การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Development of a Causal Relationship Model of Emotional Intelligence for Lower Secondary School Students

Authors

  • สวนีย์ วีระพันธุ์

Keywords:

วามฉลาดทางอารมณ์, นักเรียนมัธยมศึกษา

Abstract

          การวิจัยครั้งมีมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก ปีการศึกษา 2545 จำนวน 1,000 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดู แบบสอบถามรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัว แบบวัดบุคลิกภาพ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมแบบสอบถามปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม LISREL 8.50 ในการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ  ผลการวิจัยแสดงว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์เท่ากับ 1.08 ค่า ที่องศาอิสระเท่ากับ 11 ค่า p เท่ากับ 1.00 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.00 ดัชนี AGFI เท่ากับ 1.00 ดัชนี CFI เท่ากับ 1.0 ค่า SRMR เท่ากับ .002 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.00 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความฉลาดทางอารมณ์ได้ร้อยละ 94 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความฉลาดทางอารมณ์อย่างนัยสำคัญทางสถิติ คือ บุคลิกภาพของนักเรียน การสนับสนุนทางสังคม การสื่อสารภายในครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดู ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความฉลาดทางอารมณ์โดยผ่านตัวแปรบุคลิกภาพ ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และเพศ  Research objectives were to develop and validate a causal relationship model of emotional Intelligence for lower secondary school students. The sample consisted of 1,000 lower secondary school students under the jurisdiction of the Office of Basic Education Commission in the Eastern Region, Thailand, academic year 2002. Research instruments included the Students Personal Information Questionnaire, the Child Rearing Practices Questionnaire, the Family Communication Questionnaire, the Personality Scale, the Social Support Questionnaire, the Interaction between Teacher and Student Questionnaire, and the Emotional Intelligence Scale. Data were analyzed by descriptive statistical analysis through SPSS, and the causal relationship model was validated with LISREL 8.50.  Results indicated that the adjusted model was consistent with empirical data. Model validation measures were found to be: chi-square = 1.08, df = 11, p = 1.00, GFI = 1.00, AGFI = 0.98, CFI = 1.00, SRMR = 0.002, and RMSEA = 0.00. The variables in the model accounted for 94 percent of the variance of Emotional Intelligence. Variables with a statistically significant direct effect on Emotional Intelligence were student personality, social support, family communication, and child rearing practices. Variables having a statistically significant indirect effect on Emotional Intelligence were interaction between teacher and student, and sex.

References

ฉัตรฤดี สุกปลั่ง. (2543). ผลของบุคลิกภาพและเชาวน์อารมณ์ที่มีต่อคุณภาพของการให้บริการตามการรับรู้ของหัวหน้าของพนักงานส่วนหน้าของโรงแรมชั้นหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชนมน สุขวงศ์. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างการเลี้ยงดูกับความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่นตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2526). จริยธรรมเยาวชนไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ทัศนีย์ ดวงดี. (2544). ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน โรงเรียนสาธิต สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Bekendam, C. C. (1997). Dimensions of emotional intelligence: Attachment, affect regulation, Alexithymia and empathy. Dissertation Abstracts International.

Erickson, E. H. (1997). Childhood and society. New York: Norton.

Eysenck, H. J. (1994). Personality and intelligence: Psychometric and experimental Approaches. Personality and Intelligence. Cambridge University Press.

Gibbs, N. (1995, October). The EQ Factor. Time, 9, 24-31.

Goleman, D. (1995). Emotional Intelligence. New York: Bantam Books.

Downloads

Published

2021-09-22