การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน

Development of A Causal Relationshp Model of Job Burnout for Non-Commissioned Police Officers

Authors

  • พิชญา ทองอยู่เย็น

Keywords:

ข้าราชการตำรวจ, ตำรวจ, ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา), ความเครียดในการทำงาน, ความล้า

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน โดยใช้ทฤษฎีความเหนื่อยหน่ายของมาสแลค (Maslach, 1986) เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาโมเดลดังกล่าว ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ 29 ตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง เป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสังกัดตำรวจภูธรภาค 2 ปี พ.ศ. 2546 จำนวน 500 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบวัด จำนวน 7 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติพื้นฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และใช้โปรแกรม LISREL 8.50 ในการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ  ผลการวิจัยแสดงว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่ปรับเป็นโมเดลทางเลือก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 13.43 ที่องศาอิสระ เท่ากับ 22 ค่า p เท่ากับ 0.92 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.00 ดัชนี AGFI เท่ากับ 0.98 ดัชนี CFI เท่ากับ 1.00 ค่า SRMR เท่ากับ 0.02 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.00 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติหน้าที่ได้ร้อยละ  76 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเครียดในการปฏิบัติหน้า สายงาน และประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความขัดแย้งในบทบาทของตน สัมพันธภาพในหน่วยงาน ภาระงาน และอายุ  This research was undertaken to develop and validate a causal relationship model of job burnout for non-commissioned police officers, based on the theory of Maslach (1986). The model consisted of five latent variables and twenty-nine observed variables. The sample, derived by means of multi-stage random sampling, consisted of 500 non-commissioned police officers under the Provincial Police Region II, Thailand, 2003. The research instruments included seven sets of questionnaires and objective forms. Data were analyzed by using SPSS to obtain descriptive statistics, and by employing LISREL 8.50 for model validation.  It was found that the adjusted model was consistent with empirical data. Goodness of fit measures were found to be: chi-square = 13.4, df = 22, p = 0.92, GFI = 1.00, AGFI = 0.98, CFI = 1.00, SRME = 0.02 and RMSEA = 0.00. The variables in the model accounted for 76 percent of the variance in job burnout. Variables with a statistically significant direct effect on job burnout were job stress, work line, and work experience. Variables with a statistically significant indirect effect on job burnout were role conflict, personal interrelationship in the work place, workload, and age.

References

ทักษิณ ชินวัตร, พ.ต.ท. (2546). องค์ความรู้ ต้องคู่คุณธรรม. ใน พงศพัศ พงษ์เจริญ, พล.ต.ต. (บรรณาธิการ), คิดใหม่ ทำใหม่ ตำรวจไทยยุคทักษิณ (47-57). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984).

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร, สังศิต พิริยะรังสรรค์, และนวลน้อย ตรีรัตน์. (2543). หวย ซ่อง บ่อน ยาบ้า : เศรษฐกิจนอกกฎหมายกับนโยบายสาธารณะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

สันต์ ศรุตานนท์, พล.ต.อ. (2545). บทนำ. โล่เงิน, 16(190), 5.

สุธีรา พลรักษ์. (2540). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายในการทำวิจัยของนิสิตบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cherniss, C. (1980). Professional burnout in human service organizations. New York: Praeger Publishers.

Duxbury, M. L., Amstrong, G. D., Drew, D. J., & Henly, S. L. (1984). Head nurse leadership style with staff nurse burnout and job satisfaction in neonatal intensive care units. Nursing Research, 33, 27-31.

French, J. S., Cobb S., & Rodgers, W. (1982, Winter). Coping with job stress. ISR Newsletter. 12- 22.

Gibson, J. L., Ivencevich, J. M., & Donnelly, J. (1982). Organization behavior: Structure, process (4th ed.). Plano, Texas: Business Publication.

Lazarus, R. S. (1966). Psychological stress and the coping process. New York: McGraw-Hill.

Downloads

Published

2021-09-22