การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Keywords:
วิทยาศาสตร์, การศึกษาและการสอน, มัธยมศึกษา, การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน, ทักษะทางการคิดAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ 1) การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานโดยใช้วิธีการสังเกตสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มจากโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและ 2) การทดลองใช้รูปแบบการสอนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขาวสง่าเจริญวิทย์จำนวน 24 คนเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2)แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา 3) แบบประเมินพฤติกรรมทางการเรียนและ 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Wilcoxon Matched PairsSigned – Ranks Test ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ1) ลำดับขั้นการสอน 2) หลักการของการปฏิสัมพันธ์ 3) หลักการของการตอบสนอง 4) ระบบการสนับสนุนการเรียนการสอน 2. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนมีมีพฤติกรรมทางการเรียนดีขึ้น 4. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนมีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ดีขึ้น The aim of this research was to develop an instruction model for science learning based onproblem-based learning in order to enhance problem solving skills of grade seven students using mixed–method approach. The research method was divided into two parts: 1) developing a science instruction modelbased on problem-based learning principles by studying from schools that already applied problem-basedlearning and 2) the instruction model was tried out. The sample consisted of 24 grade seven students ofKhoawsangajaroenwit school. The instruments were 1) learning plans 2) a test of problem solving skill 3)the assessment of learning behavior and 4) a questionnaire measuring the attitude towards science learning.The statistics used for data analyzes were mean, standard deviation and the Wilcoxon Matched Pairs Signed -Ranks Test. The findings were: 1. The scientific instruction model consisted of 4 steps 1) syntax 2) social system 3) principlesof reaction and 4) support system. 2. The students’ problem solving skill scores after learning were higher than before learning(p<.05). 3. The students’ learning behavior during class was better. 4. The students’ attitude toward science learning was higher.Downloads
Issue
Section
Articles