อิทธิพลของตัวแปรกำกับการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอชวัน เอ็นวัน

Authors

  • ศิตา พลีจันทร์
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง
  • สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล

Keywords:

การควบคุมตนเอง, ไข้หวัดใหญ่เอช 1 เอ็น 1, การป้องกันและควบคุม

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรกำกับการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A (H1N1) และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 5 ตัว ได้แก่ เจตคติต่อพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเอง ความตั้งใจในการทำพฤติกรรม และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด  A (H1N1) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา2555 โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครพนม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 450 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS และใช้โปรแกรม LISREL วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ          ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรกำกับการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A (H1N1) มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยการตรวจสอบจากค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 74.18 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 57 ค่าความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .06 ค่า GFI เท่ากับ 0.98 ค่า AGFI เท่ากับ 0.95 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า SRMR เท่ากับ 0.02 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.03 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ 0.42 แสดงว่า ตัวแปรเชิงสาเหตุทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A (H1N1) ได้ร้อยละ 42 และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองร่วมกับความตั้งใจในการทำพฤติกรรมมิอิทธิพลสูงสุดต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A (H1N1)           The objectives of this research were to develop and validate a causal relationship model of perceived control as mediator for preventive behavior measures against influenza A (H1N1), and to check the consistency of the developed model with empirical data. The model consisted of five latent variables: attitude toward behavior, subjective norms, perceived behavior control, behavioral intention, and preventive behavior. The sample consisted of 450 high school students in the 2012 academic year in Nakhon Phanom Province under Basic Education Commission, all selected by multistage random sampling. Data were collected by questionnaires. Descriptive statistics were generated using SPSS; causal mode analysis involved the use of LISREL. Results indicated that the causal model of perceived control as mediator for preventive behavior on influenza A (H1N1) was consistent with empirical data: Chi-square test of goodness of fit = 74.18, p = 0.06, df = 57, GFI = 0.98, AGFI = 0.94, CFI = 1.00, SRMR = 0.02, RMSEA = 0.03 and R2 = 0.42. The variables in the model accounted for 42% of the variance in preventive behavior on influenza A (H1N1). The highest direct effect for preventive behavior was the interaction of perceived behavior control and behavioral intention.

Downloads