โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงรุนแรงจากเชื้ออีโคไลโดยมีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองเป็นตัวแปรกำกับ

Authors

  • เสน่ห์ พลีจันทร์
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง
  • สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล

Keywords:

ท้องร่วง, การป้องกันและควบคุม, การควบคุมตนเอง, ความสามารถในตนเอง

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงรุนแรงจากเชื้ออีโคไลโดยมีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองเป็นตัวแปรกำกับและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปรได้แก่เจตคติต่อพฤติกรรมการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองความตั้งใจต่อการกระทำพฤติกรรมและพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนอายุ 16 – 60 ปีในจังหวัดนครพนมจำนวน 450 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL          ผลการวิจัยปรากฏว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงรุนแรงจากเชื้ออีโคไล โดยมีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองเป็นตัวแปรกำกับตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าX2เท่ากับ 47.95 ค่า p เท่ากับ .06 ค่าdf เท่ากับ 34 ค่า GFI เท่ากับ 0.99 ค่า AGFI เท่ากับ 0.95 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า SRMR เท่ากับ 0.03 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.03 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ .43 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงได้ ร้อยละ 43 และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองกับความตั้งใจต่อการกระทำพฤติกรรมส่งผลร่วมกันในการกำกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงรุนแรงจากเชื้ออีโคไล          The purpose of this research was to develop and validate a causal relationship model of preventive behavior on severe diarrhea from E.coli. The model consisted of five latent variables: attitude toward behavior, subjective norms, perceived behavior control, behavioral intention and severe diarrhea fromE.coli preventive behavior. The sample, derived by means of multi-stage random sampling, consisted of 450people from Nakhon Phanom Province aged between 16–60 years. The research instruments were questionnaires. Causal model analysis involved the use of LISREL.          Results indicated that the model was consistent with empirical data: chi-square test of goodness offit = 47.95, p = .06, df = 34, GFI = 0.99, AGFI = 0.95, CFI = 1.00, SRMR = 0.03, RMSEA = 0.03. The variables in the model accounted for 43% of the variance of severe diarrhea from E.coli preventive behavior.The interaction between perceived behavior control and behavioral intention mediated the effect onpreventive behavior on severe diarrhea from E.coli.

Downloads