การเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ด้วยกิจกรรมการติดตามวัตถุเคลื่อนที่แบบ สามมิติ สําหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง

Authors

  • ปิยวรรณ ถนัดธนูศิลป์
  • สุชาดา กรเพชรปาณี
  • ปริญญา เรืองทิพย์

Keywords:

กิจกรรม, การติดตามวัตถุเคลื่อน, แบบสามมิติ, ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์, คลื่นไฟฟ้าสมอง

Abstract

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกสมองด้วยกิจกรรมการติดตามวัตถุเคลื่อนที่แบบ สามมิติ สำหรับการเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และนำรูปแบบที่  พัฒนาขึ้นไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  โรงเรียนแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 46 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ เท่า ๆ กัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมการติดตามวัตถุเคลื่อนที่แบบสามมิติ (3- Dimensional Multiple Object Tracking - 3D MOT Brain Training Task) แบบทดสอบความสามารถ ด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial recognition ability tests) และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง  (Electroencephalogram: EEG) ตัวแปรที่ศึกษา คือ ค่าเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ และค่าเฉลี่ย พลังงานสัมพัทธ์ วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฏว่า         1) ค่าเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของกลุ่มทดลอง หลังการฝึกด้วยกิจกรรมการติดตามวัตถุ เคลื่อนที่แบบสามมิติ สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.98         2) ค่าเฉลี่ยพลังงานสัมพัทธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองของกลุ่มทดลอง มีช่วงความถี่คลื่นไฟฟ้าสมอง Alpha 1, Alpha 2, Beta 1 และ Beta 2 หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และแตกต่างกันทุกตำแหน่งขั้วไฟฟ้า ได้แก่ สมองส่วนหน้า F3, FZ, F4 สมอง ส่วนกลาง C3, CZ, C4 สมองส่วนพาไรเอทัล P3, PZ, P4 และสมองส่วนท้ายทอย O1, O2         3) ค่าเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของกลุ่มทดลองเพศชายสูงกว่าเพศหญิงหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.42         4) ค่าเฉลี่ยพลังงานสัมพัทธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองของกลุ่มทดลองระหว่างเพศชายกับเพศหญิง ช่วง ความถี่คลื่นไฟฟ้าสมอง Alpha 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เฉพาะตำแหน่งขั้วไฟฟ้าของสมองส่วนท้ายทอย O1, O2 ส่วนช่วงความถี่คลื่นไฟฟ้าสมอง Alpha 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และแตกต่างกันทุกตำแหน่งขั้วไฟฟ้า ได้แก่ สมองส่วนหน้า F3, FZ, F4 สมองส่วนกลาง C3, CZ, C4 สมองส่วนพาไรเอทัล P3, PZ, P4 และสมองส่วนท้ายทอย O1, O2          สรุปได้ว่า รูปแบบการฝึกสมองด้วยกิจกรรมการติดตามวัตถุเคลื่อนที่แบบสามมิติที่พัฒนาขึ้น สามารถเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้           The objectives of this research were to develop a brain training task using a three dimensional multiple object tracking (3D - MOT), to compare spatial recognition ability and relative power of experimental group between before and after using a 3D - MOT and to compare between experimental and control groups (with and without using a 3D - MOT). The participants were forty-six upper-secondary school students from Saensuk School, Chon Buri. They were randomly and equally assigned to experimental and control groups. The research instruments were a 3D - MOT, spatial recognition ability test, and electroencephalogram (EEG) recording were used as research instruments. The average spatial recognition ability score and average relative power (RP) of alpha and beta frequency band were used as dependent variables. The t - test was used to analyze the data. The main results were demonstrated as follows:          1) The average spatial recognition ability score of experimental group after using a 3D - MOT was higher than before training, and also higher than that of the control group (p <.01), effect size = 0.98.          2) The average of relative power (RP) of the experiment group after using a 3D - MOT was higher than before training, and higher than the control group at alpha 1, alpha 2, beta 1, beta 2 in all electrode sites: F3, FZ, F4, C3, CZ, C4, P3, PZ, P4, O1 and O2 (p < .01).          3) The average spatial recognition ability score between male and female students of experimental group after using a 3D - MOT male students was higher than female students (p < .05), effect size = 0.42.          4) The average of relative power (RP) of the experimental group between male and female students only at alpha 1 in the electrode sites O1 and O2 (p < .05) and alpha 2 in all electrode sites: F3, FZ, F4, C3, CZ, C4, P3, PZ, P4, O1 and O2 (p < .01).          It may be concluded that develop a brain training task involving three dimensional multiple object tracking (3D - MOT) was increasing spatial recognition ability the upper secondary school students.

Downloads