การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความเชื่อเรื่องความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
A Confirmatory Factor Analysis of Epistemological Beliefs of Grade Nine Students
Keywords:
ความเชื่อ, นักเรียนมัธยมศึกษา, การวิเคราะห์ตัวประกอบ, ความสามารถทางการเรียน, การเรียนรู้Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความเชื่อเรื่องความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามแนวคิดความเชื่อเรื่องความรู้ของชอห์มเมอร์ (Schommer,1990) และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบความเชื่อเรื่องความรู้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2546 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก จำนวน 900 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความเชื่อเรื่องความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีวิเคราะห์ตัวประกอบหลัก และหมุนแกนองค์ประกอบด้วยวิธีแวร์ริแมกซ์ โดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลองค์ประกอบความเชื่อเรื่องความรู้ โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.50 ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า องค์ประกอบความเชื่อเรื่องความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 4 ด้าน เรียงลำดับตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ คือ ความสามารถในการเรียนรู้ โครงสร้างของความรู้ ความแน่นอนของความรู้ และความเร็วในการเรียนรู้ การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ปรากฏผลว่า X2 = 5.40, df = 38, p = 1.00, GFI = 1.00, AGFI = .99, CFI = 1.00, SRMR = 0.01, RMSEA = .00 แสดงว่า โมเดลความเชื่อเรื่องความรู้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี A model of the epistemological beliefs of grade nine students was developed and validated, based on the concepts of Schommer (1990). The sample consisted of 900 grade nine students in schools under the jurisdiction of the Commission for Basic Education in the Eastern Region, Thailand, academic year 2003. The research instrument was the epistemological beliefs scale. Data were analyzed by means of exploratory factor analysis with principal component extraction and varimax rotation using SPSS. The model was validated by using second order confirmatory factor analysis through LISREL version 8.50. The research results indicated that the epistemological beliefs of grade nine students consisted of four factors. In order of factor loading, they were: ability to learn, structure of knowledge, certainty of knowledge, and speed of learning. The validation of the model provided X2 = 5.40, df = 38, p = 1.00, GFI = 1.00, AGFI = .99, CFI = 1.00, SRMR = 0.01, RMSEA = 0.00.References
จรรจา สุวรรณทัต. (2540). ความเชื่อเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก. เอกสารการสอนชุดวิชาพัฒนาการเด็กและการเลี้ยงดู (หน้า 809-844). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยพร วิชชาวุธ. (2525). มูลสารจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดนัย ไชยโยธา. (2538). ลัทธิ ศาสนา และระบบความเชื่อกับประเพณีนิยมในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ : การวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอนามัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : พีระพัธนา.
เสรี ชัดแช้ม. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2(1), 15-42.
CorolAnne, M. K., & Roberta, J. S. (1996). Effects of preexisting beliefs, epistemological beliefs, and need for cognition on interpretation of controversial issues. The Journal of Educational Psychology, 88(2), 260-271.
Cole, R. P., et al. (2000). Epistemological beliefs of underprepared college students. Journal of College Reading and Learning, 31(1), 60-72.
Dweck, C. S., & Leggett, E. L. (1988). A social – cognitive approach to motivation and personality. Psychological Review, 95, 256-273.
Elder, A. D. (1999). An exploration of fifth-grade students’ epistemological beliefs in science and investigation of their relation to science learning. Dissertation Abstracts International, 60, 158.
Goosen, S. K. (2000). The belief tendencies of middle school teachers toward five dimensions of epistemological beliefs. Dissertation Abstracts International, 60, 124.