การตรวจสอบตัวแปรทำนายทางสังคมวิทยาและจิตวิทยาของการรับรู้ความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Authors

  • วาสนา ทูลเกล้า
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง
  • สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล

Keywords:

การรับรู้, ความเสี่ยง, การสูบบุหรี่, วัยรุ่น, การใช้ยาสูบ, ความสัมพันธ์ในครอบครัว

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับตัวแปรทางสังคมวิทยาและจิตวิทยาได้แก่สัมพันธภาพในครอบครัวสัมพันธภาพกับครูสัมพันธภาพกับเพื่อนในชั้นเรียนการอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความรักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์การเห็นต้นแบบในครอบครัวการเห็นต้นแบบทางสังคมเจตคติต่อการสูบบุหรี่และบุคลิกภาพความมั่นคงทางอารมณ์และสร้างสมการถดถอยพหุคูณทำนายการรับรู้ความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 ในปีการศึกษา 2555จำนวน 475 คนเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.80          ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า          1. ตัวแปรทานายได้แก่สัมพันธภาพในครอบครัว (x1) สัมพันธภาพกับครู (x2) สัมพันธภาพกับเพื่อนในชั้นเรียน (x3) การอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความรัก (x4) การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ (x5) การเห็นต้นแบบในครอบครัว (x6)การเห็นต้นแบบทางสังคม (x7) เจตคติต่อการสูบบุหรี่ (x8) และบุคลิกภาพความมั่นคงทางอารมณ์ (x9) มีความสัมพันธ์พหุคูณกับตัวแปรการรับรู้ความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่เท่ากับ 0.94 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01          2. ตัวแปรทำนายทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายตัวแปรการรับรู้ความเสี่ยงในการสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 88 และสามารถสร้างสมการถดถอยพหุคูณได้ดังนี้          สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน           ZRISK = 0.22ZX1 + 0.08ZX2 + 0.08ZX3 + 0.17ZX4 + 0.15ZX5 - 0.33ZX6 - 0.20ZX7 - 0.17(ZX8) + 0.11(ZX9)           The objective of this research was to investigate the relationship between perceptions of smokingrelatedrisks among upper secondary school students and psycho-sociological variables: family relationships,relationships with teachers, peer-group relationships, parenting with love, leisure spending, family examples,social examples, smoking attitude, and emotional security. The sample consisted of 475 students from upper secondary schools residing under the secondary educational service area office 18. The study was carried out duringfirst term of the 2012 academic year. Students were randomly selected by multistage random sampling. LISREL8.80 were used to analyze the data.          The results showed that:          1. The predictive variables; family relationships (x1), relationships with teachers (x2), peer-grouprelationships (x3), parenting with love (x4), leisure spending (x5), family examples (x6), social examples (x7),smoking attitude (x8), and emotional security (x9) were related significantly ( R=0.94, p<.01) to perceptions ofsmoking-related risks.          2. The predictive variables were accounted for 88% of the total variance in smoking-related riskperception.          The regression equation of standard scores was:           ZRISK = 0.22ZX1 + 0.08ZX2 + 0.08ZX3 + 0.17ZX4 + 0.15ZX5 - 0.33ZX6 - 0.20ZX7 - 0.17ZX8 + 0.11ZX9

Downloads