การพัฒนาโมเดลความนสัมพันธ์เชิงสาเหตุแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา

A Development of the Causal Relationship Model of Science Achievement Motivation of Mathayom Suksa Five Students in School

Authors

  • วิสิทธิ์ โรจนไพรวงศ์

Keywords:

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, การจูงใจ (จิตวิทยา), วิทยาศาสตร์, การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), จิตวิทยาการศึกษา

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ตามทฤษฎีความสนใจ แรงจูงใจและการเรียนของออลส์ทและคณะ (Aalst et al., 1985) ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร ได้แก่ ลักษณะของนักเรียน การเรียนการสอน สภาพแวดล้อมทางบ้าน ความสนใจทางวิทยาศาสตร์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางิวทนาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 12 ปีการศึกษา 2544 จำนวน 560 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดความสนใจทางวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความสนใจและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for WINDOWS ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม LISREL 8.50 ในการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ          ผลการวิจัยสรุปได้ว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 210.88; p = 0.95 มีองศาอิสระ 246 ค่า GFI เท่ากับ 0.97 ค่า AGFI เท่ากับ 0.96 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (F-SQUARE) เท่ากับ .80 แสดงว่า ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ได้ร้อยละ 80 ตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์สูงที่สุด อย่างมีนัยสำคัญ คือ ตัวแปรลักษณะของนักเรียน ตัวแปรความสนใจทางวิทยาศาสตร์ ตัวแปรการเรียนการสอน และตัวแปรสภาพแวดล้อมทางบ้าน ตามลำดับ          The purpose of this research was to develop the causal relationship of Science Achievement Motivation of Mathayom Suksa Five students in schools under jurisdiction of the Department of General Education, based on theory of Aalst et al. (1985) concerning the relationship of interest, motivation and learning. The model consists of five latent variables: student characteristics, student learning home environment, science interest and science achievement motivation. The sample was 560 Mathayom Suksa Five students in schools under jurisdiction of the Department of General Education in educational region 12. The research tools were Science Achievement Motivation Scale, Science Interest Scale and a questionnaire on personal data. Data were analyzed by descriptive statistical analyses through SPSS for WINDOWS and causal relationship model through LISREL 8.50.          The result indicated that the model was consistent with empirical with empirical data. Model validation of a good fitted model provide X2 test of goodness of fit = 210.88, p = 0.95, df = 246, GFI = 0.97, AGFI = 0.96, and CFI = 1.00 The variables in the model accounted for 80 percent of the variance of Science Achievement Motivation. The variables that had significant effects on science achievement motivation were student characteristics, science interest, student learning and home environment respectively.

Downloads

Published

2022-11-02