ความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษามหาวิทยาลัย

Academic dishonesty among university students

Authors

  • สุชาดา กรเพชรปาณี

Keywords:

ความซื่อสัตย์, การทุจริต (การศึกษา), นักศึกษา

Abstract

ความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษามีความสัมพันธ์โดยตรงกับคุณธรรมของบัณฑิต การที่นักศึกษาทุจริตในการสอบแสดงถึงปัญหาของมหาวิทยาลัยในเรื่องคุณภาพของการวัดผลการศึกษา ทำให้การประเมินความสามารถของนักศึกษาไม่ตรงตามสภาพที่แท้จริง นักศึกษาที่ทุจริตในการสอบอาจมีความสามารถต่ำกว่ามาตรฐาน เมื่อสำเร็จการศึกษาออกไปสู่สังคมแล้วไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการที่นักศึกษาเคยกระทำในมหาวิทยาลัย โดยการสำรวจนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง จำนวน 583 คน จาก 6 สาขาวิชา ให้นักศึกษารายงานตนเองว่าเคยหรือไม่เคยกระทำพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการ ได้แก่ การทุจริตในการสอบ การลอกแบบฝึกหัด ความไม่ซื่อสัตย์ในการทำรายงาน และการสร้างข้อมูลเท็จ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณ    ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่านักศึกษาประมาณร้อยละ 97 รายงานว่าตนเคยกระทำพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการ ส่วนใหญ่เป็นการลอกแบบฝึกหัด รองลงไปเป็นการทุจริตในการสอบ การเปลี่ยนแปลงข้อมูล และไม่ซื่อสัตย์ในการทำรายงาน นักศึกษาชายมีแนวโน้มที่จะยอมรับและกระทำความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการมากกว่านักศึกษาหญิง ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการ ความตั้งใจกระทำความไม่ซื่อสัตย์ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม และการคล้อยตามกลุ่มเพื่อน สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรม ไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการได้ ร้อยละ 13 การวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรกำหนดประมวลจริยธรรมทางวิชาการ เพื่อควบคุมพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษา และนักวัดผลการศึกษาน่าจะศึกษาวิธีการวัดความคลาดเคลื่อนจากการทุจริต เพื่อทำให้คะแนนจากการวัดถูกต้องยิ่งขึ้น        Academic dishonesty among students is directly related to the integrity of graduates. Cheating by students exacerbates the university’s problems regarding the quality of educational measurement; student ability cannot be accurately evaluated. Students who cheat probably have less competence, and are unable to work at a professional standard level after graduating. The purpose of this research, then, was to study the characteristics of dishonesty behavior used by students at the university level. The sample consisted of 583 students from six disciplines studying at a state university. The students themselves reported whether they engaged in any of four types of academic dishonesty: cheating at a test, copying others' assignments or homework, reproducing or cheating in doing reports, and fabrication or making up data.   The results indicated that 97 percent of students reported dishonest behavior. Most of them revealed they copied others’ assignments, cheated at a test, made up data, and cheated when doing reports, respectively. Male students are likely to accept and conduct dishonesty more than female students. Grade point average (GPA) was positively correlated to academic dishonesty behavior. Intension, GPA, and following peer group accounted for 13 percent of the total variance of academic dishonesty. It is suggested that university administrators ought to propose honor codes to control the unethical behavior of students. Those who are in the field of measurement should think about how to determine the assessment error introduced by cheating, cheating error, in order to derive more accurate scores from the measurement process.

Downloads

Published

2021-04-30