เหยื่อการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในกลุ่มเยาวชน: ปัจจัยเสี่ยง ผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการปรึกษาบุคคลที่สาม
Keywords:
การข่มเหงรังแก, การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต, สุขภาพจิต, การให้คำปรึกษาAbstract
การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์ คือ 1) ศึกษาการตกเป็นเหยื่อการรังแกผ่านโลกไซเบอร์และพฤติกรรมรังแกผู้อื่นผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนในสถานศึกษา 2) ศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการตกเป็นเหยื่อการ รังแกผ่านโลกไซเบอร์ และ 3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุฯ ของเพศชายกับ เพศหญิง โดยใช้ทฤษฎีการกระทำที่เป็นกิจวัตร (Routine activity theory) เป็นกรอบแนวคิดหลักในการศึกษา ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วย 7 ตัวแปร ได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ ภาวะขาดการปกป้อง แรงจูงใจผู้กระทำพฤติกรรมรังแกผู้อื่นผ่านโลกไซเบอร์ การตกเป็นเหยื่อการรังแกผ่านโลกไซเบอร์การปรึกษาบุคคลที่สาม และ สุขภาพจิตเชิงลบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา อายุไม่เกิน 25 ปี จ านวน 428 คน เลือกโดยวิธีการสุ่ม แบบง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS และโมเดลสมการ โครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม AMOS ผลการวิจัยปรากฏว่านิสิตตกเป็นเหยื่อฯ และมีพฤติกรรมรังแกผู้อื่นฯ ในระดับต่ำถึงปานกลาง พบ รูปแบบของการตกเป็นเหยื่อฯ และพฤติกรรมรังแกผู้อื่นฯ หลากหลาย โดยข้อมูลเพศชายและหญิงแตกต่างกัน เล็กน้อย ผลการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่าโมเดลที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับพอใช้ปัจจัยการมีพฤติกรรมรังแกผู้อื่นฯ ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อฯ มากที่สุด เป็นผล ทางตรงเชิงบวก รองลงมาคือพฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ เป็นผลทางอ้อมผ่านทางพฤติกรรมรังแกผู้อื่นฯ ส่วน ปัจจัยที่ไม่ส่งผลคือภาวะขาดการปกป้อง และปัจจัยแรงจูงใจผู้กระทำ ในด้านผลของตกเป็นเหยื่อฯ พบว่าส่งผล ทางบวกต่อสุขภาพจิตเชิงลบ และต่อการปรึกษาบุคคลที่สาม การปรึกษาบุคคลที่สามส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อ สุขภาพจิตเชิงลบ ผลการเปรียบเทียบโมเดลเพศชายและหญิงพบว่าแตกต่างกันเล็กน้อยThe purposes of this study were to explore victimization and cyber-bullying behaviors among youths in a college, to study a model explaining victimization and to compare male and female model. The Routine activity theory was used to support the conceptual framework. The model consisted of seven variables; Risky Online Behavior, Lack of Guardian Situation, Motivation of Offender, Cyber-Bullying Behavior, Vitim of Cyber-Bullying, Reporting as a Victim to the Third Person, and Negative Mental Health. The sample derived by means of simple random sampling method, consisted of 428 Burapha University students, aged less than 25 years old. The research instrument was an online questionnaire. Descriptive statistics were generated using SPSS; Structural Equation Modeling (SEM) was analyzed by AMOS. The results demonstrated that the students were at low to moderate level of being victimized and committing cyber-bullying. Moreover, there were various patterns of both being bullied and bullying others; male and female were not much different. The SEM analysis showed that the adjusted model was consistent with empirical data at an acceptable level. The most influential variable on victimization was Cyber-Bullying Behavior with positive direct effect, followed by Risky Online Behavior with indirect effect through Cyber-Bullying. On the other hand, Lack of Guardian and Motivation of Offender had no influence on Victimization. The consequences of Victimization, Victim of Cyber-Bullying had a positive direct effect on Negative Mental Health and Reporting to the Third Person. In comparison, male and female model were not much differentDownloads
Issue
Section
Articles