โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเครียดในการปฏิบัติงานของครูและการรับรู้ความสามารถของกลุ่มครูที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของครู

Authors

  • พิเชษฐ พุ่มแจ้ง
  • สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง

Keywords:

ครู, ความพอใจในการทำงาน, ความเครียดในการทำงาน, การทำงาน, แง่จิตวิทยา

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเครียดในการปฏิบัติงานของครูและการรับรู้ความสามารถของกลุ่มครูที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของครู และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรแฝงในโมเดลประกอบด้วย ความเครียดจากภาระงาน ความเครียดจากพฤติกรรมของนักเรียน การรับรู้ความสามารถของกลุ่มครูด้านการสอน การรับรู้ความสามารถของกลุ่มครูด้านการควบคุมระเบียบวินัยของนักเรียน และความพึงพอใจในงานของครู กลุ่มตัวอย่าง คือครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในจังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2555 จำนวน 450 คน วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.80          ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความเครียดในการปฏิบัติงานของครูและการรับรู้ความสามารถของกลุ่มครูที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของครูตามสมมติฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 7.93 ค่า df เท่ากับ 23 ค่า p เท่ากับ 1.00 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.00  ดัชนี AGFI เท่ากับ 1.00 ดัชนี CFI เท่ากับ 1.00 ค่า SRMR เท่ากับ .00 ค่า RMSEA เท่ากับ .00 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความพึงพอใจในงานของครูได้ร้อยละ 51 ความเครียดจากภาระงานและความเครียดจาดพฤติกรรมของนักเรียน มีอิทธิพลทางตรง เชิงลบต่อความพึงพอใจในงานของครู การรับรู้ความสามารถของกลุ่มครูด้านการสอนและการรับรู้ความสามารถของกลุ่มครูด้านการควบคุมระเบียบวินัยของนักเรียน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจในงานของครู แปรความเครียดจากภาระงานมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงลบต่อความพึงพอใจในงานของครูโดยส่งผ่านการรับรู้ความสามารถของกลุ่มครูด้านการควบคุมระเบียบวินัยของนักเรียน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับรู้ความสามารถของกลุ่มครูสามารถลดผลกระทบด้านลบจากความเครียดในการปฏิบัติของครู และทำให้ความพึงพอใจในงานของครูเพิ่มขึ้น           The purpose of this research was to develop and validate a causal relationship model of teacher work stress and teacher collective efficacy as it affected teacher job satisfaction. The research model consisted of five latent variables: teacher stress from workloads, teacher stress from student behavior, teacher collective efficacy for instruction, teacher collective efficacy for student discipline, and teacher job satisfaction. A sample of 450 teachers from both primary and secondary schools in Chonburi participated in the study during the 2012 academic year. Data were analyze by using SPSS and LISREL 8.80.             The results indicated that the hypothetical model was consistent with empirical data. Goodness of fit statistics were: chi-square test=3.79, df=23, p=1.00, GFI=1.00, AGFI=1.00, CFI=1.00, SRMR=.00, and RMSEA=.00. The variables in the model accounted for 51% of the total variance of teacher job satisfaction. Variables which had a statistically significant negative direct effect on the teacher job satisfaction were: teacher stress from workloads, and teacher stress from student behavior. Variables which had a statistically significant positive direct effect on teacher job satisfaction were: teacher collective efficacy for instruction, and teacher collective efficacy for student discipline. The variable which had a statistically significant negative indirect effect on the teacher job satisfaction, affecting through teacher collective efficacy for instruction, was teacher stress from workloads. Finally, the variable which had a statistically significant negative indirect effect on the teacher job satisfaction, affecting through the teacher collective efficacy for students discipline, was teacher stress from student behavior. It was found that teacher collective efficacy could reduce negative effect from teacher stress on work and then increase teacher job satisfaction.

Downloads