วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/search
en-USวารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา1685-6740การพิจารณาจำนวนองค์ประกอบที่เหมาะสมโดยใช้วิธีการ Parallel Analysis และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ViSta-PARAN
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/search/article/view/655
<p>บทความนี้นำเสนอการพิจารณาจำนวนองค์ประกอบที่เหมาะสมด้วยวิธีการ Parallel Analysis (Horn, 1965) โดยใช้โปรแกรม ViSta-PARAN (Ledesma & Valero-Mora, 2007) ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ฟรีที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ในการวิเคราะห์โปรแกรม ViSta-PARAN มีข้อดีหลายประการ คือ ตารางบันทึกข้อมูลมีลักษณะเป็น spreadsheet มีรายการเลือกสำหรับผู้ใช้และแสดงผลการวิเคราะห์ด้วยกราฟ การสาธิตวิธีการใช้โปรแกรมนี้ใช้ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเพื่อแสดงวิธีการพิจารณาจำนวนองค์ประกอบหรือส่วนประกอบที่เหมาะสม และให้ข้อเสนอแนะในการนำวิธีการและโปรแกรมไปใช้ This article exemplifies the application of ViSta-PARAN (Ledesma & Valero-Mora, 2007), a recently released, freely available computer program which uses Parallel Analysis (Horn, 1965) to resolve the number of factors or components question. ViSta-PARAN has a number of strengths, including a tabular data grid similar to a spreadsheet, a menu-based user interface, and graphical displays of results. A sample data set is employed to demonstrate the use of this program to determine the optimal number of factors or components, and suggestions are made for its further application.</p>อาฟีพี ลาเต๊ะ
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
2021-04-282021-04-2861114การพัฒนาสถิติทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวนแบบใหม่
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/search/article/view/650
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสถิติทดสอบความเป็นเอกพัทธ์ของความแปรปรวนของประชากรและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสถิติทดสอบที่พัฒนาขึ้นคือ SA1 และ SA2 กับสถิติทดสอบบาร์ตเลต สถิติทดสอบเลอวีนและสถิติทดสอบคอครัน โดยพิจารณาจากความสามารถในการควบคุมความคลาดเคลื่อนประเภทที่ I และอำนาจการทดสอบของสถิติทดสอบ เมื่อลักษณะการแจกแจงประชากรเป็นแบบปกติและแบบไม่ปกติ ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากันและไม่เท่ากัน และเมื่ออัตราส่วนของความแปรปรวนแตกต่างกัน งานวิจัยนี้จำลองการทดลองด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้เทคนิคมอนติ คาร์โล ซิมูเลชัน กระทำซ้ำ 10,000 ครั้งสำหรับแต่ละสถานการณ์ที่กำหนด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ความสามารถในการควบคุมความคลาดเคลื่อนประเภทที่ I ปรากฏว่า เมื่อระดับนัยสำคัญ .05 สถิติทดสอบ SA2 สามารถควบคุมความคลาดเคลื่อนประเภทที่ I ได้ดีที่สุด สถิติทดสอบ SA1 ไม่มีประสิทธิภาพเท่า SA1 แต่สามารถควบคุมความคลาดเคลื่อนประเภทที่ I ได้มากกว่าสถิติทดสอบเลอวีนและสถิติทดสอบคอครัน ในขณะที่เมื่อระดับนัยสำคัญ .01 สถิติทดสอบ SA1 สามารถควบคุมความคลาดเคลื่อนประเภทที่ I ได้มากกว่าสถิติทดสอบ SA2 และสถิติทดสอบคอครัน สำหรับประชากรที่มีการแจกแจงปกติ สถิติทดสอบบาร์ตเลตมีอำนาจการทดสอบสูงกว่าสถิติทดสอบทุกตัว สถิติทดสอบ SA1 และสถิติทดสอบเลอวีนมีอำนาจการทดสอบสูงใกล้เคียงกันและสูงกว่าสถิติทดสอบ SA2 และสถิติทดสอบคอครัน สำหรับประชากรที่มีการแจกแจงแบบเบ้ สถิติทดสอบบาร์ตเลตมีอำนาจการทดสอบสูงที่สุด รองลงมาคือ สถิติทดสอบ SA1 สถิติทดสอบ SA2 และสถิติทดสอบคอครัน สำหรับประชากรที่มีการแจกแจงโด่งแบน สถิติทดสอบ SA1 มีอำนาจการทดสอบสูงกว่าสถิติทดสอบเลอวีน และสถิติทดสอบ SA2 และสำหรับประชากรที่มีการแจกแจงโด่งสูง สถิติทดสอบเลอวีนมีอำนาจการทดสอบสูงกว่าสถิติทดสอบ SA1 และสถิติทดสอบ SA2 This study investigated the efficiency of two new proposed homogeneity of variance test statistics, “SA1” and “SA2”, using Monte Carlo methods to compare results with those from Bartlett’s Levene’s, and Cochran’s tests. Experiments were conducted over normal and non-normal samples, with different variance ratios, using equal and unequal Ns. Each experimental condition was replicated 10,000 times. With regard to Type I error rates, it was found that SA2 provided the best control at the .05 level. The SA1 test was not as efficient at .05, but nonetheless showed better control than Levene and Cochran. On the other hand, at the .01 level, SA1 was found to be superior to SA2 and Cochran. For normal distributions, Bartlett’s test had the most power. SA1 and Levene were second best, with SA2 and Cochran coming last. With skewed distributions, Bartlett again had the most power, followed by SA1, then SA2, with Cochran having the least power. The SA1 test was found to have the highest power for platykurtic distributions, then Levene, then SA2. With leptokurtic distributions, Levene’s test showed the most power, with SA1 second, followed by SA2.</p>อรัญ ซุยกระเดื่องสำราญ มีแจ้งรัตนะ บัวสนธ์อรุณี อ่อนสวัสดิ์
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
2021-04-282021-04-28611529อิทธิพลของความรุนแรงในชุมชนที่มีต่อความล้มเหลวทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/search/article/view/667
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความรุนแรงในชุมชนและปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความล้มเหลวทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยสร้างกรอบแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูรา (Bandura, 1977, 1986) และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง โมเดลที่เสนอประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัว ได้แก่ ความรุนแรงในชุมชน พฤติกรรมก้าวร้าว อาการซึมเศร้า และความล้มเหลวทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2549 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี และ ฉะเชิงเทรา จำนวน 337 คน เลือกมาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามลักษณะของนักเรียน แบบสอบถามการพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในชุมชน มาตรวัดพฤติกรรมก้าวร้าว และมาตรวัดภาวะซึมเศร้าในนักเรียน การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ปรับแก้แล้วสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 11.27 ที่องศาอิสระเท่ากับ 25 ความน่าจะเป็นเท่ากับ .99 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.99 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 และ ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความล้มเหลวทางการเรียนได้ร้อยละ 10 แสดงว่าการพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในชุมชนมีอิทธิพลต่อความล้มเหลวทางการเรียนของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านพฤติกรรมก้าวร้าวและอาการซึมเศร้าของนักเรียน The purpose of this research was to develop and validate a causal relationship model of community violence and personal factors thought to be related to the academic failure of Grade 9 students, based on the Social Learning Theory of Bandura (1977, 1986) and related literature. The proposed model consisted of four latent variables: community violence, aggressive behavior, depression, and academic failure. The sample, derived by mean of multi-stage random sampling, consisted of 337 Grade 9 students in schools under the educational service area office of Chon Buri and Chachoengsao during the academic year 2006. The research instruments included a student Characteristic questionnaire, community violence exposure questionnaire, an aggressive behavior scale, and a student depression scale. Data were analyzed by descriptive statistical analysis through SPSS, and causal relationships investigated with LISREL. Results indicated that the adjusted model was consistent with empirical data. Goodness of fit indicators included a chi-square value of 11.27 with 25 degrees of freedom, p = .99, Goodness of fit index 0.99; Comparative fit index 1.00; Root mean square error of approximation 0.00. The variables in the model accounted for 10 percent of academic failure. Exposure to community violence had a statistically significant indirect impact on academic failure by affecting through aggressive behavior and depression.</p>เตือนจิต กฤตลักษณ์เสรี ชัดแช้มสมหมาย แจ่มกระจ่าง
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
2021-04-282021-04-28613046การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการผลิตครู
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/search/article/view/647
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการผลิตครู โดยการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการผลิตของครูในระดับนักศึกษา ระดับสาขาวิชา และระดับคณะวิชา ด้วยเทคนิควิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการผลิตครูเชิงสมมุติฐาน และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ด้วยวิธีการของ สเปชท์ (Specht) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยคณบดีและรองคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จำนวน 125 คน อาจารย์ผู้สอน จำนวน 472 คน และกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 ที่ผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแล้ว จำนวน 1,598 คน วิเคราะห์พหุระดับด้วยโปรแกรม HLM ผลการพัฒนา ปรากฏว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการผลิตครูในระดับนักศึกษา ได้แก่ ความรู้พื้นฐาน เจตคติต่อวิชาชีพครู และพฤติกรรมการเรียน ในระดับสาขาวิชา ได้แก่ คุณภาพการสอนของอาจารย์ ส่วนในระดับคณะวิชา ได้แก่ การบริการหลักสูตรของคณบดี การจัดการด้านฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และการประกันคุณภาพการศึกษา This study looked at factors which influenced the effectiveness of teacher training, according to student level, faculty, and academic program. A multi-level causal model was constructed, with Specht’s method applied in order to examine the congruence of the model and evident data. Participants included 1,598 students, 125 dean and vice-deans, and 472 lecturers. The multi-level analysis was completed by HLM. Causal factors at the student level were found to be background knowledge, teacher professional attitudes, and student behavior. At the program level there was a single factor: lecturers’ teaching quality. At the faculty level, factors influencing training effectiveness were: the dean’s administration of the curriculum, teaching practicum, and educational quality control.</p>มานี แสงหิรัญ
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
2021-04-282021-04-28616880ธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยของรัฐ : พหุกรณีศึกษา
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/search/article/view/662
<p>วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยสองแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยของรัฐในเขตภาคเหนือและมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างละ 1 แห่ง วิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้แบบแผนวิจัยแบบบูรณาการซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณนำแล้วแล้วใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามหลัง ผู้ให้ข้อมูลเป็นบุคลากรในมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งจำนวนทั้งสิ้น 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามความคิดเห็นและการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่ามหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งมีธรรมาภิบาลอยู่ในระดับปานกลางทั้งภาพรวมและองค์ประกอบ 5 ด้าน ยกเว้นด้านประสิทธิผลที่อยู่ในระดับมาก แต่ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งในด้านความโปร่งใส ความเป็นธรรมและการมีส่วนร่วมยังมีอยู่น้อย สำหรับในองค์ประกอบด้านการมีอิสระ ความมีประสิทธิผลและความคล่องตัวอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างมหาวิทยาลัยผลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพก็พบว่า มีความแตกต่างกันบางองค์ประกอบและบางประเด็นย่อย จากผลการวิจัยนี้มหาวิทยาลัยของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องความเร่งดำเนินการป้องกันและแก้ไขส่วนที่ขาดธรรมาภิบาลให้เกิดธรรมาภิบาลในที่สุด The purpose of this research was to study and compare governance practices as found in two public Thai universities, located in northern and northeastern regions of the country. A mixed-method, integrated design (quantitative before and qualitative after: Quan-Qual) was employed. The participants were 226 stakeholders from both universities. Questionnaires and semi-structured interviews were used to collect data. Results from the quantitative part of the study indicated that the two public universities were generally at the medium level in overall good governance, and on five related components, while being at the high level on effectiveness. In the qualitative part of the study results were different, indicating the universities to be generally at a low level on three components of good governance, transparency, equity, and participation, while at a satisfactory or good level on the components of freedom, effectiveness, and flexibility. Differences on some governance components and issues became more apparent when specific comparisons were made between the two universities. Given the results from this study, it is apparent that universities and related organizations need to make an effort to detect weak governance components, and support appropriate corrective actions.</p>รัตนะ บัวสนธ์
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
2021-04-282021-04-28614767การศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับอัตราการตอบกลับและความจริงใจในการตอบแบบสอบถามบนอินเตอร์เน็ต
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/search/article/view/657
<p>การตอบกลับแบบสอบถามบนอินเทอร์เน็ตเชื่อว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตาม 2 ตัวคือ อัตราการตอบกลับและความจริงใจในการตอบแบบสอบถามบนอินเทอร์เน็ต กับตัวแปรอิสระ 3 ตัว คือ การแจ้งให้ทราบล่วงหน้า จำนวนครั้งในการติดตาม และระยะเวลาในการติดตามที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1400 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามที่เป็นเว็บเพจ เรื่องความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อปัญหาการติดยาเสพติดของเยาวชนในปัจจุบัน และจดหมายนำส่งทางอีเมล์ ผลการวิจัยปรากฏว่า การแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทำให้อัตราการตอบกลับแบบสอบถามบนอินเทอร์เน็ตสูงขึ้น 9.5% การเพิ่มจำนวนครั้งในการติดตามมีความสัมพันธ์กับอัตราการตอบกลับที่เพิ่มขี้น ดังนี้ การติดตามครั้งที่ 1 มีอัตราการตอบกลับสูงที่สุด (7.8%) การติดตามครั้งที่ 2 มีอัตราการตอบกลับ 5.6% การติดตามครั้งที่ 3 มีอัตราการตอบกลับ 3.1% และการติดตามครั้งที่ 4 มีอัตราการตอบกลับ 1.3% นอกจากนี้อัตรการตอบกลับยังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระยะเวลาในการติดตามที่แตกต่างกัน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการแจ้งให้ทราบล่วงหน้ากับจำนวนครั้งในการติดตามต่ออัตราการตอบกลับ และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างจำนวนครั้งในการติดตามกับระยะเวลาในการติดตามต่อัตราการตอบกลับ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระทั้งหลายกับความจริงใจในการตอบแบบสอบถามบนอินเทอร์เน็ต Responses to internet-based questionnaires are thought to relate to a number of factors. In this study, the relationship between two dependent variables, response rate and the apparent sincerity of responses to internet questionnaires, were investigated with regard to three independent variables: whether or not would-be respondents were notified in advance of a coming questionnaire (pre-notification), number of follow-up contacts, and connection time. The sample consisted of 1,400 undergraduates studying at Burapha University in 2007. Research instruments involved an internet-based questionnaire on the drug addiction problems of young people, and an email letter. It was found that pre-notification increased the response rate by 9.5%. Increasing the number of follow-up contacts had a variable relationship to response rate: the first follow-up yielded the most responses (7.8%), the second 5.6% the third 3.1%, and the fourth 1.3%. Response rate had a positive relationship to connection time. Interactions were found between pre-notification and number of follow-up contacts regarding response rate, and also between number of follow-ups and connection time. No relationships were found between the independent variables and response sincerity.</p>นิติภาคย์ วิจิตรวงศ์สุชาดา กรเพชรปาณีสมสิทธิ์ จิตสถาพร
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
2021-04-282021-04-286194108โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครู
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/search/article/view/664
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโมเดลประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 4 ตัว ได้แก่ พฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครู แรงกดดันในการทำงาน การรับรู้การกำหนดตนเองในการเรียนของนักเรียน และการกำหนดตนเองในการทำงานของครู กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในปีการศึกษา 2549 จำนวน 440 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครู และมาตรวัดตัวแปรแฝงที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครูที่ปรับแก้แล้วมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์เท่ากับ 4.89 ที่องศาอิสระเท่ากับ 19 มีความน่าจะเป็นเท่ากับ 1.00 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.99 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.99 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนได้ร้อยละ 44 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครู ได้แก่ แรงกดดันในการทำงาน และการกำหนดตนเองในการทำงานของครู ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการส่งเสริมความเป็นอิสระแก่นักเรียนของครูผ่านการกำหนดตนเองในการทำงานของครู ได้แก่ แรงกดดันในการทำงาน และการรับรู้การกำหนดตนเองในการเรียนของนักเรียน The purpose of this research was to develop and validate a causal relationship model of teacher autonomy support behavior with students in schools under the Office of the Basic Education Commission. The model consisted of four latent variables: teacher autonomy support behavior with students, constraints at work, perception of student self-determination, and teacher self-determination towards work. The sample, derived by mean of multi-stage random sampling, consisted of 440 teachers during the academic year 2006. Research instruments were a questionnaire of teacher autonomy support behavior with students, and appropriate measures of the other latent variables. Descriptive statistics were generated using SPSS; causal modeling involved the use of LISREL. Results indicated that the adjusted model of teacher autonomy support behavior with students was consistent with empirical data. Goodness of fit statistics were: chi-square = 4.89, p = 1.00, df = 19, GFI = 0.99, AGFI = 0.99, RMSEA = 0.00. The variables in the adjusted model accounted for 44 percent of the total variance of teacher autonomy support behavior with students. The variables that had direct effects on teacher autonomy support behavior with students were constraints at work and teacher self-determination towards work. The variables that had an indirect impact on teacher autonomy support behavior with students, affecting through teacher self-determination towards work, were constraints at work and perception of student self-determination.</p>สุทราช ถาวรสุชาดา กรเพชรปาณีอนงค์ วิเศษสุวรรณ์
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
2021-04-282021-04-28618193ความแตกต่างทางเพศในปัญญาเชิงปฏิบัติระหว่างนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 กับช่วงชั้นที่ 4
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/search/article/view/658
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบสอบถามทักษะปัญญาเชิงปฏิบัติโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง และวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุของปัญญาเชิงปฏิบัติทั้ง 5 ด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาจำแนกตามเพศและระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1,200 คน ตัวแปรอิสระ ได้แก่ เพศและระดับการศึกษา ตัวแปรตามเป็นปัญญาเชิงปฏิบัติ 5 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านการบ้านการเรือน ทักษะด้านการใช้อุปกรณ์และการซ่อมแซม ทักษะด้านนันทนาการหรือกีฬา ทักษะด้านงานอดิเรกหรือศิลปะ และทักษะด้านการสื่อสาร วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรม LISREL และวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุแบบสองทางระหว่างเพศกับระดับการศึกษา โดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยปรากฏว่า ปัญญาเชิงปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาประกอบด้วยทักษะ 5 ด้าน ตามโมเดลข้างต้น ตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวและองค์ประกอบทั้ง 5 ของแบบสอบถามมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โมเดลองค์ประกอบสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 1123.30 ความน่าจะเป็นเท่ากับ .97 ที่องศาอิสระเท่ากับ 1213 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 1.00 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.99 และดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุชี้ให้เห็นว่า นักเรียนชายและหญิงในช่วงชั้นที่ 3 กับที่ 4 มีทักษะด้านการใช้อุปกรณ์และการซ่อมแซมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนชายในช่วงชั้นที่ 4 มีปัญญาเชิงปฏิบัติในทักษะด้านการใช้อุปกรณ์และการซ่อมแซมสูงที่สุด นักเรียนชายในช่วงชั้นที่ 3 เป็นอันดับสอง นักเรียนหญิงในช่วงชั้นที่ 4 เป็นอันดับสามและนักเรียนหญิงในช่วงชั้นที่ 3 ต่ำที่สุด ส่วนทักษะด้านการบ้านการเรือน ทักษะด้านนันทนาการหรือกีฬา ทักษะด้านงานอดิเรกหรือศิลปะ และทักษะด้านการสื่อสาร นักเรียนชายและหญิงในช่วงชั้น 3 กับที่ 4 มีไม่แตกต่างกัน The objectives of this research were to undertake a second-order confirmatory factor analysis of the Practical Intelligence self-evaluation questionnaire, and to analyze the variance of five skills of Practical Intelligence by the gender of lower and upper secondary school students, using multivariate analysis of variance methods. The samples consisted of 1,200 lower and upper secondary school students in Bangkok Educational Service Area Office, academic year 2007. The independent variables were gender and school level; dependent variables were five skills of Practical Intelligence: household skills, use of technical equipment and repair skills, active recreation or sports skills, hobbies or artistic skills, and communication skills. LISREL was used to analyze the second-order confirmatory factor analysis. The Two-way, gender by level, multivariate analysis of variance was completed with SPSS. The results were as follows: The Practical intelligence of secondary school students included the five skills mentioned. All observed variables, and five factors of the questionnaire, were found to be significant at the .05 level, with the chi-square goodness of fit test at 1123.30, p = .97, df = 1213, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, and CFI = 1.00. In regard to the multivariate analysis of variance, gender differences were uncovered at lower and upper secondary levels, with statistical significance in terms of use of technical equipment and repair skills at the .05 level. Boy at the upper secondary level had the highest outcome on use of technical equipment and repair skills. Boys at lower secondary were rated second highest; upper secondary girls were third; lower secondary girls were lowest. No gender of level differences were found regarding household skills, active recreation of sports skills, hobbies of artistic skills, and communication skills.</p>ปัทมา อนันต์เสรี ชัดแช้มสมพร สุทัศนีย์
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
2021-04-282021-04-2861109124