การเพิ่มความใส่ใจของนักเรียนจ่านาวิกโยธินโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฝึกการเคลื่อนไหวของตาแบบติดตามวัตถุ: การศึกษาศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์ กับเหตุการณ์

Authors

  • ดุสิต โพธิ์พันธุ์
  • เสรี ชัดแช้ม

Keywords:

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง, การรับรู้ทางสายตา, โปรแกรมคอมพิวเตอร์, สายตา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเ์พื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกการเคลื่อนไหวของตาแบบติดตามวัตถุ เปรียบเทียบ ผลของการใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยการเปรียบเทียบความถูกต้องของการตอบสนองและเวลาปฏิกิริยาและ เปรียบเทียบความกว้างและความสูงของคลื่นไฟฟ้าสมอง P100 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจ่านาวิกโยธิน ปีการศึกษา 2557 อายรุะหวา่ง 17-22 ปี จำนวน 44 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกการ เคลื่อนไหวของตาแบบ ติดตามวัตถุและกลุ่มควบคุมที่ไม่ใ่ช้โปรแกรม ด้วยจำนวนผู้ทดลองที่เท่ากัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกการเคลื่อนไหวของตาแบบติดตามวัตถุ และแบบทดสอบความใส่ใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฎว่า      1. กลุ่มทดลองมีคะแนนความใส่ใจหลังใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกการเคลื่อนไหวของตาแบบ ติดตามวัตถุุ มีความถูกต้องของการตอบสนองมากกว่าและมีเวลาปฏิกิริยาน้อยกว่าก่อนใช้โปรแกรมและกลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ฝึกการเคลื่อนไหวของตาแบบติดตามวัตถุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05       2. ความใส่ใจของกลุ่มทดลองหลังใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกการเคลื่อนไหวของตาแบบติดตามวัตถุมีความกว้างของคลื่นไฟฟ้าสมอง P100 น้อยกว่าก่อนใช้โปรแกรม ที่ตำแหน่ง FP1 FP2 AF3 AF4 F7 F5 F2 T7 T8 CP1 P1 O1 และมีความสูงของคลื่นไฟฟ้าสมอง P100 มากกว่าก่อนใช้โปรแกรม ที่ตำแหน่ง F3 F4 T7 CP3 P3 POz อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกการเคลื่อนไหวตามแบบ ติดตามวัตถุ มีความกว้างของคลื่นไฟฟ้าสมอง P100 น้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้โปรแกรม ที่ตำแหน่ง FP1 FP2 AF3 F7 F5 C3 C1 CP5 CP1 P1 O1 และมีความสูงของคลื่นไฟฟ้าสมอง P100 มากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้โปรแกรม ที่ตำแหน่ง F3 F4 CP5 CP3 POz อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกการเคลื่อนไหวของตาแบบติดตามวัตถุ สามารถเพิ่มความใส่ใจของ นักเรียนจ่านาวิกโยธินได้ The purposes of this research were to develop a computer training program for saccadic eye movements; to compare the average response accuracy rate and reaction time; and to compare the latency and amplitude of Event-Related Potential (ERP) P100. The participants were forty-four Marine Non-Commissioned Officer Students in the academic year 2014, aged between 17 and 22 years. They were randomly assigned to experimental and control groups with the same number of participants in each group. The research instruments were a saccadic eye movement computer training program and an attention network test. The t-test and descriptive statistics including average, and standard deviation, were used to analyze the data. The results showed that: 1. The attention of the experimental group after training with the program had a higher response accuracy rate, and had less reaction time when compared with before training with the program, and with the control group (p <.05). 2. Regarding the attention of the experimental group after training with the program: the latency of ERP P100 was lower than before training at positions FP1 FP2 AF3 AF4 F7 F5 F2 T7 T8 CP1 P1 O1, and the amplitude of P100 was higher than before training at positions F3 F4 T7 CP3 P3 POz  (p <.05). The latency of P100 in the experimental group was lower than the control group at positions FP1 FP2 AF3 F7 F5 C3 C1 CP5 CP1 P1 O1, and the amplitude of P100 in the experimental group was higher than the control group at positions F3 F4 CP5 CP3 POz (p <.05). The results indicate that it may be concluded that the saccadic eye movement computer training program was capable of enhancing the attention of Marine Non-Commissioned Officer Students.

Downloads