การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • ศศิธร บัวทอง
  • สุวพร เซ็มเฮง
  • สุนันท์ ศลโกสุม
  • คมศร วงษ์รักษา

Keywords:

ประกันคุณภาพการศึกษา, การศึกษาขั้นพื้นฐาน

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประกับคุณภาพในสถานศึกษาระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ 1) การสร้างรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและศึกษาสภาพการปฏิบัติการประกันคุณภาพาภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายประกับคุณภาพ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 38 แห่ง แห่งละ 10 คน รวมทั้งหมด 380 คน แบ่งเป็นใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview) จำนวน 4 แห่ง และใช้แบบสอบถามจำนวน 34 แห่ง 2) การศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน โดยทดลองใช้ในโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1 แห่ง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้รูปแบบใน 4 มิติ ได้แก่ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ และความถูต้อง และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบจากการรายงานประเมินตนเอง (SAR) ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้          ผลการวิจัย ปรากฏ ดังนี้          1.  รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีลักษณะการขับเคลื่อนโดยประยุกต์ใช้วงจร PDCA แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การเตรียมการ การดำเนินการ และการรายงาน ในแต่ละขั้นตอนมีแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องต่อเนื่องในแต่ละรอบปี          2.  ผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการประกับคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องอยู่ในระดับมาก          3. ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีผลการปฏิบัติงานสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้          The aim of this research was to develop an internal quality assurance model for subject groups in basic education. The research methodology was divided into two parts. First, the creation of the internal quality assurance model for subject groups in basic education. This was accomplished by analyzing data from previous research; and reviewing the quality assurance process of education in the schools. The samples consisted of educational administrators, personnel responsible for quality assurance, and head of eight subject groups in basic education. The sample size was 38 schools consisting of 10 individuals from each school, with a total of 380 people. They were divided into 2 groups; 4 schools receiving the Focus Group Interview  technique, and 34 schools receiving questionnaires. Second, the study of the efficiency and effectiveness of the internal quality assurance model for subject groups in basic education which was carried out by conducting a pilot test on one school. The efficiency of the model was studied in four dimensions; feasibility, propriety, utility, and accuracy. The effectiveness of the model was determined from the Self-Assessment Report (SAR) of the 8 subject groups.          The results were as follows:          1. The internal quality assurance model for subject groups in basic education was formed and driven by the application of the PDCA cycle. It was divided into three steps: preparation, implementation, and reporting. The execution of each step was integrated together and was continuous annually.          2. The efficiency of the model in regards to the Feasibility Standard, Propriety Standard, Utility Standard and Accuracy Standard was found at a high level.          3. The study on the effectiveness of the model found that all subject groups had a higher performance level than their set goal.

Downloads