การพัฒนาวิธีการกำหนดคะแนนจุดตัดเพื่อตัดสินความรอบรู้

Authors

  • ประภัสสร วงษ์ดี
  • สำราญ มีแจ้ง
  • รัตนะ บัวสนธ์
  • ปกรณ์ ประจันบาน

Keywords:

การวัดผลทางการศึกษา, การสอบ, การให้คะแนน, นักเรียนและนักศึกษา

Abstract

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการกำหนดคะแนนจุดตัดเพื่อตัดสินความรอบรู้ และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการกำหนดคะแนนจุดตัดเพื่อตัดสินความรอบรู้กับวิธีการกำหนดคะแนนจุดตัดของแกลส โดยอาศัยทฤษฎีการตัดสินใจ โดยการเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องในการตัดสินความรอบรู้ ด้วยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธฟี (rØ ) แล้วทำการทดสอบค่าสถิติ Z หลังจากแปลงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ฟี (rØ )  ให้อยู่ในรูปของคะแนน ฟิชเชอร์ซี (Fisher Z- transformation) ข้อมูลที่ใช้ในการกำหนดคะแนนจะตัดครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิของนักศึกษาที่เข้าศึกษาในสถาบันอุมดศึกษา ปีการศึกษา 2552 ประกอบด้วยเกรดเฉลี่ยรวม กลุ่มสารุคณิตศาสตร์และภาษาต่างประเทศ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเกรดเฉลี่ยสะสมชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้          1.  วิธีการกำหนดคะแนนจะตัดที่พัฒนาขึ้น มีการบูรณาการโมเดลการตอบสนองข้อสอบ (IRT) แบบสามพารามิเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ค่าความสามารถของคะแนนเกณฑ์ภายในจากการทำแบบสอบอิงเกณฑ์ก่อนนำมากำหนดคะแนนจุดตัดเกณฑ์ภายใน จำนวน 1 จุด เพื่อตัดสินและจำแนกผู้สอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ รอบรู้ และไม่รอบรู้ โดยศึกษาร่วมกับเกณฑ์ภายนอกที่จำแนกผู้สอบออกเป็น 2 กลุ่มเช่นกัน โดยคะแนนเกณฑ์ภายในที่เป็นคะแนนจุดตัดที่เหมาะสม ต้องให้ค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการจำแนกการเป็นผู้รอบรู้ (Error of Classification Index: ECI) ต่ำที่สุด ซึ่งมีสูตรคำนวณ ECI ที่พัฒนาขึ้น ดังนี้           ECI =             (PA + PD) 2                    [P(A+B) P(C+D) ] + [PA+C) P(B+D) ]             2.  ผลการศึกษาส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าวิธีการกำหนดคะแนนจุดตัดที่พัฒนาขึ้น มีสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องในการตัดสินความรอบรู้ สูงกว่าวิธีการกำหนดคะแนนจุดตัดของแกลสโดยอาศัยทฤษฎีการตัดสินใจ และผลการศึกษาบางส่วนขึ้นให้เห็นว่าวิธีการกำหนดคะแนนจุดตัดที่พัฒนาขึ้น มีสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องในการตัดสินความรอบรู้ เท่ากับวิธีการกำหนดคะแนนจุดตัดของแกลสโดยอาศัยทฤษฎีการตัดสินใจ           The purposes of this study were to propose the cut–off score method for mastery judgment and to compare the efficiency of cut–off score method between the cut–off score method for mastery judgment and the cut–off score of Glass’s Decision Method. The efficiency of cut-off score method considered from the consistency or validity of mastery learners by using Phi coefficiency and transformed to Fisher Z, then compared with Z–test respectively. The set of secondary data of students that were a freshman in academic year 2009; O-NET scores data at grade 12 in Mathematics and English, grade point average of high school education in Mathematics and Foreign Language, cumulative grade point average at the end of first year in Bachelor’s Degree.          The research results consisted of :          1. The cut–off score method for mastery judgment integrated the Item Response Theory to analyze the ability score of a criterion–referenced test and then set a cut–off score. The cut–off score categorized persons into mastery and non-mastery and judged with the external criterion that also devided persons into mastery and non-mastery. The suitable cut–off score got the minimize Error of Classification Index (ECI) that the researcher formulated as follows:            ECI =             (PA + PD) 2                    [P(A+B) P(C+D) ] + [PA+C) P(B+D) ]            2.  Most of the research results indicated that the cut–off score method for mastery judgment had higher consistency coefficient than the cut–off score of Glass’s Decision Method. Some of the research results indicated that the cut–off score method for mastery judgment and the cut–off score of Glass’s Decision Method had the equal consistency coefficient.

Downloads