การเปรียบเทียบผลการเพิ่มความจำขณะคิดในผู้สูงอายุระหว่างการฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องที่พึง พอใจกับเพลงไทยบรรเลงที่พึงพอใจ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง
Keywords:
เพลงไทยลูกทุ่ง, เพลงไทยบรรเลง, ความจำขณะคิด, ผู้สูงอายุ, คลื่นไฟฟ้าสมองAbstract
การฟังเพลงที่พึงพอใจสามารถเพิ่มกระบวนการทำงานของสมองได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาโปรแกรมฟังเพลงที่พึงพอใจ และศึกษาผลของโปรแกรมฟังเพลงที่พัฒนาขึ้นต่อความจำขณะคิดในผู้สูงอายุและการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมองขณะทำกิจกรรมทดสอบความจำขณะคิด กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลตราด จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 20 คน (กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้องร้องที่พึงพอใจ กลุ่มที่ได้รับ โปรแกรมฟังเพลงไทยบรรเลงที่พึงพอใจ และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมฟังเพลง) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องที่พึงพอใจ โปรแกรมเพลงไทยบรรเลงที่พึงพอใจ โปรแกรม คอมพิวเตอร์วัดความจำขณะคิด และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองระบบ Neuroscan วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้ โปรแกรมฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องที่พึงพอใจประกอบด้วยเพล จำนวน 6 เพลง ความยาวรวม 25 นาที และโปรแกรมเพลงไทยบรรเลงที่พึงพอใจประกอบด้วยเพลง จำนวน 6 เพลง ความยาวรวม 25 นาที ระยะหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้องร้องที่พึงพอใจและกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฟังเพลงไทยบรรเลงที่พึงพอใจ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องจากการทำกิจกรรม ทดสอบความจำขณะคิดเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระยะหลังการทดลองกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องที่พึงพอใจและกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฟังเพลงไทยบรรเลงที่พึงพอใจมีเปอร์เซ็นต์อีอาร์ดีของคลื่นอัลฟาระดับสูงไม่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองกลุ่มมีเปอร์เซ็นต์อีอาร์ดีของคลื่นอัลฟาระดับสูง สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมฟังเพลง ที่ตำแหน่งขั้วไฟฟ้า F3 C3 และ P3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเปอร์เซ็นต์อีอาร์เอสของคลื่นเธต้าสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมฟังเพลงที่ตำแหน่งขั้วไฟฟ้า FP1 FP2 F7 F3 FZ CZ PZ และ O1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 Listening to pleasant music can enhance brain functions. The objectives of this research were to develop the pleasant music program and then to investigate its effects on working memory, and on the changes in brain wave patterns in older adults, as they responded to a working memory test. The participants were sixty older adults from the senior citizens club, Trat hospital, who were randomly assigned to Thai country music (n=20), to Thai classical music (n =20), and to a control group who received no listening material (n=20). Data were collected using a computerized working memory test and the EEG recording system from Neuroscan. The t-test and One-way Anova were used to analyze the data. The results showed that each of the two music programs consisted of six music tracks of 25-minute duration; one program involved pleasant Thai country music, the other pleasant Thai classical music. After the experiment, the Thai country music and Thai classical music groups showed a significant increase in the accuracy score on the counting span task when compared to before-experiment conditions (p < .05). After the experiment, both the Thai country music and the Thai classical music groups showed a significant increase in upper alpha ERD% during the counting span task at F3, C3 and P3 electrode sites when compared to the control group (p < .05). However, there was no difference in upper alpha ERD% between the Thai country music and the Thai classical music groups and significant increased in theta ERS% at FP1, FP2, F7, F3, FZ, F4, CZ, PZ and O1 electrode sites when compared to the control group (p < .05).Downloads
Issue
Section
Articles