การรับรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของนิสตินักศึกษาสามสาขาวิชา

The computer self- efficacy of students in three fields of study

Authors

  • เสรี ชัดแช้ม
  • คอยจิตร์ นครราช

Keywords:

ความสามารถทางวิทยาศาสตร์, คอมพิวเตอร์, นักศึกษา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการรับรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของนิสิตนักศึกษาตามแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนด้านคอมพิวเตอร์ของทอร์ซาเดท์ คอฟเทอร์รอส และฟลูโกฟท์ (Torkzadeh, Koufteros, & Pflughoeft, 2003) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำแนกโมเดลตามสาขาวิชาเป็น 3 โมเดล ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยของรัฐ ปีการศึกษา 2547 จำนวน 800 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามเรื่องการรับรู้ความสามารถของตนด้านคอมพิวเตอร์ของนิสิตนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นใช้โปรแกรม SPSS ส่วนความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการรับรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของนิสิตนักศึกษาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.50   ผลการวิจัยปรากฏว่า  1. การรับรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของนิสิตนักศึกษาทั้งสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบเหมือนกัน ได้แก่ ทักษะเบื้องต้น ทักษะด้านแฟ้มข้อมูลและซอฟต์แวร์ ทักษะขั้นสูง และ ทักษะด้านอินเทอร์เน็ต  2. ความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการรับรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของนิสิตนักศึกษาทั้ง 3 สาขาวิชา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าไค-สแควร์มีตั้งแต่ 26.33 ถึง 53.99 ค่า p(s) เท่ากับ 1.00 ดัชนี AGFI มีค่าตั้งแต่ .95 ถึง .96 ดัชนี CFIs เท่ากับ 1.00 ค่า SRMR มีตั้งแต่ .02 ถึง .03 และค่า RMSEAs เท่ากับ .00  3. โครงสร้างองค์ประกอบของโมเดลการรับรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของนิสิตนักศึกษาทุกสาขาวิชาไม่แตกต่างกัน แต่ค่าน้ำหนักองค์ประกอบแตกต่างกัน        The purpose of this research was to compare the construct validity of models of student compute self-efficacy, based on the concepts of Torkzadeh, Koufteros, & Pflughoeft (2003), and related literature. Three models, classified by fields of study, were involved, namely:  science and technology, health science, and humanities and social sciences. The samples involved 800 freshmen from public universities in Thailand, who sat a computer self-efficacy questionnaire during the 2004 academic year. Descriptive statistics were derived by using SPSS, while the second-order confirmatory factor analysis for construct validity were conducted by applying LISREL 8.50.  The results were as follows:  1. The computer self-efficacy of students in all three fields of study was found to consist of four factors: beginning skills, file and software skills, advanced skills, advanced skills, and Internet skills.  2. The construct validity of all models was consistent with empirical data, with chi-square goodness of fit tests ranging from 26.33 to 53.99, p(s) at 1.00, AGFI from .95 to .96, CFIs at 1.00, SRMR from .02 to .03, and RMSEAs at .00.  3. While the factor structure was the same across the fields of study, factor loadings were significantly different.

Downloads

Published

2021-04-30