การเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดชลบุรี

The Enhancements of Reinforce Communities in Chonburi Land Reform Zone

Authors

  • พีระพงษ์ สุดประเสริฐ

Keywords:

การพัฒนาชุมชน, ชลบุรี, การพัฒนาชนบท, องค์กรชุมชน, ชุมชน

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดชลบุรี ด้านวิวัฒนาการการตั้งถิ่นฐาน ลักษณะทางกายภาพ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองและวิเคราะห์แนวทางเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่ชุมชนตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง ซึ่งมีพื้นที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินทั้งตำบล เป็นกรณีศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการวิเคราะห์เอกสาร          ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนตำบลพลวงทองเป็นชุมชนเกิดใหม่ มีการตั้งถิ่นฐานถาวร ประมาณ พ.ศ. 2515 จากพื้นที่ซึ่งเคยเป็นป่าสมบูรณ์ ปัจจุบันประกอบด้วยหมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน มีพื้นที่ประมาณ 134,374 ไร่ เป็นชุมชนที่มีความงานตามธรรมชาติ และมีความสำคัญทางโบราณคดีที่มีการพิสูจน์แล้ว ประชาชนมีการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ในกลุ่มญาติ ส่วนใหญ่มีรายได้หลักจากการปลูกพืช และไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเนื่องจากเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน          แนวทางเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง คือ กระบวนการ 3 ส ดังนี้          ส 1 คือ สร้าง หมายถึง ร่วมกันสร้างกลุ่มชาวบ้านที่มีระบบจัดการแบบใหม่ ที่เรียกว่า กลุ่มการเรียนรู้ โดยมีปัจจัยเริ่มต้นอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ 1) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) ผู้นำชุมชน 3) องค์ความรู้ในการบริหารจัดการกลุ่ม          ส 2 คือ เสริม หมายถึง การเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่กลุ่มที่สร้างขึ้น ให้เป็นกลุ่มเข้มแข็งโดยเสริมการเรียนรู้ระดับบุคคล และระดับกลุ่มซึ่งเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน มีปัจจัยสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ 2 ประการ ได้แก่ 1) องค์กรภายนอก 2) กองทุนสนับสนุนการเรียนรู้          ส 3 คือ สืบสวน หมายถึง การสืบสานให้กลุ่มเข้มแข็ง โดยเชื่อมโยงเครือข่าย 2 ระดับ คือ 1) เชื่อมโยงภายในชุมชนระหว่างกลุ่มต่าง ๆ เพื่อเป็นชุมชนเข้มแข็ง 2) เชื่อมโยงกับชุมชนเข้มแข็งและองค์กรภายนอกชุมชน เพื่อให้ชุมชนรักษาสภาพชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนสืบต่อไป          The purpose of this qualitative research was to study the communities in Chonburi Land Reform Zone in terms of the settlement development, physical features, society, culture, economy and politics, and to formulate the approaches to reinforce communities by using Pluangtong Subdistrict Community, Botong District as the case study. The participant-observation, in-depth interview, and documents analysis were used for gathering the data.          The study revealed that Pluangtong Subdistrict was a newly established community, originated from the settlers in virgin forests. Today it consists of six villages in the area of 134,374 rai, which has natural beauty and archaeological significance. The people are united Loosely among relatives. Most of them earn their living by the cultivation and they have no right to own the land.          The enhancements to reinforce the community are the “Three L’s”          L1 – Learning group: From a group of villages, with a new management system, “a learning group” beginning with at least three factors: 1) an agent in charge of changing 2) a community leader 3) knowledge in group management.          L2 – Learning enchancement: Promote the learning opportunity, both for the individuals and for the group. Two factors enchancing the learning process were external organizations and learning supporting funds.          L3 – Link of networks: Reinforce the group by linking two levels of networks: 1) network between groups in the community 2) network between other reinforced communities and external organizations to maintain the sustainable reinforce community

Downloads

Published

2022-11-02