การพัฒนาแบบทดสอบความสอดคล้องในการมองโลกสำหรับวัยรุ่น

Development of A Sense of Coherence Test for Adolescents

Authors

  • สมพร สุทัศนีย์

Keywords:

จิตวิทยาวัยรุ่น, วิจัย, แบบทดสอบ

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบความสอดคล้องในการมองโลกของวัยรุ่นเป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับความสอดคล้องในการมองโลกของแอนโทนอฟกี้ รวมกับผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสอดคล้องในการมองโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาคุณภาพและเกณฑ์ปกติ เป็นนักเรียนอายุ 13-18 ปี ในจังหวัดชลบุรี กำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้น ปวช. 1-3 ปีการศึกษา 2544 จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัด (สปจ.) กรมสามัญศึกษา (สศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) กรมอาชีวศึกษา (อศ.) และสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย (ทบวง) จำนวน 3,375 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของจำนวนประชากร          ผลการวิจัยพบว่า          คุณภาพของแบบทดสอบความสอดคล้องในการมองโลก คือ ความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบได้ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถในการเข้าใจ ความอดทน ความสามารถในการปรับตัว การกล้าเผชิญ ความสามารถในการจัดการ และการให้คุณค่าและความหมาย มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบรายข้อตั้งแต่ 0.34 - 0.67 และจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างแบบทดสอบโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.51 ค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องระหว่างคะแนนรายข้อของแต่ละองค์ประกอบกับคะแนนรวมขององค์ประกอบตั้งแต่ 0.21 – 0.70 ค่าความเที่ยงซึ่งคำนวณโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา มีค่าเท่ากับ 0.82 มีเกณฑ์ปกติ 4 ชุด คือ เกณฑ์ปกติของวัยรุ่นชายอายุ 13-15 ปี และ 16-18 ปี เกณฑ์ปกติของวัยรุ่นหญิงอายุ 13-15 ปี และ 16-18 ปี          จากการทดสอบความแตกต่างของความสอดคล้องในการมองโลกด้วยการทดสอบค่าทีระหว่างเพศชายกับเพศหญิงที่ระดับนัยสำคัญ .05 ไม่พบความแตกต่าง คะแนนความสอดคล้องในการมองโลกของวัยรุ่น กลุ่มอายุ 16-18 ปี          The purpose of this research was to develop a new instrument, “The sense of Coherence Test”, and then to apply it to adolescents. The test was created by analyzing and synthesizing Antonovsky’ s concept of sense of coherence, and by drawing upon other relevant research studies. The subjects used in the present study were 3,375 students in Mathayomsuksa 1-6, vocational level 1-3. They were aged from 13 to 18 years in Chon Buri province, coming from secondary schools under the jurisdiction of the office of Provincial Primary Education, the Department of General Education, the office of the Private Education Commission, the Department of Vocational Education, and schools affiliating to the Ministry of University Affairs. The sample was drawn by proportionate random sampling, with data collected during the 2001 academic year.          An investigation of the test’s construct validity confirmed six factors: comprehensibility hardiness, adaptation, confrontation, manageability, and meaningfulness. Item – factor loadings were found to be in the range 0.34 to 0.67. The Pearson product – moment correlation between the test and Antonovsky’s measure was 0.51; the correlation between the item score of each factor and the global score of that factor varied from 0.21 to 0.70. The reliability of the whole test, as indexed by coefficient alpha, was found to be 0.82.          It was found that the difference in sense of coherence test scores between males and females was not statistically significant. The sense of coherence score of adolescents in the 16-18 age range was higher than that of the 13-15 year-olds. An analysis of variance followed by Tukey’s post-hoc procedure indicated that the adolescents’ sense of coherence score in schools under the jurisdiction of the office of provincial Primary Education was lower than scores from all other divisions. The sense of coherence scores in schools under the Department of General Education, the Department of Vocational Education, and those affiliating to Ministry of University Affairs were not statistically different, but these scores were higher than those from adolescents in schools under the jurisdiction of the office of Private Education Commission and the office of Provincial Primary Education.

Downloads

Published

2021-04-22