ความแตกต่างทางเพศในปัญญาเชิงปฏิบัติระหว่างนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 กับช่วงชั้นที่ 4
Gender Differences in Practical Intelligence Among Lower and Upper Secondary School Student
Keywords:
การศึกษา, จิตวิทยาการศึกษา, ทักษะการเรียน, เพศAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบสอบถามทักษะปัญญาเชิงปฏิบัติโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง และวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุของปัญญาเชิงปฏิบัติทั้ง 5 ด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาจำแนกตามเพศและระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1,200 คน ตัวแปรอิสระ ได้แก่ เพศและระดับการศึกษา ตัวแปรตามเป็นปัญญาเชิงปฏิบัติ 5 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านการบ้านการเรือน ทักษะด้านการใช้อุปกรณ์และการซ่อมแซม ทักษะด้านนันทนาการหรือกีฬา ทักษะด้านงานอดิเรกหรือศิลปะ และทักษะด้านการสื่อสาร วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรม LISREL และวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุแบบสองทางระหว่างเพศกับระดับการศึกษา โดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยปรากฏว่า ปัญญาเชิงปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาประกอบด้วยทักษะ 5 ด้าน ตามโมเดลข้างต้น ตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวและองค์ประกอบทั้ง 5 ของแบบสอบถามมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โมเดลองค์ประกอบสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 1123.30 ความน่าจะเป็นเท่ากับ .97 ที่องศาอิสระเท่ากับ 1213 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 1.00 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.99 และดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุชี้ให้เห็นว่า นักเรียนชายและหญิงในช่วงชั้นที่ 3 กับที่ 4 มีทักษะด้านการใช้อุปกรณ์และการซ่อมแซมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนชายในช่วงชั้นที่ 4 มีปัญญาเชิงปฏิบัติในทักษะด้านการใช้อุปกรณ์และการซ่อมแซมสูงที่สุด นักเรียนชายในช่วงชั้นที่ 3 เป็นอันดับสอง นักเรียนหญิงในช่วงชั้นที่ 4 เป็นอันดับสามและนักเรียนหญิงในช่วงชั้นที่ 3 ต่ำที่สุด ส่วนทักษะด้านการบ้านการเรือน ทักษะด้านนันทนาการหรือกีฬา ทักษะด้านงานอดิเรกหรือศิลปะ และทักษะด้านการสื่อสาร นักเรียนชายและหญิงในช่วงชั้น 3 กับที่ 4 มีไม่แตกต่างกัน The objectives of this research were to undertake a second-order confirmatory factor analysis of the Practical Intelligence self-evaluation questionnaire, and to analyze the variance of five skills of Practical Intelligence by the gender of lower and upper secondary school students, using multivariate analysis of variance methods. The samples consisted of 1,200 lower and upper secondary school students in Bangkok Educational Service Area Office, academic year 2007. The independent variables were gender and school level; dependent variables were five skills of Practical Intelligence: household skills, use of technical equipment and repair skills, active recreation or sports skills, hobbies or artistic skills, and communication skills. LISREL was used to analyze the second-order confirmatory factor analysis. The Two-way, gender by level, multivariate analysis of variance was completed with SPSS. The results were as follows: The Practical intelligence of secondary school students included the five skills mentioned. All observed variables, and five factors of the questionnaire, were found to be significant at the .05 level, with the chi-square goodness of fit test at 1123.30, p = .97, df = 1213, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, and CFI = 1.00. In regard to the multivariate analysis of variance, gender differences were uncovered at lower and upper secondary levels, with statistical significance in terms of use of technical equipment and repair skills at the .05 level. Boy at the upper secondary level had the highest outcome on use of technical equipment and repair skills. Boys at lower secondary were rated second highest; upper secondary girls were third; lower secondary girls were lowest. No gender of level differences were found regarding household skills, active recreation of sports skills, hobbies of artistic skills, and communication skills.Downloads
Published
2021-04-28
Issue
Section
Articles