters were positively correlated with bacoside content, including epidermal thickness, endodermal thickness, vessel’s cell wall thickness, pith diameter both width and length side. The data obtained in this study can be applied in preliminary estimation of the active compounds from Brahmi stems.</p> ชัยชาญ มณีรัตนรุ่งโรจน์, ชนพิชา ศรีวันทา, เนริสา คุณประทุม , วรศิธิกุลญา ธราธิมา Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8824 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 ระเบียบวิธีการทำซ้ำอันดับเจ็ดสำหรับการแก้สมการไม่เชิงเส้น https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8825 <p>บทความนี้ได้นำเสนอระเบียบวิธีใหม่ที่มี 3 ขั้นตอน ซึ่งสองขั้นตอนแรกใช้หลักการระเบียบวิธี Shengfeng อันดับที่สี่ ทำการวิเคราะห์การลู่เข้าของระเบียบวิธีใหม่เป็นอันดับที่ 7 ได้นำเสนอตัวอย่างของระเบียบวิธีการใหม่นี้กับระเบียบวิธีที่มีอันดับเจ็ดรูปแบบอื่น </p> <p>The study presents a new scheme of three steps, of which the first two steps are based on the fourth order Shengfeng method. The proposed method has order seven. Numerical tests show that the new methods are comparable with the well-known existing methods and give better results.</p> ไพรัชช์ จันทร์งาม, วรัชยา ทองแสน , เฉลิมวุฒิ คำเมือง Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8825 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การปรับปรุงผลการศึกษาของการจำแนกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนเขตร้อน 5 สายพันธุ์ โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม พริสม่าไฮเปอร์สเปกตรัล : กรณีศึกษาบริเวณแหลมตะลุมพุก ประเทศไทย https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8826 <p>การติดตามระบบนิเวศป่าชายเลนและความหลากหลายทางสายพันธุ์ภายใต้บัญชีแดงระบบนิเวศขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List of Ecosystems) เป็นสิ่งที่สำคัญ มีรายงานว่าป่าชายเลนจำนวน 11 จาก 70 สายพันธุ์อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์ ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมไฮเปอร์สเปกตรัลถูกนำมาใช้จำแนกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนและให้ผลการจำแนกที่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีแถบสเปกตรัมที่แคบจำนวนมากให้รายละเอียดการสะท้อนช่วงคลื่นของพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามพบปัญหาในชนิดโกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata, RM) และโกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata, RA) ซึ่งลักษณะของใบมีความใกล้เคียงกันมากส่งผลให้เกิดความสับสนของแถบช่วงคลื่นในการจำแนกพันธุ์ไม้ป่าชายเลน งานวิจัยนี้ได้นำภาพถ่ายระบบไฮเปอร์สเปกตรัลจากดาวเทียม PRISMA ที่มีเมฆปกคลุมต่ำ (ร้อยละ 0.03) ร่วมกับวิธีการจำแนกแบบ spectral angle mapper (SAM) มาจำแนกป่าชายเลนบริเวณแหลมตะลุมพุก ในกระบวนการจะแยกชุดข้อมูลแถบช่วงคลื่น PRISMA ออกเป็น 2 ชุด ได้แก่ 1) แถบช่วงคลื่นทั้งหมด และ 2) แถบช่วงคลื่นจำนวน 7 ช่วงคลื่น (วิเคราะห์จาก genetic algorithm) ทดสอบผลการจำแนกโดยใช้ค่าความถูกต้องโดยรวม (Overall accuracy) และค่าสถิติการทดสอบ dependent sample t-test ผลการศึกษาพบว่าภาพที่ใช้แถบช่วงคลื่นทั้งหมดและภาพที่ใช้ ช่วงคลื่นให้ความถูกต้อง โดยรวมสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 81.3 และ 76.0 ตามลำดับ ผลการทดสอบทางสถิติปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0: (0.7 - .06) = 0.1 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99.0 (p-value &lt; 0.001) แม้ว่าการจำแนกด้วยภาพที่ใช้ 7 ช่วงคลื่นจะให้ความถูกต้องโดยรวมน้อยกว่าภาพที่ใช้แถบช่วงคลื่นทั้งหมด อย่างไรก็ตามภาพที่ใช้ 7 ช่วงคลื่นให้ผลลัพธ์การแยกระดับสายพันธุ์ของชนิดโกงกางใบเล็กออกจากโกงกางใบใหญ่ได้ดีกว่าโดยพิจารณาจากค่าความถูกต้องผู้ผลิตและผู้ใช้ที่ได้รับการปรับปรุงอย่างนัยสำคัญจึงพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพการติดตามระบบนิเวศป่าชายเลนของระบบไฮเปอร์สเปกตรัลจากดาวเทียม PRISMA ได้เป็นอย่างดี Monitoring coastal ecosystem regarding the IUCN Red List of Threatened Species are essential. It was reported that 11 of 70 mangrove species are at risk of extinction. Hyperspectral imagery, hundreds of narrow spectral bands, has been effectively utilized to discriminate mangrove species. It is capable of delivering detailed spectral reflectance of mangrove varieties-however, some confusion between Rhizophora mangroves (Rhizophora mucronata and Rhizophora apiculata) still remains. This study aimed to classify mangrove species by utilizing a clearer PRISMA hyperspectral image of the Talumpuk cape with less than 0.03% cloud coverage and a spectral angle mapper (SAM) algorithm. Two sets of data were subsequently prepared 1) all spectral bands and 2) seven spectral bands selected by a genetic algorithm. Overall accuracy and dependent sample t-tests were then employed to evaluate the classification results of the two datasets, gaining 81.3% and 76.0%, respectively. Statistical testing revealed that null hypothesis H0: (0.7 – 0.6) = 0.1 was significantly rejected at 99.0% confident level (p-value &lt; 0.001). Despite comparable overall accuracies between the two datasets, it was evident that the genetic algorithm helped reduce the confusion between the two Rhizophora species. This was supported by improved producer and user accuracies. It is anticipated that the capabilities of PRISMA satellite images have many advantages in mangrove ecosystem monitoring.</p> ศุภนิดา เมืองกเสม, ชัยโชค ไวภาษา , กฤชญาณ อินทรัตน์ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8826 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การกระจายและความชุกชุมของไส้เดือนน้ำบริเวณพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8828 <p>ศึกษาการกระจายและความชุกชุมของไส้เดือนน้ำในบริเวณพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยทำการเก็บตัวอย่างจำนวน 6 สถานี ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เป็นตัวแทนฤดูแล้ง และเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นตัวแทนฤดูฝน ผลการศึกษาพบองค์ประกอบของไส้เดือนน้ำจำนวน 4 สกุล 2 วงศ์ ไส้เดือนน้ำสกุล Branchiura sp. และ Tubifex sp. ในวงศ์ Tubificidae พบเป็นกลุ่มเด่น และพบไส้เดือนน้ำสกุล Branchiodrilus sp. ในวงศ์ Tubificidae และไส้เดือนน้ำสกุล Dero sp. ในวงศ์ Naididae มีความชุกชุมต่ำและมีการกระจายเฉพาะบริเวณ ความชุกชุมและมวลชีวภาพรวมของไส้เดือนน้ำในช่วงฤดูแล้งมีค่าสูงกว่าในฤดูฝน ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการกระจายและความชุกชุมของไส้เดือนน้ำในบริเวณนี้ ได้แก่ อนุภาคดินตะกอนละเอียดซิลท์-เคลย์ ปริมาณสารอินทรีย์ในดินตะกอน ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ความลึกของน้ำ ความโปร่งแสงของน้ำและอุณหภูมิของน้ำ การศึกษานี้พบไส้เดือนน้ำสกุล Branchiura sp. และ Tubifex sp. เป็นกลุ่มเด่นในบริเวณพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในอำเภอเสนาซึ่งแสดงถึงสภาวะปริมาณอินทรียสารสูงในแหล่งน้ำ&nbsp; The distribution and abundance of aquatic oligochaetes in the aquaculture area in Sena District, Ayutthaya Province were investigated in February 2022, a dry season, and June 2022, a wet season. Aquatic oligochaetes sampling was carried out from six sampling stations. The composition of aquatic oligochaetes in the Sena District aquaculture area revealed the 4 genera in 5 families. The oligochaetes, Branchiura sp. and Tubifex sp. in the Family Tubificidae as the dominant species. Other oligochaetes, Branchiodrilus sp. in the Family Tubificidae and Dero sp. in the Family Naididae were rare and only found in certain areas. The total abundance and biomass of oligochaetes were higher in the dry and wet seasons. The main factors contributing to the distribution and abundance of aquatic oligochaetes in the area were fine-grained fraction (silt&nbsp;and&nbsp;clay) and organic content in sediment, dissolved oxygen content, water depth, water transparency and water temperature. The study discovered that aquatic oligochaetes, Branchiura sp., and Tubifex sp. were the dominant species in the Sena District, indicating organic pollution in the aquatic environment.</p> ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8828 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 ความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของปูปะการัง วงศ์ Tetraliidae Castro, Ng & Ahyong, 2004 และ Trapeziidae Miers, 1886 ในแนวปะการังของประเทศไทย https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8829 <p>ปูปะการังเป็นปูที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงอยู่ของปะการังแข็ง โดยป้องกันไม่ให้ปะการังถูกดาวมงกุฎหนาม กินเป็นอาหาร เก็บกินเมือกและอินทรีย์สาร และกำจัดตะกอนที่ปกคลุมบนปะการัง ทไให้ปะการังมีสุขภาพดีและไม่ฟอกขาว จากการศึกษาปูปะการังในแนวปะการังของประเทศไทยพบปูทั้งสิ้น 2 วงศ์ 3 สกุล และ 15 ชนิด ประกอบด้วยวงศ์ Tetraliidae พบปู 1 สกุล คือ Tetralia ซึ่งมี 4 ชนิด และวงศ์ Trapeziidae พบปู 2 สกุล คือ Trapezia และ Quadrella ซึ่งมี 7 และ 4 ชนิด ตามลำดับ ปูที่พบชุกชุมมาก มีสถานภาพเป็นปูชนิดเด่น และพบแพร่กระจายเป็นบริเวณกว้างทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน คือ Trapezia cymodoce ในขณะที่ปูในสกุล Tetralia ที่พบชุกชุมมากมีสถานภาพเป็นปูพบทั่วไป และพบแพร่กระจายทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน คือ Tetralia nigrolineata ส่วนปูในสกุล Quadrella เป็นปูที่พบชุกชุมน้อยและมีสถานภาพเป็นปูพบยาก พบแพร่กระจายเฉพาะแนวปะการังฝั่งอันดามัน โดยชนิด Quadrella boopsi เป็นชนิดที่น่าจะเป็นรายงานการศึกษาแรกในประเทศไทย แนวปะการังฝั่งอ่าวไทยมีความหลากชนิดของปูปะการังน้อยกว่าฝั่งอันดามัน โดยพบปู 7 และ 15 ชนิด ตามลำดับ แนวปะการังที่พบปูปะการังหลากชนิดและชุกชุม ได้แก่ อุทยาน แห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และเกาะราชาน้อย&nbsp; The coral crab plays a vital role in the sustainability of hard corals by preventing them from being consumed by crown-of-thorns starfish. They feed on mucus and organic matter and remove sediment covering the corals. This helps to maintain the health of the corals and prevent bleaching. Studies on coral crabs in Thailand's coral reefs identified a total of 2 families, 3 genera, and 15 species. This included the Tetraliidae family with one genus, Tetralia, having 4 species, and the Trapeziidae family with two genera, Trapezia and Quadrella, having 7 and 4 species respectively. The most abundant found and dominant species distributed widely along both the Gulf of Thailand and the Andaman coast was Trapezia cymodoce. Meanwhile, Tetralia nigrolineata was the common species from Tetralia and was widely distributed along both coasts. Quadrella was less abundant and considered rare species, primarily found along the Andaman coral reefs. Notably, Quadrella boopsi might be the first reported of Thailand. The coral reefs on the Gulf of Thailand side have fewer coral crab species than the Andaman side, with 7 and 15 species respectively. Coral reefs with a diverse and abundant presence of coral crabs include Mu Ko Surin National Park, Mu Ko Similan National Park, and Ko Racha Noi.&nbsp;</p> พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธ์, วชิระ ใจงาม , ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8829 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 การคัดแยก จำแนกและศึกษาคุณสมบัติของเชื้อ Streptomyces sp. SAURU59 ที่ใช้กำจัดเชื้อราก่อโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8830 <p>งานวิจัยนี้ได้ทำการคัดแยกเชื้อแอคติโนมัยซีทจากดินในเขตอุทยานลำน้ำน่าน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้วยวิธี soil dilution plate และวิธี dual culture เพื่อใช้เป็นเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ต่อเชื้อรา Phytophthora palmivora สาเหตุโรครากน่าโคนเน่าของทุเรียน รวมทั้งจัดจำแนกชนิด และศึกษาคุณสมบัติทางชีวเคมีของเชื้อแอคติโนมัยซีท สามารถคัดแยกเชื้อแอคติโนมัยชีทได้ทั้งหมด 69 ไอโซเลท พบเพียงไอโซเลท SAURU59 มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเชื้อราสาเหตุได้ดีที่สุดเท่ากับ 75 เปอร์เซ็นต์ จากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการจัดจำแนกชนิดโดยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณยืน 16S rRNA พบว่า ไอโซเลท SAURU59 เป็นแบคที่เรียแกรมบวก มีการสร้างสปอร์ต่อกันเป็นสาย บิดเป็นเกลียวสปอร์มีผิวเรียบ และมีลำดับนิว คลีโอไทด์บริเวณดังกล่าวเหมือนกับเชื้อ Streptomyces rimosus เมื่อศึกษาคุณสมบัติทางชีวเคมีของเชื้อ Sireptomyces rimosus SAURU59 สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลส และไคติเนสบนอาหารทดสอบได้ อีกทั้งผลิตสารกรดอินโดล-3-แอซีติก ได้เท่ากับ 30.78 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ที่ระยะเวลา 10 วัน&nbsp; This research aimed to select an actinomycete strain from soil collected in Nan River National Park,&nbsp;Tha Pla District, Uttaradit Province, using the soil dilution plate method and dual culture technique to examine Phytophthora palmivora, the causative agent of durian root and stem rot disease. The research also included the identification of antagonistic actinomycetes and an investigation into the biochemical properties of these actinomycetes. A total of 69 isolates were obtained from the soil, with only isolate SAURU59 found to exhibit the highest efficiency in inhibiting the growth of the fungal pathogen, achieving a 75 percent inhibition rate. Morphological characterization and analysis of the 16S rRNA nucleotide sequence revealed that SAURU59 was gram-positive and had spores formed in a chain-like structure with a spiral and smooth surface. Additionally, the nucleotide sequence of SAURU59 showed similarity to Streptomyces rimosus. This isolate showed the ability to produce cellulase and chitinase enzymes, as well as 30.78 µg/ml of indole-3-acetic acid (IAA) within 10 days.</p> วันวิสาข์ พิระภาค, พัทธชัย ปิ่นนาค , ปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8830 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 พัฒนาการของเอนไซม์ย่อยอาหารของปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8831 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหารหลัก คือ เปปซิน ทริปซิน ไลเปส และอะไมเลส ในปลาตะกรับตั้งแต่อายุแรกฟักจนถึงอายุ 30 วัน โดยการวิเคราะห์ระดับ PH ที่เหมาะสมของกิจกรรมเอนไซม์แต่ละชนิดในอวัยวะย่อยอาหาร จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์กิจกรรมของเอนไซม์ดังกล่าวในปลาวัยอ่อน ผลการศึกษาระดับ pH ที่เหมาะสมของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร พบว่าเปปซินมีกิจกรรมสูงสุดที่ pH 2.0 เท่ากับ 178.20±19.59 unit/mg protein (P&lt;0.05) ในไส้ติ่ง และลำไส้ พบว่าทริปซินมีกิจกรรมสูงสุดที่ pH 8.0 เท่ากับ 7.71±1.46 และ 13.21±0.51 unitmg protein ตามลำดับ ไลเปสมีกิจกรรมสูงสุดในไส้ติ่งที่ pH 8.5 และในลำไส้ที่ pH 8.0 เท่ากับ 3.13±0.78 (P&lt;0.05) และ 0.70±0.15 unit/mg protein (P&lt;0.05) ตามลำดับ ส่วนอะไมเลสมีกิจกรรมสูงสุดที่ pH 7.0 เท่ากับ 177.79±15.38 และ 115.77±7.20 unitmg protein (P&lt;0.05) ในไส้ติ่งและลำไส้ ตามลำดับ ผลการศึกษากิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหารในปลาอายุแรกฟักถึง 30 วัน (ความยาวเหยียดเฉลี่ย 8.50±0.50 มิลลิเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 28.67±1.41 มิลลิกรัม) พบว่ากิจกรรมของเปปชินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงอายุ 30 วัน กิจกรรมของ ทริปซินมีการเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนถึงอายุ 15 วัน และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่วันที่ 17 จนถึงอายุ 30 วัน สำหรับกิจกรรมของไลเปสมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อลูกปลาอายุ 30 วัน ในส่วนของอะไมเลส พบว่าปลาอายุ 3-4 วัน มีระดับกิจกรรมของเอนไซม์ในระดับต่ำ มีการเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ในช่วงอายุ 5-21 วัน จากนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อลูกปลาอายุ 24-30 วัน ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เพื่อประเมินความสามารถการย่อยอาหาร และการเจริญเติบโตของลูกปลา ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกปลาตะกรับแต่ละระยะได้&nbsp; The study aimed at examining digestive enzyme activities of pepsin, trypsin, lipase and amylase in spotted scat from hatching to 30 days post hatching (DPH). Optimal pH for each digestive enzyme activity was determined in the first step. Subsequently, analysis of activities of the four enzymes were followed in the larval fish digestive system. For the optimal pH study, the highest pepsin activities (178.20±19.59 unit/mg protein) in fish stomach were at pH 2.0 (P&lt;0.05). &nbsp;In pyloric caeca and intestine, the highest trypsin activities were at pH 8.0 (7.71±1.46 and 13.21±0.51 unit/mg protein, respectively). The highest lipase activities (P&lt;0.05) in pyloric caeca were at pH 8.5 (3.13±0.78 unit/mg protein) while those in intestine at pH 8.0 (0.70±0.15 unit/mg protein). The highest amylase activities were at pH 7.0 (177.79±15.38 and 115.77±7.20 unit/mg protein, (P&lt;0.05)) in pyloric caeca and intestine, respectively. Investigation on digestive enzyme activities from hatching (0 DPH) to 30 DPH (average body length and weight of 8.50±0.50 mm, 28.67±1.41 mg, respectively) showed that pepsin activities increased at a constant rate until 30 DPH. Trypsin activities slowly increased from hatching until 15 DPH and risened rapidly from 17-30 DPH while those of lipase exhibited an increasing trend from hatching and a sharp increase at 30 DPH. Amylase activities appeared at low levels during 3-4 DPH then, increased slowly during 5-21 DPH and rapidly amplified during 24-30 DPH. The results from the present study are useful for estimating larval fish digestibility and growth that are fundamental for development of suitable feed for larval stages of spotted scat.</p> วัชริศ ตั่นไพโรจน์, อาระฟิน รามาน, มณี ศรีชะนันท์, บัลลิกา หลงอะหลี, สุดารัตน์ จันทะคาม, อัตรา ไชยมงคล , ชุติมา ตันติกิตติ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8831 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 องค์ประกอบชนิดและการกระจายของปลา บริเวณคลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8833 <p>ศึกษาองค์ประกอบชนิดและการกระจายของปลาบริเวณคลองบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยทำการเก็บรวบรวมปลาในสถานีเก็บตัวอย่างจำนวน 4 สถานี ในช่วงเดือนมิถุนายน 2563 ถึงเดือนกันยายน 2563 ผลการศึกษาพบองค์ประกอบชนิดปลาจำนวน 5 วงศ์ 21 ชนิด ปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) พบเป็นกลุ่มเด่นจำนวน 15 ชนิด คิดเป็น 71.4% ของชนิดปลาที่พบทั้งหมด ปลาชนิดเด่นที่พบชุกชุมและมีการกระจายกว้างในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ แปบควาย (Paralaubuca typus) ตะเพียนทอง (Barbonymus altus) ตะเพียนขาว (Barbonymus goinionotus) แก้มช้ำ (Systomus rubripinnis) สร้อยขาว (Henicorhynchus siamensis) และสร้อยนกเขา (Osteochilus vitatus) ส่วนปลาวงศ์อื่นที่พบ ได้แก่ วงศ์ปลาสลิดปลากระดี่ (Osphronemidae) วงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) และวงศ์ปลากริม (Belontiidae) การศึกษานี้พบปลาที่มีสถานภาพแนวโน้มสูญพันธ์ (Vulnerable) คือ ปลาน้ำเงิน (Phalacronotus apogon) ผลการจัดกลุ่มประชากรปลาสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มปลาที่อาศัยในคลองบางบาล (พื้นที่น้ำลึก) และ (2) กลุ่มปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณคลองส่งน้ำเข้าสู่ทุ่งนา (พื้นที่น้ำตื้น) โดยมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการกระจายของประชากรปลา ได้แก่ ความลึกของน้ำ ความโปร่งแสงของน้ำ ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ อุณหภูมิของน้ำ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำและปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำ&nbsp; Fish species composition and distribution in Bangbarn canal, Bangbarn District, Ayutthaya Province were investigated during June to September 2020. Fish sampling were carried out from four sampling stations. Fish species in bangbarn canal revealed of the 21 species in 5 families. The majority of which belonged to Cyprinidae comprised of fifteen species of 71.4% of the total species collected. Dominant species of cyprinids in term of abundant and widely distributed in the area were siamese river abramine, Paralaubuca typus, gold carp, Barbonymus altus, Java/Thai carp, Barbonymus gonionotus, Javaen barb, Systomus rubripinnis, Julien’s mud carp, Henicorhynchus siamensis and hard-lipped barb, Osteochilus vitatus. Fishes in the family of Osphronemidae, Siluridae, Toxotidae and Belontiidae werealso presented. Freshwater catfish, Phalacronotus apogon being one of fish species recorded as vulnerable in the IUCN Red List was also found in the area. From cluster analysis and multi-dimensional scaling (MDS) showed the clear separation of fish communities in this Banbarn canal into (1) those residing in depth watersarea and (2) those residing in shallow watersarea, mainly in the irrigation canals to paddy fields, behind the small floodgate. Main factors contributing to the distribution of fishes in the area were water depth, water transparency, dissolved oxygen content, water temperature, water pH, conductivity and total dissolved solids.</p> ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8833 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 ผลของอุณหภูมิและระยะเวลาการอบแห้งต่อปริมาณสารเบต้าแคโรทีนและสมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์มะยงชิดออสโมซิส https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8834 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิและระยะเวลาการอบแห้งต่อปริมาณสารเบต้าแคโรทีนและสมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์มะยงชิดออสโมซิส โดยนำมะยงชิด (Bouea macrophylla Giff.) พันธุ์ทูลเกล้าหั่นเป็นชิ้นขนาดประมาณ 2x3x0.5 cm. (กxยxส) ออสโมซิสในสารละลายซูโครส 50ºBrix เป็นเวลา 5 hr พบว่ามะยงชิดสดความชื้น 65.14%wb และลดลงหลังการออสโมสซีสที่ 47.87%wb หลังการอบแห้งใช้เวลาเท่ากับ 330, 180 และ 130 min ที่อุณหภูมิ 50, 60 และ 70ºC ตามลำดับ เพื่อให้ได้ความชื้นสุดท้ายประมาณ 18%wb และค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (a<sub>w</sub>) ต่ำกว่า 0.6 ให้ลักษณะของอัตราการลดลงของความชื้นในการอบแห้งมีความสัมพันธ์ไม่เป็นเชิงเส้นกับเวลาอบแห้ง และที่อุณหภูมิการอบแห้งสูง (70°C) มีค่าอัตราการอบแห้งสูงสุด 6.719 g/hr จากนั้นวิเคราะห์สมบัติทางเคมีกายภาพพบว่าการเพิ่มอุณหภูมิในการอบแห้งมีผลทำให้สีของผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มเข้มขึ้นสังเกตได้จากค่าความแตกต่างสีโดยรวม (DE*) มีแนวโน้มสูงขึ้นสอดคล้องกับการลดลงของความสว่าง (L*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) ในขณะที่ค่าความเป็นสีแดง (a*) เพิ่มขึ้นการอบแห้งที่อุณหภูมิสูงโมเลกุลน้ำน้อยลงทำให้ค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด (TSS) เพิ่มสูงขึ้น เนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์แข็งขึ้นให้ค่าสูงสุดที่การอบแห้ง 70ºC เท่ากับ 10.42 N ในส่วนปริมาณสารเบต้าแคโรทีนให้ค่าสูงสุดกับมะยงชิดสดเท่ากับ 0.448 mg/100 g FW และลดลงหลังการออสโมซิสร่วมกับการอบแห้ง&nbsp; This research was to study the effects of drying temperatures and times on the beta-carotene content and physical properties of the osmosis mayongchit product. Mayong chid (Bouea macrophylla Giff.) Thullao variety was cut to sizes of 2x3x0.5 cm. (WxDxH), and then soaked in sucrose concentration at 50°Brix for 5 hr. It was found that the moisture content of fresh mayongchit was 65.14%wb and decreased after osmosis to 47.87%wb. After drying, the drying time was 330, 180 and 130 min at 50, 60 and 70ºC respectively, for which the final moisture content was about 18%wb and the water activity (a<sub>w</sub>) was lower than 0.6. The decreasing rate of moisture content during drying had a nonlinear relationship with drying time. The high drying temperature (70ºC) gave the highest drying rate of 6.719 g/hr. For physicochemical properties analysis, the results showed that increasing the drying temperature resulted in the product's color tending to darken, as observed from the total color difference (DE*) tending to increase. This corresponded to the decreases in lightness (L*) and yellowness (b*), and an increase in redness (a*). At high temperatures, less water molecules resulted in an increase in the total dissolved solids (TSS). The texture of the product was solidified with a maximum value of 10.42 N at a drying temperature of 70ºC. In terms of beta-carotene content, the highest value in fresh mayongchit was 0.448 mg/100 g FW and decreased after osmosis with drying.</p> จตุรงค์ ลังกาพินธุ์, สุนัน ปานสาคร , อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8834 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 ความหลากชนิดของปลิงทะเลที่มีพื้นผิวตัวเป็นสีดำที่พบในทะเลอ่าวไทยและอันดามัน https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8845 <p>ปลิงทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัม Echinodermata ชั้น Holothuroidea ที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศทะเลและเศรษฐกิจสังคม คือ เป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สารที่สำคัญในท้องทะเล และเป็นที่ต้องการทางด้านอาหารและยา ปลิงทะเลสีดำในทะเลอ่าวไทยและอันดามันมีความหลากหลาย สามารถพบเจอได้ทั่วไปและมักก่อให้เกิดความสับสนในการระบุชนิด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมปลิงทะเลที่มีพื้นผิวตัวเป็นสีดำ และจำแนกชนิดทางอนุกรมวิธาน โดยการรวบรวมตัวอย่างจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา และได้สำรวจเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมในทะเลอ่าวไทยและอันดามันทั้งหมด 10 สถานี ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2565 นำตัวอย่างปลิงทะเลมาตัดเนื้อเยื่อเพื่อดูลักษณะของออสสิเคิลที่ใช้ในการจำแนกชนิด ผลการศึกษาพบปลิงทะเลสีดำทั้งหมด 3 อันดับ 4 วงศ์ 6 สกุล 13 ชนิด เป็นปลิงทะเลที่พบในทะเลอ่าวไทย 3 ชนิด ได้แก่ Holothuria flavomaculata, H. notabilis และ Stolus buccalis พบในทะเลอันดามัน 5 ชนิด ได้แก่ Actinopyga caerulea, A. miliaris, Bohadshia atra, H. erinaceaและ H. cinerascens และพบทั้งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน 5 ชนิด ได้แก่ H. atra, H. pardalis, H. leucospilota, Stichopus chloronotus และ Mensamaria intercedens Sea cucumbers are marine invertebrates in class Holothuroidea of phylum Echinodermata.They have an important role in marine ecosystems and socioeconomy as decomposers of important organic substances in the sea and they are in demand of marine foods and marine drugs. Black sea cucumbers in the Gulf of Thailand and the Andaman Sea are diverse, common and often complicated in species identification. This study aimed to collected black-surface sea cucumbers and identified them taxonomically by collecting specimens from the Institute of Marine Science, Burapha University. More samples were collected from the Gulf of Thailand and the Andaman Sea at 10 stations from March to May 2022. Sea cucumber samples were taken for biopsy to determine the characteristics of the ossicles used in species identification. The results revealed 3 orders, 4 families, 6 genera and 13 species of black sea cucumbers. Three species of sea cucumbers were found in the Gulf of Thailand, namely Holothuria flavomaculata, H. notabilis and Stolus buccalis and 5 species were observed in the Andaman sea: Actinopyga caerulea, A. miliaris, Bohadshia atra, H. erinacea and H. cinerascens. In addition, 5 species were found in both the Gulf of Thailand and the Andaman Sea: H. atra, H. pardalis, H. leucospilota, Stichopus chloronotus and Mensamaria intercedens.</p> สิทธิโชค ธีรธัชธนกร, สุเมตต์ ปุจฉาการ, รติมา ครุวรรณเจริญ, ทรรศิน ปณิธานะรักษ์, สุพัตรา ตะเหลบ, จิตรา ตีระเมธี, สุชา มั่นคงสมบูรณ์, สุรพล ฉลาดคิด, โสภาวดี เมืองฮาม, พุทธรักษ์ เสนานาค , ชญานนท์ เชี่ยวกิจ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8845 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 คุณภาพน้ำบริเวณพื้นที่เลี้ยงปลานิลในกระชังแม่น้ำโขง จังหวัดมุกดาหาร https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8857 <p>การศึกษาคุณภาพน้ำในบริเวณเลี้ยงปลานิลในกระชังแม่น้ำโขงในพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เก็บตัวอย่างในฤดูกาลที่แตกต่างกัน คือฤดูหนาว (พฤศจิกายน 2564-กุมภาพันธ์ 2565) ฤดูร้อน (มีนาคม-มิถุนายน 2565) และฤดูฝน (กรกฎาคม-ตุลาคม 2565) โดยเก็บตัวอย่างจำนวน 9 สถานี ผลการศึกษาพบว่าความเร็วกระแสน้ำและปริมาณตะกอนหนักในฤดูฝนมีค่าสูงกว่าฤดูหนาวและฤดูร้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ความเร็วกระแสน้ำมีค่าอยู่ระหว่าง 0.61-0.89 m/s ปริมาณตะกอนหนักมีค่าอยู่ระหว่าง 0.14-0.29 mg/L อุณหภูมิน้ำในฤดูร้อนมีค่าสูงกว่าฤดูฝนและฤดูหนาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) อุณหภูมิน้ำมีค่าอยู่ระหว่าง 23.3-30.3 °C ปริมาณแอมโมเนียรวมและไนไตรท์-ไนโตรเจนในฤดูหนาวมีค่าสูงกว่าฤดูร้อนและฤดูฝนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ปริมาณแอมโมเนียรวมมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.08-0.59 mg/L และไนไตรท์-ไนโตรเจนมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.003-0.080 mg/L ปริมาณออร์โธฟอสเฟต-ฟอสฟอรัสในฤดูร้อนและฤดูฝนมีค่าสูงกว่าฤดูหนาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ออร์โธฟอสเฟตมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.001-0.160 mg/L ส่วนปัจจัยคุณภาพน้ำอื่นๆ ในแต่ละฤดูกาลไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p&gt;0.05) โดยปริมาณออกซิเจนละลายน้ำมีค่าระหว่าง 6.18-7.09 mg/L ค่าความเป็นกรด-ด่าง 8.25-8.53 ปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำ (TDS) 102.5-152.8 mg/L ค่าความเป็นด่าง 100.1-128.4 mg/L และไนเตรท-ไนโตรเจน 0.03-0.29 mg/L ทั้งนี้คุณภาพน้ำบริเวณพื้นที่เลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำโขงจังหวัดมุกดาหารตลอดระยะเวลาการศึกษามีความเหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตของปลา&nbsp; Water quality analysis was conducted in Nile tilapia cage culture areas in the Mekong River in Mueang and Don Tan districts of Mukdahan province. Samples were collected in different seasons: winter (November 2021-February 2022), summer (March-June 2022), and rainy season (July-October 2022). A total of nine monitoring stations were sampled. The result of the study showed that the flow rate and settleable solids concentration in the rainy season were significantly higher than those in the winter and summer seasons (p&lt;0.05). The flow rate ranged from 0.61-0.89 m/s, and the settleable solids ranged from 0.14 to 0.29 mg/L. Water temperatures in summer was statistically significantly higher than in the rainy and winter season (p&lt;0.05). Water temperatures ranged from 23.3-30.3 ºC. The concentrations of total ammonia nitrogen and nitrite-nitrogen in winter were significantly higher than in the summer and rainy seasons (p&lt;0.05). The average concentration of total ammonia nitrogen was between 0.08-0.59 mg/L and that of nitrite-nitrogen was between 0.003-0.080 mg/L. The amount of orthophosphate-phosphorus in the summer and rainy seasons was significantly higher than in winter (p&lt;0.05). Orthophosphate was average between 0.001-0.160 mg/L. Other water quality parameters did not show any statistically significant differences between the seasons (p&gt;0.05), with dissolved oxygen levels between 6.18-7.09 mg/L, pH 8.25-8.53, total dissolved solids (TDS) 102.5-152.8 mg/L, alkalinity 100.1-128.4 mg/L, and nitrate-nitrogen 0.03-0.29 mg/L. The water quality of the fish farming area in the Mekong River, Mukdahan province, throughout the study period was suitable for fish.</p> เจตนา โตทัยยะ, สุพันธ์ณี สุวรรณภักดี, ณัทธิยา ชำนาญค้า, นัยนา เสนาศรี , พัชราวลัย ศรียะศักดิ์ Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8857 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000 เทอร์พีนอยด์ที่แยกได้จากมะดูก https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8858 <p>มะดูก (Siphonodon celastrineus Griff.) เป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรไทยที่มีการใช้ในตำรับพื้นบ้านมาอย่างยาวนานในการรักษาอาการอักเสบ ฝี โรคผิวหนัง อาการปวดเมื่อยและเป็นอัมพาตและยังใช้เป็นยาบำรุงกระดูก นอกจากนั้นแล้วยังมีรายงานฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเต้านมของสารสกัดชั้นเอทานอลจากใบและลำต้น และฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียของสารสกัดชั้นเอทิลอะซิเตตจากลำต้นของมะดูกอีกด้วย จากการศึกษาสารองค์ประกอบทางเคมีพบว่า สารกลุ่มเทอร์พีนอยด์ (หรือเทอร์พีน) เป็นสารกลุ่มหลักที่แยกได้จากส่วนราก ลำต้นและผลของมะดูก ในบรรดาเทอร์พีนอยด์ที่แยกได้เหล่านี้พบว่าเทอร์พีนอยด์บางตัวมีฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งบางชนิด ในบทความวิชาการนี้ ได้รวบรวมสารกลุ่มเทอร์พีนอยด์ที่แยกได้จากส่วนต่าง ๆ ของมะดูกและฤทธิ์ทางชีวภาพของเทอร์พีนอยด์ที่แยกได้&nbsp; Siphonodon celastrineus Griff. is one of Thai medicinal plants that has long been used in traditional recipes for the treatments of inflammation, abscess, skin diseases, ache and paralysis, and to be used as bone tonic. Moreover, cytotoxicity against breast cancer cell lines of the ethanol extract from the leaves and stems, and antimalarial activity of the ethyl acetate extract from the stems of S. celastrineus have also been reported. From chemical constituent studies, terpenoids (or terpenes) are the main group of compounds isolated from the roots, stems and fruits of S. celastrineus. Among these isolated terpenoids, some of them showed cytotoxic activities against some cancer cell lines. In this review article, terpenoids isolated from different parts S. celastrineus and their biological activities have been summarized.</p> ศิริวรรณ ศรีสิทธิ์ , ประไพรัตน์ สีพลไกร Copyright (c) 2023 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/8858 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0000