การประยุกต์ทฤษฎีนิวโรบิคส์ เอ็กเซอร์ไซส์ ในการพัฒนาโปรแกรมการฝึกสมองสำหรับฟื้นฟูความจำในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น

Authors

  • วรากร เกรียงไกรศักดา
  • เสรี ชัดแช้ม

Keywords:

สมอง, ภาวะสมองเสื่อม, ผู้ป่วย, ความจำ, ความจำระยะสั้น, นิวโรบิคส์ เอ็กเซอร์ไซส์

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกสมองโดยประยุกต์จากทฤษฎีนิวโรบิคส์ เอ็กเซอร์ไซส์ ที่มีผลต่อการฟื้นฟูความจำในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น และทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น จำนวน 34 คน จากโรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา สุ่มแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควงคุม โดยกลุ่มทดลองให้เข้ารับโปรแกรมการฝึกสมองที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดความจำระยะสั้น ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถเชาวน์ปัญญาผู้ใหญ่ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 (WAIS III) ด้านช่วงตัวเลข และสัญลักษณ์ตัวเลขวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติทดสอบ t-tests และสถิติวิเคราะห์ความแปรแปรวนแบบหลายตัวแปร (MANOVA)          ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการฝึกสมองที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มความจำระยะสั้นของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นได้ โดยความจำระยะสั้นในกลุ่มทดลอง (เปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งด้านช่วงตัวเลข (Digit span) และด้านสัญลักษณ์ตัวเลข (Digit symbol) และภายหลังการเข้าโปรแพรมฝึกสมองกลุ่มทดลองมีคะแนนความจำทั้ง 2 ด้าน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ           The purpose of this study was to develop a brain training program based on Neurobics Exercise Theory to target short term memory rehabilitation in patients with mild dementia. Participants were 34 patient volunteers with mild dementia from Bhuddasothorn Hospital􀀏 Chachoengsao Province, randomly assigned to experimental and control groups. The experimental group received a brain-training program based on Neurobics Exercise Theory. Instruments used for data collection were the WAIS-III Digit Span and Digit Symbol subtests. Data were analyzed using t-tests and MANOVA. It was found that the experimental group’s pre-post scores showed a statistically significant improvement on both Digit Span and Digit Symbol, and that the experimental group’s test scores were significantly higher than the control group’s after the brain-training program concluded.

Downloads