ศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์แสดงผลของการจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์ต่อการจำความสัมพันธ์คู่ใบหน้ากับชื่อในผู้สูงอายุ

Authors

  • จุไรรัตน์ ดวงจันทร์
  • เสรี ชัดแช้ม

Keywords:

ความจำ, สมอง, จินตภาพ, ผู้สูงอายุ, ศักย์ไฟฟ้าสมอง, จินตภาพเชิงสัมพันธ์

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการจาความสัมพันธ์ได้และศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ในระยะกู้คืนความจำจากกลยุทธ์ในการเข้ารหัสความจำคู่ใบหน้ากับชื่อระหว่างวิธีการจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์ด้วยตนเองกับวิธีการจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์จากวลีที่มีความหมายกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 40 คนสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 2 กลุ่มๆละ 20 คนเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือกิจกรรมการจำความสัมพันธ์คู่ใบหน้ากับชื่อและการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองเก็บรวมรวมข้อมูลค่าเฉลี่ยดัชนีการจำความสัมพันธ์ได้ถูกต้องและค่าเฉลี่ยขนาดของผลต่างของการจำคู่เก่า/ใหม่วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างวิธีการเข้ารหัสความจำด้วยสถิติทดสอบที          ผลการวิจัยปรากฏว่า          1) ผู้สูงอายุที่ใช้กลยุทธ์ในการเข้ารหัสความจำคู่ใบหน้ากับชื่อโดยวิธีการจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์จากวลีที่มีความหมายมีความสามารถในการจำความสัมพันธ์ได้สูงกว่าวิธีการจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์ด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          2) ผู้สูงอายุที่ใช้กลยุทธ์ในการเข้ารหัสความจำคู่ใบหน้ากับชื่อโดยวิธีการจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์จากวลีที่มีความหมายมีศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ในระยะกู้คืนความจำในรูปค่าเฉลี่ยขนาดของผลต่างของการจำคู่เก่า/ใหม่ซึ่งเป็นดัชนีของการจำความสัมพันธ์ได้จากความคุ้นเคยสูงกว่าวิธีการจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์ด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยขนาดของผลต่างของการจำคู่เก่า/ใหม่ซึ่งเป็นดัชนีของการจำความสัมพันธ์ได้จากการระลึกได้นั้นการใช้กลยุทธ์ในการเข้ารหัสความจำคู่ใบหน้ากับชื่อโดยวิธีการจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์ทั้งสองวิธีไม่แตกต่างกัน           The objectives of this research were to compare associative recognition memory performance,and retrieval phase event-related brain potentials (ERPs), between two encoding strategies for face-name pairs:self-interactive imagery, and semantic phrase interactive imagery. Forty elderly participants were randomlyassigned into each experimental group equally. The face-name associative recognition task andelectroencephalogram recording were used as research instruments. The average associative recognitionmemory index and ERPs old/new effect were used as dependent variables. Data were analyzed using t-test.          The main results were as follows:          1) The associative recognition memory performance of the elderly was significantly higher (p<.05) inthe semantic phrase interactive imagery group.          2) With regard to measuring ERPs related to the retrieval process (old/new effect) of the elderly, ERPscorrelates of familiarity were significantly higher for the semantic phrase interactive imagery encoding strategy.The ERPs correlates of recollection were not significantly different between the two encoding strategies.

Downloads