ผลของการออกกำลังกายบนลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมองในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์

Authors

  • ลัดดา เหลืองรัตนมาศ
  • เสรี ชัดแช้ม

Keywords:

การออกกำลังกาย, การวิ่ง, สมอง, คลื่นไฟฟ้าสมอง

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายบนลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมองในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นผู้วิจัยออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายบนลู่วิ่งไฟฟ้าโดยอาศัยแนวคิดการเสริมสร้างสมรรถภาพของหัวใจและการหายใจกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชลบุรีเพศหญิงจำนวน 38 คนแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 18 คนและกลุ่มควบคุม 20 คนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ระยะก่อนทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้รับการประเมินความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2 max) ทำกิจกรรมทดสอบหน้าที่บริหารจัดการของสมอง (Madrid Card Sorting Test: MCST) และวัดคลื่นไฟฟ้าสมองที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ (Event- Related Potential:ERP) ระยะทดลองกลุ่มทดลองออกกำลังกายตามโปรแกรมการออกกำลังกายบนลู่วิ่งไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 เดือนและระยะหลังทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้รับการทดสอบเช่นเดียวกับก่อนทดลองวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มด้วยสถิติทดสอบที          ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ากลุ่มทดลองหลังออกกำลังกายบนลู่วิ่งไฟฟ้ามีค่า VO2 max มากขึ้นหน้าที่บริหารจัดการของสมองเพิ่มขึ้นมีค่าเฉลี่ยความถูกต้องในการตอบจากการทำ MCST เพิ่มขึ้นและระยะเวลาการตอบสนองลดลงเมื่อเทียบกับก่อนออกกำลังกายและเทียบกับกลุ่มควบคุมผลการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองแสดงให้เห็นว่าภายหลังออกกำลังกายบนลู่วิ่งไฟฟ้ามีค่าความกว้างของคลื่น P300 ขณะทำ MCST ลดลงความสูงของคลื่น P300 เพิ่มขึ้นที่ตำแหน่ง F3, F7 และFz อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเทียบกับก่อนออกกำลังกายและเทียบกับกลุ่มควบคุมจากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการออกกำลังกายบนลู่วิ่งไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดือนทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและการหายใจดีขึ้นส่งผลให้หน้าที่บริหารจัดการของสมองเพิ่มขึ้น          This study examined the effects of a 2-month treadmill exercise program on executive function. The researcher designed treadmill exercise program to promote cardiorespiratory fitness. Thirty eight healthyvolunteer students of Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri were assigned randomly to exercisegroup (n=18) or control group (n=20). The experiment comprised three sessions: The baseline sessionconsisted of measuring maximum oxygen consumption (VO2 max), the P300 component of an event-relatedpotential (ERP), and the behavioral response on the Madrid Card Sorting test (MCST); a measure of executivefunction. In the exercise session, the experimental group exercised using the treadmill exercise program. Inthe third session, each participant was measured the same as in the baseline test. The data were analyzed byusing a t- test.          The result showed that the mean VO2 max in the experimental group was higher than control group (p<.05). Two months of treadmill exercise can improve executive function. When comparing the behavioral data, it was found that the experimental group performed the MCST more accurately and faster thanthe control group. Neuroelectric data indicated a significant reduction in P300 latency and an increase inP300 amplitude at F3, Fz and F7compared to the pre-exercise condition and the control group. These datasuggest that a 2-month treadmill exercise program can contribute to development of cardiorespiratory fitnesswhich in turn increases executive function.

Downloads