โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความคิดรวบยอดของการเรียนรู้กับวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6
A causal relationship model between conceptions of learning and approaches to learning for grade 12 students
Keywords:
ความคิดรวบยอด, ทักษะทางการคิด, การเรียนรู้, นักเรียนมัธยมศึกษาAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความคิดรวบยอดของการเรียนรู้กับวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดของบิกส์และมัวร์ (Biggs & Moore, 1993) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2547 จำนวน 450 คน โมเดลประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัว ได้แก่ ความคิดรวบยอดของการเรียนรู้เชิงปริมาณ ความคิดรวบยอดของการเรียนรู้เชิงคุณภาพ และวิธีการเรียนรู้ 2 วิธี คือ วิธีการเรียนรู้แบบผิวเผิน และวิธีการเรียนรู้แบบลึก เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสำรวจความคิดรวบยอดของการเรียนรู้ และแบบสอบถามวิธีการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS คำนวณค่าสถิติพื้นฐานและใช้โปรแกรม LISREL 8.50 ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยปรากฏว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความคิดรวบยอดของการเรียนรู้กับวิธีการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์เท่ากับ 1.01 ที่องศาอิสระเท่ากับ 9 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1.00 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.00 ดัชนี AGFI เท่ากับ 1.00 ดัชนี CFI เท่ากับ 1.00 ค่า SRMR เท่ากับ .00 และ ค่า RMSEA เท่ากับ .00 ความคิดรวบยอดของการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อวิธีการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญ โดยความคิดรวบยอดของการเรียนรู้เชิงปริมาณมีอิทธิพลทางตรงต่อวิธีการเรียนรู้แบบผิวเผิน แสดงว่านักเรียนที่มีความคิดรวบยอดของการเรียนรู้เชิงปริมาณจะใช้วิธีการเรียนรู้แบบผิวเผิน และความคิดรวบยอดของการเรียนรู้เชิงคุณภาพมีอิทธิพลทางตรงต่อวิธีการเรียนรู้แบบลึก แสดงว่านักเรียนที่มีความคิดรวบยอดของการเรียนรู้เชิงคุณภาพจะใช้วิธีการเรียนรู้แบบลึก นักเรียนมีแนวโน้มจะใช้วิธีการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งจะไม่ค่อยใช้วิธีการเรียนรู้ทั้งสองแบบในการเรียนรู้ The purpose of this research was to develop and validate a causal relationship model between conceptions of learning and approaches to learning, based on the concepts of Biggs & Moore (1993). The sample consisted of 450 Grade 12 Students in schools under the jurisdiction of the Office of Basic Education commission, academic year 2004. The model consisted of four latent variables: quantitative conception of learning, qualitative conception of learning, and two approaches to learning: surface and deep. Research instruments included the Approaches to Learning Questionnaire, and the Conceptions of Learning Inventory. SPSS was employed for descriptive statistics; LISREL 8.50 was used to analyze the causal relationship model. Results indicated that the model was consistent with empirical data. Goodness of fit indicators included a chi-square value of 1.01 with degrees of freedom; p = 1.00; GFI = 1.00; AGFI = 1.00; CFI = 1.00; SRMR = .00, and RMSEA = .00. The influence of conceptions of learning on approaches to learning was statistically significant. Students with a quantitative conception of learning used a surface learning approach, while students with a qualitative conception of learning used a deep learning approach. Students were found to use only approach to learning, surface of deep, but not both.Downloads
Published
2021-04-30
Issue
Section
Articles