ผลของโปรแกรมการดูภาพที่ประทับใจร่วมกับการฟังเสียงดนตรีไทยเดิมที่แทรกสอดคลื่นเสียง ไบนอราลบีตส์ต่ออาการปวดและสัญญาณชีพ ในระยะที่ 1 ของการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก

Authors

  • อาทิตยา เพิ่มสุข
  • สุชาดา กรเพชรปาณี
  • ยุทธนา จันทะขิน

Keywords:

ภาพที่ประทับใจ, ไบนอราลบีตส์, ความปวด, การคลอด, สัญญาณชีพ

Abstract

          ความปวดในระยะคลอดมีอาการรุนแรงมากขึ้นตามความก้าวหน้าของการคลอดและส่งผลกระทบต่อผู้คลอดทุกคน การช่วยให้ผ่อนคลายและลดปวดจึงมีความสำคัญในการดูแลผู้คลอด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการดูภาพที่ประทับใจร่วมกับการฟังเสียงดนตรีไทยเดิมที่แทรกสอดคลื่นเสียงไบนอราลบีตส์ และศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นต่อความปวดและสัญญาณชีพในระยะที่ 1 ของการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรก จำนวน 60 ราย ที่โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี เลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับโปรแกรมการดูภาพที่ประทับใจร่วมกับการฟังเสียงดนตรีไทยเดิมแทรกสอดด้วยคลื่นเสียงไบนอราลบีตส์ 20 ราย และกลุ่มทดลองที่ 2 ซึ่งได้รับโปรแกรมการดูภาพที่ประทับใจร่วมกับการฟังเสียงดนตรีไทยเดิมที่ไม่ได้แทรกสอดคลื่นเสียงไบนอราลบีตส์ 20 ราย และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ 20 ราย ทำการวัดคะแนนความปวดและสัญญาณชีพก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และ 30 นาทีหลังการทดลอด เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย โปรแกรมการดูภาพที่ประทับใจร่วมกับการฟังเสียงดนตรีไทยแทรกสอดกับไม่แทรกสอดคลื่นเสียงไบนอราลบีตส์ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติ Chi-square และความแปรปรวนพหุคูณแบบวัดซ้ำ          ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรมการดูภาพที่ประทับใจร่วมกับการฟังดนตรีไทยเดิมแทรกสอดคลื่นเสียงไบนอราลบีตส์ ใช้ระยะเวลา 30 นาที สามารถช่วยผ่อนคลาย ลดปวดและสัญญาณชีพในระยะคลอดได้ 2) ค่าเฉลี่ยความปวดของกลุ่มทดลองที่ 1 ในระยะหลังการทดลองทันที และ 30 นาทีหลักการทดลองต่ำกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) สัญญาณชีพของกลุ่มทดลองที่ 1 หลังการทดลองทันทีต่ำกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 4) ค่าเฉลี่ยความปวดของกลุ่มทดลองที่ 2 ระยะหลังการทดลองทันทีต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05           Pain during the first stage of labor occurs in all women and its severity follows the progression of labor. Relaxation and pain relief are important during this time. The objectives of this research were: to develop appropropriate valence pictures and classical music tracks with binaural beats, and then to study their effectiveness on pain and on the vital signs in the first stage of labor in primigravidarum. The subjects were 60 primigravida women who had been admitted to Prachomkloa Hospital, Phetchaburi Province. They were divided into three groups with 20 subjects in each group. An experimental group received the valence pictures and the classical music inserted with binaural beats; a second experimental group received the valence pictures and classical music tracks without binaural program; and a control group received standard care. Labor pain was assessed by the Visual Analogue Scale (VAS). Labor pain and vital signs were measured before, immediately, and 30 minutes after intervention. The research instruments were valence picture and classical music tracks inserted/not inserted with binaural beats program. Data were analyzed using chi-square, and repeated measures MANOVA.          The results showed that: (1) the visualization activities, in tandem with 30 minutes of listening to classical music inserted with binaural beats, helped women to relax, and to relieve pain during labor; (2) the first experimental group exhibited a significant decrease in their average labor pain score when compared with the control group and with the second experimental group, immediately and 30 minutes after intervention (p < .05); (3) the first experimental group showed a significant decrease in vital signs when compared with the control group and the second experimental group, immediately after intervention (p < .05); and (4) the second experimental group showed a significant relief in pain immediately after intervention when compared with the control group (p < .05)

Downloads

Published

2023-03-14