ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองกับความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิต

Authors

  • พัสกร แนวประณีต
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง
  • สุชาดา กรเพชรปาณี

Keywords:

ความสามารถในตนเอง, ความเหนื่อยหน่าย, จิตวิทยา, การทำงาน

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองกับความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิตในสังกัดสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์โรงเรียนสาธิต (ปีการศึกษา 2555) จำนวน 265 คนจากโรงเรียนสาธิต 9 แห่งใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองกับความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงานลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและใช้โปรแกรม LISREL 8.80 วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ          ผลการวิจัยปรากฏว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองกับความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิตที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์เท่ากับ 13.96 ที่องศาอิสระ (df) 12 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .30 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI)เท่ากับ .99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ.97 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ(CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกาลังสองของส่วนเหลือมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ .02 และค่าดัชนีวัดความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ .02 โดยตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองมีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อตัวแปรความอ่อนล้าทางจิตและการลดความเป็นบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ชี้ให้เห็นว่าอาจารย์โรงเรียนสาธิตที่รับรู้ความสามารถของตนเองสูงจะมีความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงานต่ำ           The purpose of this research was to develop and validate a causal model describing therelationship between self-efficacy and burn-out of teachers in demonstration schools under the Office ofHigher Education Commission. The sample consisted of 265 teachers from nine demonstration schools(academic year 2012) and was obtained by using multi-stage random sampling. The research instrumentincluded the 5 rating scale of self-efficacy and teacher burn-out. Data were analyzed by using SPSS to obtaindescriptive statistics, and by employing LISREL 8.80 to analyze the causal model.          Results showed that the causal model was consistent with the empirical data as demonstrated bythe following fit measures: chi-square=13.96, df=12, p=.30, GFI=.99, AGFI=.97, CFI=1.00, SRMR=.02 andRMSEA=.02. Self-efficacy had a negative direct effect on exhaustion and depersonalization (p<.01)indicated that teachers who had higher self-efficacy would likely have lower burn-out at work.

Downloads