การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินภาวะซึมเศร้าแบบพหุกิจกรรมกับการวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง สำหรับวัยรุ่นไทย

Authors

  • ศราวุธ ราชมณี
  • สุชาดา กรเพชรปาณี
  • พีร วงศ์อุปราช

Keywords:

กิจกรรมสิ่งเร้าทางอารมณ์, กิจกรรมสิ่งเร้าการรู้จำ, ภาวะซึมเศร้า, คลื่นไฟฟ้าสมอง

Abstract

          การประเมินภาวะซึมเศร้าที่ผ่านมามีข้อจำกัดทั้งในประเด็นเรื่องความไม่ครอบคลุมกับทฤษฎีหลักในทุกมิติ และขาดการประเมินกระบวนการทางปัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะซึมเศร้าอย่างเฉพาะเจาะจง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินภาวะซึมเศร้าแบบพหุกิจกรรมร่วมกับการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองสำหรับวัยรุ่นไทย 2) เพื่อพัฒนาแบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (BDI-II) ฉบับภาษาไทย และ 3) เพื่อจำแนกคลื่นไฟฟ้าสมองขณะทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินภาวะซึมเศร้าแบบพหุกิจกรรมของวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า 3 ระดับ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า คัดกรองจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี อายุ 13-22 ปี ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินภาวะซึมเศร้าแบบพหุกิจกรรม 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (BDI-II) ฉบับภาษาไทย และ 3) เครื่องบันทึกเครื่องไฟฟ้าสมอง Neuroscan วิเคราะห์ข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และเครือข่ายคลื่นไฟฟ้าสมอง ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินภาวะซึมเศร้าแบบพหุกิจกรรมประกอบด้วยกิจกรรมสิ่งเร้าทางอารมณ์ (ภาพใบหน้า-คำศัพท์) และกิจกรรมสิ่งเร้าการรู้จำ (ภาพใบหน้า-คำศัพท์) สามารถจำแนกความแตกต่างของภาวะซึมเศร้าออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ น้อยที่สุด น้อย และปานกลาง โดยพิจารณาจากจุดตัดของความถูกต้องของการตอบสนอง เวลาการตอบสนอง และคลื่นไฟฟ้าสมอง 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (BDI-II) ฉบับภาษาไทยที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมสำหรับจำแนกภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นไทย โดยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 3) ค่าเฉลี่ยความสูงและความกว้างของศักย์ไฟฟ้าสัมพันธ์กับเหตุการณ์ P100 N200 และ P300 ปรากฏว่า บริเวณสมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และสมองส่วนท้ายทอย ณ ตำแหน่ง F3 P3 P4 C3 C4 และ O1 ของกลุ่มภาวะซึมเศร้าแต่ละระดับ แตกต่างกัน และ 4) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยพลังงานสัมพัทธ์กับคะแนนประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (BDI-II) ปรากฏว่า มีความสัมพันธ์เชิงลบระดับสูง ณ บริเวณสมองส่วนบนด้านซ้าย           The assessment of depression has possessed limitations in terms of theoretical incomprehensive and ignoring specific assessments of depression-related cognitive processes. This study aimed: (1) to develop a multitask computer program for assessing depression in Thai adolescents using electroencephalogram (EEG) measurements; (2) to develop a Thai version of the Beck Depression Inventory-Second Edition (BDI-II); and (3), to categorize the brain waves (EEG & ERP) observed while working on the computer program into three groups. The participants were 88 volunteers from Ang Sila health promotion district hospital, Chon Buri, aged between 13-22 years old in 2017. The research instruments were the multitask computer program for assessing depression and Thai version of BDI-II. Data were analyzed using ANOVA, Pearson’s correlation coefficient, Chi-square test for ordinal data, and brain network coherence analysis. The results were as follows. 1) The multitask computer program for assessing depression was divided into two main blocks with four activities: Block1: Emotional Stroop task and the face recognition task, and Block 2: Emotional Stroop task and the word recognition task to divide participants into three depression levels, that is, minimal, mild, and moderate by using cut-off scores from response accuracy, response time, and EEG. 2) The Thai version of BDI-II was found to have an alpha reliability of 0.82. 3) The mean amplitudes and latencies of P100, N200, and P300 ERPs were found to be significantly different at Frontal lobes and Occipital lobes at all electrode sites: F3, P3, P4, C3, C4, and O1. 4) Correlation coefficients between BDI-II scores and Relative Power were found to have the highest negative value at the left Frontal electrode site.

Downloads

Published

2023-03-14