การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Participatory Action Research

Authors

  • สมโภชน์ อเนกสุข

Keywords:

วิจัยปฏิบัติการ, วิจัย

Abstract

          การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบของการวิจัยที่นักวิจัยมีความเกี่ยวข้องในฐานะเป็นผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมส่วนหนึ่งขององค์การและการเป็นนักวิจัย เป็นการนำแนวคิดและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการศึกษา โดยผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยช่วยกันแสวงหารูปแบบของการพัฒนา หรือหาวิธีการแก้ปัญหา มีการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนเอง ลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต การสะท้อนผลการปฏิบัติ และการปรับปรุงแผนเพื่อนำไปปฏิบัติในวงจรการปฏิบัติช่วงต่อไป จนกว่าจะได้รูปแบบของการปฏิบัติงานที่พึงพอใจ ซึ่งกระบวนการวิจัยต้องมีความยืดหยุ่นสูง มีความเป็นพลวัติ ไม่จำเป็นต้องเป็นการดำเนินงานเชิงเส้นตรง สามารถทำการวิจัยซ้ำ ๆ กันได้อีก โดยพิจารณาจากผลสะท้อนกลับ ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการพัฒนาแผนงานและกระบวนการวิจัยในลำดับต่อ ๆ ไป  Participatory action research was employed in this study in an effort to improve the quality of the participants’ organizations, community, and family lives. The researcher focused on a social and community orientation, with an emphasis on research which would contribute to societal emancipation or change. The research process consisted of planning, actions, observations, reflection, and revision. A deliberate attempt was made to explore the relationship between an individual and others, and to understand their practices, and their knowledge about working in teams, using flexible and dynamic processes. Results reflected the information critical to planning and process continuation.

References

ประพิณ วัฒนกิจ. บรรณาธิการ (2542). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ใน ระเบียบวิธีวิจัย : วิจัยสังคมศาสตร์. กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข.

พันธุ์ทิพย์ รามสูต. (ม.ป.ป.). การวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. นครปฐม : สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภูวดล ธนโชติธีรกุล. (2547) การลดปัญหานักเรียนติดยาเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎ์ 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

มานพ เชื้อบัณฑิต และ ดลใจ หล้าวงษ์. (2543). การพัฒนาระบบการพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข : กรณีศึกษา อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านสุขภาพ. 2, 98—04.

วัฒนา บันเทิงสุข. (2546). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้สมุนไพรในชุมชนบ้านชากตับเต่า จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Creswell, J. W. (2002). Educational research: Planning, conducting, and evaluating quantitative and Qualiative research. Upper Saddle River, New Jersey: Merrill Pretice Hall.

Fryer, D., & Feather, N.T. (1994) Intervention techniques. In C. Cassell. & G. Symon. (Eds.), Qualitative methods in organizational research: A practical guide. (p.230). London: SAGE Publications.

Gall, J. P., Gall, M. D., & Borg, W.R. (1999) Applying educational research: A practical guide. (4th ed.). New York NY: Addison Wesley Longman, Inc.

Ladkin, D. (2004) Action research. In Seale, C., Gobo, G., Gubrium, J. F., & Silverman, D., (Eds.) Qualitative research practice. London: SAGE Publications.

Merriam, S. B. (2002). Qualitative research in practice: Examples for discussion and analysis. San Francisco, CA: Jossey-Bass, A Wiley Company.

Downloads

Published

2021-09-22