การเพิ่มการเลือกสนใจภาพและเสียงของนักเรียนด้วยการออกกำลังกายแบบผสานกายจิตด้วยไม้พลอง: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง

Authors

  • พนิดา วิมานรัตน์
  • สุชาดา กรเพชรปาณี

Keywords:

ความสนใจ, การออกกำลังกาย, การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายแบบผสานกายจิตด้วยไม้พลองที่ส่งผลต่อการเลือกสนใจภาพและเสียงของนักเรียนและเปรียบเทียบการเลือกสนใจภาพและเสียงของนักเรียนก่อนและหลังการฝึกออกกำลังกายแบบผสานกายจิตด้วยไม้พลองใช้แบบการวิจัยแบบวัดก่อนและหลังการทดลองมีกลุ่มควบคุมกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอายุ 10-12 ปีของโรงเรียนวอนนภาศัพท์อำเภอเมืองชลบุรีจังหวัดชลบุรีปีการศึกษา 2555 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือกสุ่มมาจานวน 40 คนแล้วสุ่มแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มทดลองได้รับการฝึกออกกำลังกายแบบผสานกายจิตด้วยไม้พลองเครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการออกกำลังกายแบบผสานกายจิตด้วยไม้พลองกิจกรรมทดสอบการเลือกสนใจภาพและเสียงด้วยคอมพิวเตอร์และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐานและสถิติทดสอบที          ผลการวิจัยปรากฏดังนี้          1) รูปแบบการออกกำลังกายแบบผสานกายจิตด้วยไม้พลองใช้เวลาทั้งหมด 40 นาทีแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือช่วงการอบอุ่นร่างกายจานวน 12 ท่าช่วงการออกกำลังกายจำนวน 10 ท่าและช่วงการผ่อนคลายจำนวน 12 ท่าโดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบคือการบริหารสมองการหายใจและการฝึกสมาธิ          2) กลุ่มทดลองภายหลังการออกกำลังกายแบบผสานกายจิตด้วยไม้พลองมีการตอบสนองต่อกิจกรรมการเลือกสนใจภาพและเสียงถูกต้องมากขึ้นและมีระยะเวลาตอบสนองลดลงแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)          3) กลุ่มทดลองภายหลังการออกกำลังกายแบบผสานกายจิตด้วยไม้พลองมีค่ารีเลทีฟพาวเวอร์ของคลื่นเธต้าและคลื่นแอลฟาตาขณะทากิจกรรมการเลือกสนใจภาพและเสียงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05)          ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการออกกำลังกายแบบผสานกายจิตด้วยไม้พลองช่วยเพิ่มการเลือกสนใจภาพและเสียงของนักเรียนได้          The purposes of this research were to develop a mind-body exercise using a stick model andcompare students’ audiovisual selective attention before and after the exercise. A pretest-posttest controlgroup design was used. Subjects were 40 students aged 10–12 years from Wonnapasub school, Chon Buriprovince. They were randomly assigned to an experimental and a control group. The experimental groupundertook a mind-body exercise using a stick. The instruments consisted of mind-body exercise using a stickmodel, and an audiovisual selective attention task. Data analysis was done by means of standard deviations and a t-test.          Results indicated that:          1) The mind-body exercise using a stick, which lasted 40 minutes, consisted of three parts: 12warm-up activities; 10 exercise activities; and 12 cool-down activities. The exercise comprised three maincomponents: brain exercise, breathing, and meditation.          2) The experimental group improved accuracy on audiovisual selective attention task, and theirreaction time on the task decreased statistically significant difference from the control group (p<.05).          3) The experimental group showed greater relative power in the theta bands and alpha bands whiledoing audiovisual selective attention task than the control group (p<.05).          In conclusion, the mind-body exercise using a stick model could enhance audiovisual selectiveattention of students.

Downloads