โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความไว้วางใจในแพทย์ และความยึดมั่นในคำแนะนำของแพทย์ที่มีต่อผลลัพธ์การควบคุมเบาหวานของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

Authors

  • จรุญ ไตรวุฒิ
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง
  • วริยา วชิราวัธน์

Keywords:

เบาหวาน, ผู้ป่วย, ความไว้วางใจ, แพทย์กับผู้ป่วย, ความสามารถในตนเอง, ความคาดหวัง, จิตวิทยา

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความไว้วางใจในแพทย์ความคาดหวังในความสามารถของตนความคาดหวังในผลลัพธ์และความยึดมั่นในคำแนะนำของแพทย์ที่มีต่อผลลัพธ์การควบคุมเบาหวานของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐจังหวัดชลบุรีจำนวน 480 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 5 ตอนลักษณะคำตอบเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติและวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.80          ผลการวิจัยปรากฏว่าโมเดลตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าสถิติไค–สแควร์เท่ากับ 37.96 df เท่ากับ 27 คSาp เท่ากับ .08 GFI เท่ากับ 0.99 AGFI เท่ากับ 0.96 CFI เท่ากับ 1.00 SRMR เท่ากับ 0.00 และRMSEA เท่ากับ 0.03 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ของตัวแปรผลลัพธ์การควบคุมเบาหวานของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.83 แสดงว่าตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรผลลัพธ์การควบคุมเบาหวานได้ร้อยละ 83 ผลการวิจัยสรุปได้ว่าความไว้วางใจในแพทย์ความคาดหวังในความสามารถของตนและความคาดหวังในผลลัพธ์มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลลัพธ์การควบคุมเบาหวานโดยมีความยึดมั่นในคำแนะนำของแพทย์เป็นตัวแปรคั่นกลาง          The purpose of this research was to develop and validate a causal relationship model involving fourindependent variables (trust in physician, self-efficacy expectation, outcome expectations, and adherence tophysician recommendations) and their links to observed outcomes in type II diabetes patients. A sample of480 type II patients at a public hospital in Chon Buri Province was selected by means of multistage randomsampling. The research instrument was a questionnaire. Causal model analysis involved the use of LISREL8.80.          Results indicated that the hypothetical model was consistent with empirical data. Goodness of fit statistics were: chi-square test = 37.96, df = 27, p = 0.08 GFI = 0.99, AGFI = 0.96, CFI = 1.00, Standardized RMR = 0.00, RMSEA = 0.03. The variables in the hypothetical model accounted for 83% of the total varianceof diabetes control outcomes. All hypothesized paths were statistically significant; variables that had astatistically significant indirect effect on diabetes outcomes were independent trust in physician, self-efficacyexpectations, and outcome expectations, with adherence to physician recommendations as a mediator.

Downloads