การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการลุกขึ้นยืนโดยใช้โปรแกรม ควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกําลังกายในผู้สูงอายุ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง

Authors

  • บุญรัตน์ โง้วตระกูล
  • เสรี ชัดแช้ม
  • ปรัชญา แก้วแก่น

Keywords:

จินตภาพการเคลื่อนไหว, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, การลุกขึ้นยืน, คลื่นไฟฟ้าสมอง

Abstract

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการลุกขึ้นยืนโดยใช้โปรแกรมควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกำลังกายเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้โปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ เพศหญิง ช่วงอายุ 60-74 ปี จำนวน 48 คน จัดเข้ากลุ่มโดยวิธีสุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน ใช้แบบแผนการวิจัยแบบสุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกำลังกายและโปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาด้วยเครื่อง Hand-held dynamometer วัดความเร็วในการลุกขึ้นยืนด้วยวิธีทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง (Five Times Sit-to-Stand Test: FTSST) และบันทึกสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมองด้วยระบบนิวโรสแกน (Neuroscan system) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที         ผลการวิจัยปรากฏว่า กลุ่มทดลองมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น การลุกขึ้นยืน 5 ครั้งเร็วขึ้นและเปอร์เซ็นต์ อีอาร์ดี (Event-Related Desynchronization: ERD) ของคลื่นแอลฟาในสมองส่วนหน้า และบริเวณเซ็นซอรีมอเตอร์ในขณะจินตภาพการลุกขึ้นยืนสูงกว่ากลุ่มควบคุม (p<.05) สรุปได้ว่า การใช้โปรแกรมควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกำลังกายสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความเร็วในการลุกขึ้นยืน รูปแบบของโปรแกรมนี้เป็นทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุนอกเหนือจากการออกกำลังกายทั่วไป           The purposes of this research were to increase lower extremity muscle strength and the speed of sit-to-stand by using a Motor Imagery Control Combined with Exercise Program (MICE) compared with a control group who received the General Exercise Program (GE). The participants were forty-eight female older adults aged 60-74 years, were randomly assigned to an experimental group (n=23) and the control group (n=25). A randomized pretest and posttest active control group design was applied in this study. The research instruments were MICE and GE programs, lower extremity muscle strength was measured by Hand-held dynamometer, speed of sit-to-stand was measured by Five Times Sit-to-Stand Test (FTSST) and Neuroscan system was used to collect signals of EEG. Data were analyzed by t-test.           The results revealed that: The experimental group had increased in muscle strength of lower extremity, improved speed of FTSST, and enhancement of %ERD (Event-related desynchronization) of alpha wave at the frontal lobe and the sensorimotor area during sit-to-stand imagery task (higher than the control group after training, p<.05). These findings show that the MICE program can increase the muscle strength and the speed of sit-to-stand. This approach is an alternative program for exercising for older adults in addition to general exercise.

Downloads