กระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ตามแนวการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน

Authors

  • สุเทพ แปลงทับ
  • สุชาดา กรเพชรปาณี
  • ปิยะทิพย์ ประดุจพรม

Keywords:

วัฒนธรรม, การเรียนรู้ในชั้นเรียน, การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน

Abstract

          การปฏิรูปการเรียนรู้ให้บรรลุสำเร็จได้นั้น ต้องเริ่มต้นที่การปฏิรูปชั้นเรียน ครูต้องเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมไปเป็นแบบใหม่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน แบบใหม่ใน 5 ประด็น คือ (1) เจตคติและพฤติกรรมของครู (2) เจตคติและพฤติกรรมของนักเรียน (3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน (4) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน และ (5) บรรยากาศในชั้นเรียน 2) สังเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนตามแนวการประเมินเพื่อพัฒนา ผู้เรียน และ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมาย เป็นครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะแก้ว จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ วีดิทัศน์ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้          1.  ผลการเปรียบเทียบวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ทั้งวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมและวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบใหม่ ใน 5 ประเด็น ชี้ให้เห็นว่า วัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบดั้งเดิม 1) ครูเน้นการถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียน 2) นักเรียนท่องจำความรู้ 3) นักเรียนไม่กล้าแสดงความคิดเห็นไม่กล้าถามครู 4) นักเรียนไม่ช่วยเหลือเพื่อนในการเรียน และ 5) ชั้นเรียนมีแต่ความเครียด ส่วนวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบใหม่ พบว่า 1) ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ 2) นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ 3) นักเรียนกล้าซักถามครู 4) มีการช่วยเหลือเพื่อนในการเรียน และ 5) ชั้นเรียนมีแต่ความอบอุ่น นักเรียนมีความสุขในการเรียน          2.  ผลการสังเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ปรากฏว่า มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สร้างแรงบันดาลใจผู้บริหาร 2) ปรับเปลี่ยนเจตคติของครูและนักเรียนต่อการเรียนรู้ 3) ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการกับการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน 4) กำกับ ติดตาม และชี้แนะ 5) จัดกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 6) ถอดบทเรียน          3.  ผลของการใช้กระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ปรากฏว่า กระบวนกการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนทั้ง 6 ขั้นตอน สามารถนำไปใช้ได้จริง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 81.37 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 85.11 ครูมีความพึงพอใจต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการกับการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนอยู่ในระดับมาก           In order to achieve the educational reform, it is necessary to start in the classroom where teachers have to change the traditional classroom culture into the new one. This research aimed (1) to compare the traditional classroom learning culture and the new classroom learning culture in five aspects: (a) the attitude and behavior of teachers, (b) the attitude and behavior of students, and (e), the classroom environment; (2) to synthesize the process of change in the learning culture in the classroom by implementing formative assessment; and (3) to study the effects of applying the process of change in the learning culture in the classroom by implementing the formative assessment of student outcomes. The target group consisted of teachers, and Grade two and grade four students of Ban Ko Kao School, Surin Province, from the 1st semester of academic year 2016. Video recordings and interview forms were used to collect data. Qualitative data were analyzed by content analysis; quantitative data were analyzed by computing means, standard deviations, and percentages.          The results revealed that:          1.  The comparative analysis of learning culture in the classroom indicated that the traditional classroom culture possessed the following charateristics: (a) teachers emphasized a transfer of knowledge to students; (b) students learned new knowledge by rehearsal; (c) students did not participate in classroom learning; (d) students did not help their calssmater; and (e) the classroom environment was stressful. The new classroom learning culture presented the following characteristics: (a) teachers were facilitators; (b) students acquired new knowledge by doing; (c) students bravely shown ideas or ask teachers; (d) students helped their classmates; and (e) students were happy to learn.          2.  The synthesis of the process of changing classroom learning culture showed that there were six steps: (a) establishing inspiration among directors; (b) changing the attitude of teachers and in student learning; (c) applying the learning process integrate with formative assessment; (d) coaching and monitoring; (e) organizing the professional learning community; and (f) taking the lessons studiously.          3.  It was found that, after applying the six steps, students in Grade two and Grade four had learning outcomes of 81.37% and 85.11%, respectively. Moreover, teachers were satisfied at the highest level. Finally, students were, at a high level, satisfied with having the learning activities integrated with formative assessment.

Downloads

Published

2023-03-14