การวิเคระห์ประสิทธิภาพโมเดลลิสเรลตัวแปรที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

An Analysis of Effeciency of the Lisrel Models of the Variables Correlated with Longitudinal Change in Mathematics Achievement

Authors

  • ผ่องศรี น้อยปรีชา

Keywords:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, คณิตศาสตร์, การศึกษา, วิจัย

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลลิสเรลที่ศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และสร้างตัวบ่งชี้คะแนนพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 800 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบวัดการกำกับตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ข้อมูลสำหรับการวิจัยเป็นแบบวัดซ้ำ 4 ครั้ง การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานใช้โปรแกรม SPSS 10.0 for WINDOWS และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น ใช้โปรแกรม LISREL 8.50          ผลการวิจัยพบว่า โมเดลลิสเรลที่มีการวัดการเปลี่ยนแปลงในรูปโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาวที่วัดด้วยตัวบ่งชี้ 2 ตัว มีประสิทธิภาพสูงสุด รองลงมาคือ โมเดลลิสเรลที่มีการวัดการเปลี่ยนแปลงในรูปโมเดลพื้นฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาว และโมเดลลิสเรลที่มีการวัดการเปลี่ยนแปลงในรูปโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาวที่วัดด้วยตัวบ่งชี้ตัวเดียว ตามลำดับ สำหรับโมเดลการวัดการเปลี่ยนแปลงในรูปโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาวที่วัดด้วยตัวบ่งชี้ 2 ตัว มีประสิทธิภาพสูงสุด รองลงมาคือ โมเดลการวัดการเปลี่ยงแปลงในรูปโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาวที่วัดด้วยตัวบ่งชี้ตัวเดียว และโมเดลการวัดการเปลี่ยนแปลงในรูปโมเดลพื้นฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาว ตามลำดับ ตัวบ่งชี้คะแนนพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์มีค่าเท่ากับ .69 ซึ่งมีนัยสำคัญที่ระดับ .05          The purposes of this research were to compare the efficiency of the LISREL models correlated with longitudinal change in mathematics achievement and to construct the indicators of mathematics achievement growth score. The sample consisted of 800 Mathayom Suksa three students in schools under the jurisdiction of the Department of General Education in Chachoengsao Province. The research tools were Mathematics Achievement Test, Mathematics Self-Regulated Learning Test, Mathematics Self-Efficacy Test and Mathematics Attitude Test. The Longitudinal data were collected by repeated measures four times. The data were then analyzed by descriptive statistical analyses through SPSS 10.0 for Windows and linear structural equation model through LISREL 8.50.          The results indicated that the LISREL measurement model of change using longitudinal factor analysis with two indicators was the most efficient while the LISREL measurement model of change based on the basic longitudinal factor analysis and the LISREL measurement model of change using longitudinal factor analysis with single indicator were found of being lesser efficient respectively; the measurement model of change using longitudinal factor analysis with two indicators was the most efficient while the measurement model of change using longitudinal factor analysis with single indicator and the measurement model of change based on the basic longitudinal factor analysis were found of being lesser efficient respectively. The indicator of mathematics achievement growth score was found of being .69 which was significant at .05 level.

Published

2022-11-02