การพัฒนารูปแบบการประเมินภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน

Development of an Internal Evaluation Model for Use in Private Vocational Schools

Authors

  • ทิวารักษ์ เสรีภาพ

Keywords:

โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน, การประเมิน, ประกันคุณภาพการศึกษา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการประเมินภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน การดำเนิน การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน นำมาร่างรูปแบบการประเมิน 2) การสร้างรูปแบบการประเมินด้วยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน และสร้างคู่มือการประเมิน ด้วยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน 3) การทดลองใช้รูปแบบการประเมินที่โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ ผู้ร่วมทดลองใช้รูปแบบ ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 14 คน ครูอาจารย์ 163 คน และนักเรียน 1,380 คน 4) การประเมินรูปแบบโดยผู้ที่เคยทดลองใช้รูปแบบ ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 14 คน และครูอาจารย์ 163 คน การประเมินรูปแบบใช้ผลการประชุมและแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการประเมินในด้านการใช้ประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง รวมทั้งข้อเสนอแนะในการใช้รูปแบบการประเมินวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า  1. รูปแบบการประเมินภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ประกอบด้วย โครงสร้างที่สัมพันธ์กัน 4 องค์ประกอบ คือ 1) เป้าหมายของการประเมินเพื่อให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน 2) สิ่งที่มุ่งประเมิน ได้แก่ การบริหารจัดการ การเรียนรู้ การสนับสนุนการเรียนรู้ กิจการนักเรียน / นักศึกษา และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผู้จบการศึกษา และการวิจัยและงานสร้างสรรค์ 3) ตัวบ่งชี้การประเมิน ได้จากสิ่งที่มุ่งประเมิน 7 มาตรฐาน จำแนกเป็นตัวบ่งชี้ย่อย จำนวน 76 ตัว เกณฑ์การตัดสินผลการประเมิน มี 3 ระดับ คือ ดีมาก ดี และควรปรับปรุง 4) วิธีการประเมิน ประกอบด้วย ผู้เกี่ยวข้องกับการประเมิน ระยะเวลาการประเมิน และกิจกรรมการประเมิน  2. รูปแบบการประเมินภายในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ทั้ง 4 องค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้ตามเกณฑ์คุณภาพงานประเมิน ทั้งด้านการใช้ประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องในระดับมาก นอกจากนี้ยังมีความเหมาะสม และสอดคล้องกับกฎระเบียบของโรงเรียนในระดับมากที่สุด  The purpose of this research was to develop an evaluation model for internal use in private vocational schools. The research involved four steps: (1) Analysis and synthesis of current models of evaluation, current theory, present private vocational school evaluation documents, relevant research studies, and interviews with five experts. (2) Creation of an internal evaluation model, assessed by seventeen experts, and creation of a manual of internal evaluation procedures, assessed by five experts. (3) Implementation of the internal evaluation model at a private vocation school in Nakhon Sawan, involving fourteen administrators, 163 instructors, and 1,380 students. (4) Assessment of the Nakhon Sawan implementation.  From the assessment of the internal evaluation model, it was found that it was feasible to implement the model in real world situations. The model was determined to be correct, appropriate, and to correspond to the evaluation policy of private vocational schools. It was concluded that the model was likely to be highly useful.

References

เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2540). การวิเคราะห์ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่ง แก้วแดง. (2544). ประกันคุณภาพการศึกษา ทุกคนทำได้ไม่ยาก. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.

ศิริชัย กาญจนวสี. (2545). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินผลภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : เจริญผล.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2542). รายงานผลการดำเนินงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ปีงบประมาณ 2542. กรุงเทพฯ : กองนโยบายและแผน.

สำราญ มีแจ้ง. (2544). การประเมินโครงการทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ฟ.

สำราญ มีแจ้ง. (2540). การประเมินตนเอง. วารสารคณะศึกษาศาสตร์, 2(1) : พฤษภาคม-สิงหาคม 25-31.

Scriven, M. (1997). Empowerment Evaluation Examined. In Evaluation Practice, 18(2), 165-175.

Stufflebeam, D.L. (1994). Empowerment Evaluation, Objectivist Evaluation, and Evaluation Standards: Where the Future of Evaluation Should Not Go and Where It Need to Go. In Evaluation Practice, 15(3), 321-338.

Downloads

Published

2021-09-22