การสร้างแบบวัดความสามารถทางการคิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
The construction of a thinking abilities test for lower secondary school students
Keywords:
ความคิดและการคิด, การทดสอบความสามารถ, การวัดผลทางการศึกษา, นักเรียนมัธยมศึกษาAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดความสามารถทางการคิดตามทฤษฎีปัญญาแห่งความสำเร็จของสเติร์นเบิร์กสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ด้าน ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดเชิงปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก ปีการศึกษา 2547 จำนวน 1,300 คน วิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้นโดยใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ค่าสถิติของข้อสอบและค่าความเที่ยงของแบบวัดโดยใช้โปรแกรม Lertap 5 และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.50 ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ข้อสอบในแบบวัดความสามารถทางการคิดมีความตรงเชิงเนื้อหาทุกข้อ มีดัชนีความยากของข้อสอบตั้งแต่ .21 ถึง .79 มีดัชนีอำนาจจำแนกของข้อสอบตั้งแต่ .23 ถึง .38 และค่าความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ .81 2. แบบวัดความสามารถทางการคิดมีความตรงเชิงโครงสร้างอยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 131.55 ที่องศาอิสระเท่ากับ 283 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1.00 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .99 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .99 และดัชนีวัดความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 3. ปกติวิสัยแบบเปอร์เซนไทล์ของแบบวัดความสามารถทางการคิดจำแนกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ผู้มีความสามารถทางการคิดระดับสูง มีตำแหน่งเปอร์เซนไทล์สูงกว่า 77.00 ขึ้นไป ผู้มีความสามารถทางการคิดระดับปานกลาง มีตำแหน่งเปอร์เซนไทล์ที่ 23.01 ถึง 77.00 และผู้มีความสามารถทางการคิดระดับต่ำ มีตำแหน่งเปอร์เซนไทล์ต่ำกว่า 23.01 ลงมา The objective of this research was to construct a Thinking Abilities Test for lower secondary school students based on Sternberg’s triarchic Theory of Successful Intelligence, encompassing analytical, creative, and practical abilities. The sample involved 1,300 students in Nakhon Nayok Education Service Area Office, academic year 2004. Descriptive statistics were obtained by using SPSS; item analysis and test reliability were determined by using Lertap 5; and LISREL 8.50 was employed for the second order confirmatory factor analysis. The major findings were: 1. The Thinking Abilities Test items were judged to have content validity. Item difficulties ranged from .21 to .79, while item discriminations were in the range .23 to .38. The reliability of the Thinking Abilities Test was found to be .81. 2. The construct validity of the Thinking Abilities Test was found by aligning with a criterion measure, with chi-square goodness of fit test at 131.55, df = 283, p = 1.00, GFI = .99, AGFI = .99, and CFI = 1.00. 3. The Percentile norms of the Thinking Abilities Test were divided into three levels: percentile rank higher than 77.00 indicating a high level of thinking abilities; percentile rank from 23.01 to 77.00 indicating a normal level of thinking abilities; and percentile rank less than 23.01 indicating a low level of thinking abilities.Downloads
Published
2021-04-30
Issue
Section
Articles