การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน
Development of A Composite Indicator of Quality of Education for Private Vocational Schools
Keywords:
ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา, การศึกษา, ประกันคุณภาพการศึกษา, โรงเรียนอาชีวศึกษาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบคุณภาพการศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์กลุ่มตัวอย่างเป็นศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน และอาจารย์ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา 12 ปีการศึกษา 2545 จำนวน 900 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา วิเคราะห์องค์ประกอบขั้นต้นด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์ส่วนประกอบมุขสำคัญและหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีอีควอแมคซ์ โดยใช้โปรแกรม SPSS และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.50 ผลการวิจัยแสดงว่า ตัวบ่งชี้รวมคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 70 ตัวบ่งชี้ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.59 ถึง 0.91 จัดอันดับความสำคัญตามน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อยได้ดังนี้ การบริหารโรงเรียน ลักษณะและพฤติกรรมของครู การบริการและความสัมพันธ์กับชุมชน การเรียนการสอน สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และลักษณะผู้เรียน การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลองค์ประกอบคุณภาพการศึกษา ปรากฏว่า X2 = 1393.41, df = 1553, p = 1.00, GFI = 0.92, AGFI = 0.87, CFI = 1.00, SRMR = 0.04, RMSEA = 0.0 แสดงว่า โมเดลองค์ประกอบคุณภาพการศึกษามีความตรงเชิงโครงสร้าง องค์ประกอบทั้ง 6 มีความแปรผันร่วมกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ร้อยละ 83 74 66 54 53 และ 35 ตามลำดับ The objectives of this research were to develop a composite indicator of quality of education, to use the composite to form a model, and to confirm the model with empirical data. The sample consisted of 900 supervisors, administrators, and teachers from private vocational schools in the Educational Region 12, Thailand, academic year 2002. The research instrument was the quality of education questionnaire. Data were analyzed by means of an exploratory factor analysis with principal component extraction and equamax rotation, using SPSS. The model was validated by using second order confirmatory factor analysis through LISREL version 8.50. Results were as follows: the composite indicator of quality of education was comprised of six factors, 70 indicators; a model based on this composite fit the data acceptably well. Ranging from the highest loading to the lowest, the factors were: School Administration, Characteristic and Teacher Behavior, Service and Social Relationship, Instruction, School Environment, and Student Characteristic. LISREL goodness of fit measures for the model were X2 = 1,393.41, df = 1,553, p = 1.00, GFI = 0.92, AGFI = 0.87, CFI = 1.00, SRMR = 0.04, RMSEA = 0.00. The multiple R2 between each factor and the quality of education composite was 0.83, 0.74, 0.66, 0.54, 0.53 and 0.35 respectively.References
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2538). อาชีวศึกษา : ปรัชญา หลักการ และทฤษฎี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาครุศาสตร์ เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
กมลวรรณ ชัยวานิชศิริ. (2536). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
กรมอาชีวศึกษา. (2536). เกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จรวยพร ธรณินทร์. (2539). การประกันคุณภาพการศึกษา. วารสารการศึกษาเอกชน, 7(67), 19-20.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2530, กุมภาพันธ์ – มีนาคม). บทสังเคราะห์องค์กำหนดประสิทธิผลของโรงเรียน. ข่าววิจัยการศึกษา, 10(3), 12-17.
Arhworth, A., & Harvey, R. C. (1993). Assessing quality in further and higher education. Pennsylvania: Jessica Kingsley Publishers.
Borden, V.M.H., & Bottrill, K.V. (1994). Performance indicators: history, definitions, and Methods. In V.M.H.Borden & T.W. Banta (Eds.), Using performance indicators to guide strategic decision making. San Francisco : Jossey – Bass Publishers.
Gray, J. (1993). The quality of schooling: Frameworks for judgment. In M. Preedy (Ed.), Managing the effective school. London: The Open University.
Hargeaves, D., & Hopkins, D. (1993). School effectiveness, school improvement and Development planning In M. Preedy (Ed.), Managing the effective school (p.230). London: Pay Chapman Publishing Ltd.
Kimbrough, R. B., & Nunnery, M.Y. (1988). Educational administration: An introduction (3th ed). New York: Macmillan.