การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสำเร็จในการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
Development of A Causal Model of Success in Rural and Urban Community Funding Mamagement
Keywords:
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง, ประสิทธิผลองค์การAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสำเร็จในการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของจังหวัดในเขตภาคเหนือ โดยใช้วิธีการผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพกับวิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบเชิงสมมติฐานความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสำเร็จในการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพื่อเป็นรูปแบบเชิงสมมติฐานเบื้องต้น ขั้นตอนที่ 2 การปรับรูปแบบเชิงสมมติฐานความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสำเร็จในการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ : ศึกษาพหุกรณี วิเคราะห์ด้วยการสรุปอุปนัยเพื่อตรวจสอบและขยายรูปแบบ ทำให้ได้รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสำเร็จในการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ปรับแล้ว และขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตจังหวัดภาคเหนือ ปี พ.ศ. 2546 จำนวน 1,450 กองทุน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสำเร็จในการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรผลสำเร็จในการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้ร้อยละ 75 The purpose of this research was to develop a causal model of success in rural and urban funding management in the northern provinces of Thailand. The study used a mixed approach of qualitative and quantitative research methods. There were several steps to the study: firstly, building a hypothetical causal model for rural and urban community funding management from related texts and theories; secondly, adapting the hypothetical model through qualitative, multi-cased research. The validation and extension of the model through induction resulted in the modified causal model of success in rural and urban community funding management. The final step applied quantitative methods in order to develop and examine goodness of fit measures for the model. The sample consisted of 1,450 rural and urban funding programs in the northern provinces, 2003. Data were collected with questionnaires. Results indicated that the causal model developed provided a good fit to the empirical data, accounting for 75% of the observed variance among the funding programs.References
ถวิล ตรีวรปรัชญ์. (2544). การพัฒนาศักยภาพการบริหารขององค์การชุมชนโดยวิธีการประชุมระดมความคิด เพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน (F.S.C.) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน : กรณีศึกษากิ่งอำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นพพร นิลณรงค์. (2535). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน : ศึกษากรณีบ้านไม้ตะเคียน ตำบลตะเคียนปม กิ่งอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัตนะ บัวสนธ์. (2541). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. พิษณุโลก : ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พงษ์สันต์ คุ้มสอาด. (2542). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการของผู้นำองค์การการเงินชุมชน. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและนโยบาย สวัสดิการสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วนิดา ลิ้มจิตสมบูรณ์. (2536). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในกาปฏิบัติงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน :กรณีศึกษาหมู่บ้านสามทองและหมู่บ้านตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิเคราะห์ทางสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2539). ระบบงานธุรการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : ดีไลท์
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation’s place in rural development: Seeking Clarity through specificity. World Development, 8(3).
Filppo, E. B. (1973). Principle of personnel administration. New York: Mc Graw-Hill.
Rebert T., & Warren, H. S. (1958). How to choose a leadership pattern. Harvard Business Review, March-April.
Victoe, H. V., & Philip W. Y. (1973). Leadership and decision making. Pittsburgh: University of Pittsburgh Press.