โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครู
A Causal Relationship Model of Teacher Autonomy Support Behavior with Students
Keywords:
การศึกษา, นักเรียน, ครูAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโมเดลประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 4 ตัว ได้แก่ พฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครู แรงกดดันในการทำงาน การรับรู้การกำหนดตนเองในการเรียนของนักเรียน และการกำหนดตนเองในการทำงานของครู กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในปีการศึกษา 2549 จำนวน 440 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครู และมาตรวัดตัวแปรแฝงที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครูที่ปรับแก้แล้วมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์เท่ากับ 4.89 ที่องศาอิสระเท่ากับ 19 มีความน่าจะเป็นเท่ากับ 1.00 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.99 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.99 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนได้ร้อยละ 44 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครู ได้แก่ แรงกดดันในการทำงาน และการกำหนดตนเองในการทำงานของครู ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครูผ่านการกำหนดตนเองในการทำงานของครู ได้แก่ แรงกดดันในการทำงาน และการรับรู้การกำหนดตนเองในการเรียนของนักเรียน The purpose of this research was to develop and validate a causal relationship model of teacher autonomy support behavior with students in schools under the Office of the Basic Education Commission. The model consisted of four latent variables: teacher autonomy support behavior with students, constraints at work, perception of student self-determination, and teacher self-determination towards work. The sample, derived by mean of multi-stage random sampling, consisted of 440 teachers during the academic year 2006. Research instruments were a questionnaire of teacher autonomy support behavior with students, and appropriate measures of the other latent variables. Descriptive statistics were generated using SPSS; causal modeling involved the use of LISREL. Results indicated that the adjusted model of teacher autonomy support behavior with students was consistent with empirical data. Goodness of fit statistics were: chi-square = 4.89, p = 1.00, df = 19, GFI = 0.99, AGFI = 0.99, RMSEA = 0.00. The variables in the adjusted model accounted for 44 percent of the total variance of teacher autonomy support behavior with students. The variables that had direct effects on teacher autonomy support behavior with students were constraints at work and teacher self-determination towards work. The variables that had an indirect impact on teacher autonomy support behavior with students, affecting through teacher self-determination towards work, were constraints at work and perception of student self-determination.Downloads
Published
2021-04-28
Issue
Section
Articles