การพัฒนาปัจจัยแวดล้อมในการเสริมสร้างศักยภาพการนำทุนวัฒนธรรมมาใช้เพื่อการสร้างแบรนด์ของผู้ประกอบการสินค้า OTOP ประเภทสินค้าศิลปหัตถกรรม

Authors

  • สหภาพ พ่อค้าทอง

Keywords:

การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์, ชื่อตราผลิตภัณฑ์, ผู้ประกอบการ, โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, สินค้าไทย, ทุนทางวัฒนธรรม

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและนำเสนอกรอบแนวทางการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมในการเสริมสร้างศักยภาพการนำทุนวัฒนธรรมมาใช้เพื่อการสร้างแบรนด์ของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทสินค้าศิลปหัตถกรรมใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยนักวิชาการนักสื่อสารการตลาดและเจ้าหน้าที่ในโครงการOTOP จำนวนรวม 40 คนผลการวิจัยปรากฏว่าปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดที่มีผลต่อแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพการนำทุนวัฒนธรรมมาใช้เพื่อการสร้างแบรนด์ของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทศิลปหัตถกรรมมี3 ประเด็นได้แก่1) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการนำทุนวัฒนธรรมมาใช้เพื่อการสร้างแบรนด์ 2) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดเงินทุนในการสื่อสารแบรนด์และ 3) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดการสนับสนุนจากทางภาครัฐอย่างต่อเนื่องดังนั้นแนวทางการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมในการเสริมสร้างศักยภาพการนำทุนวัฒนธรรมมาใช้เพื่อการสร้างแบรนด์ของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทสินค้า ศิลปหัตถกรรมจะต้องประกอบด้วย 1) การสร้างความรู้ความเข้าใจในการนำทุนวัฒนธรรมมาใช้เพื่อการสร้างแบรนด์ของผู้ประกอบการ 2) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการจัดสรรงบประมาณในการนำทุนวัฒนธรรมมาใช้เพื่อการสร้างแบรนด์ของผู้ประกอบการ 3) การสนับสนุนจากทางภาครัฐอย่างต่อเนื่องและ4) การให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม          The purpose of this research was to investigate and propose a framework for the development of supporting conditions that elevate the potential use of cultural capital in branding OTOP handicraft products.This qualitative research has been carried out using indepth interviews. The sample comprised 40 experts inbranding, experts in communication marketing, and OTOP projects’ staff. The results indicated that therewere 3 major limitations blocking the utilization of cultural capital for branding OTOP products. Inparticular, most of the OTOP manufacturers still lack; 1) knowledge and understanding in terms of how tomake use of cultural capital in brand creation 2) an adequate budget for brand communication and 3) thecontinuous support from the government sector. Hence, the proposed framework that would potentiallyencourage the utilization of cultural capital in OTOP product branding comprised the following threesolutions; 1) providing knowledge and understanding about how to utilize cultural capital for brand creation2) allowing access to the source of funds and providing sufficient funds that enable the use of cultural capitalfor brand creation 3) obtaining continuous support from the government sector and 4) involving the privatesectors to actively participate in the campaign.

Downloads