ลวดลายและคําสอนในประเกือมเงินของจังหวัดสุรินทร์

Authors

  • สุริยา คลังฤทธิ์

Keywords:

ลวดลาย, คำสอน, ประเกือมเงิน, จังหวัดสุรินทร์

Abstract

          การวิจัยเรื่องลวดลายและคำสอนในประเกือมเงินของจังหวัดสุรินทร์มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลวดลาย  บนประเกือมเงินโบราณของจังหวัดสุรินทร์ และศึกษาความเชื่อและคำสอนบนประเกือมเงินโบราณของจังหวัด สุรินทร์ พื้นที่ศึกษาคือชุมชนเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้  เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ปราชญ์ หัตถกรรมเครื่องเงินและผู้รู้ด้านความเชื่อและคำสอน          ผลการวิจัยด้านลวดลายบนประเกือมเงินโบราณของจังหวัดสุรินทร์ปรากฏว่า ลวดลายที่เป็น เอกลักษณ์ของชาวเขมรพื้นเมืองสุรินทร์มาจากวัฒนธรรมความเชื่อโบราณในสิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติได้ ถ่ายทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมหรือสัญลักษณ์บนลวดลายประเกือมเงิน โดยลวดลายประเกือมเงินดั้งเดิม ของจังหวัดสุรินทร์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) ลวดลายพืชในวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ ลายกลีบบัว  ลายเม็ดมะยม ลายดอกพิกุล 2) ลวดลายจากเครื่องใช้ในการทำมาหากินคือ ลายร่างแห และ 3) ลวดลายแทนภาษาศักดิ์สิทธิ์ คือ ลายจารล          ผลการวิจัยด้านความเชื่อเกี่ยวกับประเกือมเงินโบราณจังหวัดสุรินทร์ปรากฏว่า 1) ลายกลีบบัวมาจากความเชื่อเครื่องหมายการบูชาหรือสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ 2) ลายเม็ดมะยมมาจากความเชื่อสัญลักษณ์นิยมหรือ เมตตามหานิยม 3) ลายดอกพิกุลมาจากความเชื่อเครื่องหมายของการบูชาในพิธีกรรม 4) ลายร่างแห มาจากความเชื่อเรื่องสัญลักษณ์การป้องกันภูตผีปิศาจ และ 5) ลายจารลมาจากความเชื่อสัญลักษณ์จากการป้องกัน โดยใช้คาถาอาคม ส่วนคำสอนในประเกือมเงินโบราณจังหวัดสุรินทร์ชี้ให้เห็นว่า 1) ลายกลีบบัวแทนนัยยะ คำสอนเกี่ยวกับความเคารพ การมีสัมมาคารวะ และความอ่อนน้อมถ่อมตน 2) ลายเม็ดมะยมแทนนัยยะ คำสอน เกี่ยวกับความละเอียดรอบคอบ การพิจารณาสิ่งต่าง ๆ การมองให้ครอบคลุมทุกมิติ 3) ลายดอกพิกุลแทนนัยยะคำสอนเกี่ยวกับความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันและความยุติธรรม 4) ลายร่างแหแทนนัยยะ คำสอน เกี่ยวกับการใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา การคิดให้รอบคอบ มองถึงสาเหตุของปัญหาและแก้ไขอย่างเหมาะสม 5) ลายจารลแทนนัยยะคำสอนเกี่ยวกับ ความไม่แน่นอนของชีวิต ตั้งมั่นในคุณงามความดี คนดีจริงจึงได้รับการสรรเสริญ           The purposes of the study were to study the patterns on Phaguamngoeng silver beads in Surin province and to study the beliefs and teaching words in Phaguamngoeng silver beads in Surin province. The qualitative research methodology was used in this study by using In-depth-interview and observation approaches. The key informants of the study were Local Philosophers and Artist of the community.          The study results were as follows:          The patterns on Phaguamngoeng silver beads in Surin province more the ancient patterns which transferred from ancestors. There were 3 types of patterns; 1) The patterns which imagination from the flowers were Lotus, Ma-Yom, and Phigool, 2) The patterns which imagination from the object from the way of life was Hae, and 3) The patterns which imagination from the symbol of holy language was Charl.          The beliefs in Phaguamngoeng silver beads in Surin province were 1) Lotus came  from the belief of sacred or worshiping symbolic, 2) Ma-Yom came from the belief of popular and immortality, 3) Phigool came from the belief of flower in worship ritual, 4) Hae came from the belief of protection of the Devil or ghost and 5) Charl came from the belief of magic power through sacred language Teaching in Phaguamngoeng silver beads in Surin province were 1) Lotus is the symbol to provide teaching about respectfulness and humility,  2) Ma-Yom is the symbol to provide teaching about considering and view cover of all dimensions, 3) Phigool is the symbol to provide teaching about equality of humanity and justice, 4) Hae is the symbol to provide teaching about thinking carefully and solving the problem with appropriate ways, and 5) Charl is the symbol to provide teaching about  uncertainly of life and try to go a good thing.

Downloads