คุณลักษณะที่สำคัญของครูดีเด่น: คุณธรรมและความรู้
Essential Characteristics of Outstanding Teachers: Ethics and Efficacy
Keywords:
ครูดีเด่น, ครู, บุคลากรทางการศึกษAbstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ยืนยันคุณลักษณะที่สำคัญของครูดีเด่น โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง และใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากงานวิจัยของวิภาวี เวทวงค์ (2545) ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยของวิภาวี เวทวงค์ เรื่อง การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูดีเด่นสายงานการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยความคิดเห็นของบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ นักวิชาการศึกษาคณะกรรมการการประเมินให้รางวัลครูดีเด่นจาก 6 หน่วยงาน และครูที่ได้รับรางวัลครูดีเด่น จำนวนรวม 2,706 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับแรก เพื่อระบุจำนวนองค์ประกอบจากตัวแปรสังเกตได้ 75 ตัวแปร พบว่า คุณลักษณะของครูดีเด่น ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีน้ำหนักความสำคัญมากที่สุดคือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การศึกษาครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ซ้ำผลการวิจัยของวิภาวี เวทวงค์ ปรากฏว่า ได้ข้อค้นพบสนับสนุนผลการวิจัยของวิภาวี เวทวงค์ที่ระบุว่า คุณลักษณะของครูดีเด่นมี 8 องค์ประกอบ อย่างไรก็ตาม ผลการจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบ โดยใช้โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง และการกำหนดเงื่อนไขบังคับให้แต่ละองค์ประกอบวัดจากตัวแปรสังเกตได้ที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด 5 อันดับ แรกเท่ากันทุกองค์ประกอบ พบว่า สามารถจัดเรียงน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบคุณลักษณะครูดีเด่นตามลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดได้ดังนี้ คุณธรรมจริยธรรม ความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู ความเป็นประชาธิปไตย บุคลิกภาพที่เหมาะสม การพัฒนาตนและเพื่อนครู การจัดกระบวนการเรียนรู้ผลงานทางวิชาการ และมนุษยสัมพันธ์ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงว่า องค์ประกอบด้านคุณธรรมจริยธรรม มีแนวโน้มที่จะเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของครูดีเด่นมากกว่าองค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถ The purpose of this research was to identify the essential characteristics of outstanding teachers by applying second-order confirmatory factor analysis (CFA) methods to data originally analyzed by Watewong (2545). Watewong’s study of 2,706 educators, members of six outstanding teachers evaluation committees, and outstanding teachers holding an award from the committees, A Factor Analysis of the Characteristics of the Outstanding teachers in Teaching Basic Education, used exploratory and first-order confirmatory factor analysis procedures in an attempt to identify the factors underlying 75 observed teacher variables. Her results suggested eight factors; foremost among them was efficacy. The present study re-examined Watewong’s results. Results supported Watewong’s finding of eight factors. However, using a second-order CFA model, and constraining the factors so that each involved just five of the observed variables, the present study found the factors to be, in rank order: morals and ethics; love and faith in the teaching profession; favoring democracy; appropriate personality; self and collegial development; organizing the learning process; academic masterpieces; and human relationships. These results indicate that ethics tend to be more essential than efficacy among successful teachers.References
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาวี เวทวงค์. (2545). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูดีเด่นสายงานการสอนระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีวิจัยการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิภาวี เวทวงค์. (2546). (2546). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูดีเด่นสายงานการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 1(1), 105-123.
เสรี ชัดแช้ม. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2(1), 15-42.
DeVellis, B. (1991). Scale development. Newbury Park, CA: SAGE Publications, Inc.
Hershberger, S.L. (2003). The growth of structural equation modeling: 1994-2001. Structural Equation Modeling, 10(1), 35-46.
Kenny, D.A. & McCoach, D.B. (2003). Effect of the number of variables on measures of fit in Structural equation modeling. Structural Equation Modeling, 10(3), 333-351.
Mueller, R.O. (1996). Confirmatory factor analysis. In basic principles of structural equation modeling: An introduction to LISREL and EQS. (pp. 62-128). New York: Springer-Verlag.