สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • ชุติกาญจน์ นามศรี
  • ประเสริฐ เรือนนะการ
  • เชาว์ อินใย

Keywords:

สมรรถนะ, การเรียน, วิทยาศาสตร์, การศึกษาและการสอน, มัธยมศึกษา

Abstract

          การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนได้แก่ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีความสามารถในการสื่อสารความสามารถในการคิดความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตที่มีต่อความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1,000 คนจาก 13โรงเรียนซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบวัดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีแบบวัดความสามารถในการสื่อสารแบบวัดความสามารถในการคิดแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาแบบวัดความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตแบบทดสอบวิธีการทางวิทยาศาสตร์แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบ จิตวิทยาศาสตร์วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM) ด้วยสถิติการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis)        ผลการวิจัยปรากฏดังนี้        1. โมเดลสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่าสถิติ  X2= 316.17, df= 288, X2/df= 1.10, p = .12, CFI = 1.00, GFI = .98, AGFI = .97, RMSEA = .01, RMR = .02          2. ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์คือความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตตัวแปรที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์คือความสามารถในการคิดความสามารถในการแก้ปัญหาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและความสามารถในการสื่อสารซึ่งตัวแปรในโมเดลทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์ได้ร้อยละ 74.40           The purpose of this research was to develop and validate a model of the influence of learners’performance on students’ science learning ability. The learners’ performance was the ability to usetechnology, to communicate, to think, to solve problems, and to use life skills. The sample was selected bystratified random sampling, comprised 1,000 grade eleven students from 13 schools residing under theSecondary Education Service Area 20 (the academic year 2012). The research instruments used were scalesto measure students’ ability to use technology, to communicate, to think, to solve problems, to use life skills, and tests of scientific method, science process skills and scientific mind. Structural equation modeling wasanalyzed using path analysis.          The results were as follows:           1. The influence of learners’ performance on science learning ability of grade eleven studentsmodel fitted the empirical data as demonstrated by the following fit statistics: X2= 316.17, df= 288, X2/df= 1.10, p= .12, CFI = 1.00, GFI = .98, AGFI = .97, RMSEA = .01, RMR = .02           2. The variable directly affecting students’ science learning ability was ability to use life skills.The variables directly and indirectly affecting students’ science learning ability were ability to think, to solveproblems, to use technology, and to communicate. All variables in the model explained 74.4 percent of thevariance in science learning ability

Downloads