ผลการพัฒนาพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นโดยใช้โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาแบบบูรณาการ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์

Authors

  • กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น
  • เสรี ชัดแช้ม

Keywords:

พฤติกรรมเอื้อต่อสังคม, การตัดสินใจเอื้อต่อสังคม, การปรับพฤติกรรมทางปัญญา, คลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์

Abstract

          พฤติกรรมเอื้อต่อสังคมคือการกระทำหรือแสดงออกทางร่างกายเนื่องจากความคิด ความรู้สึกเอาใจใส่ มีน้ำใจเห็นแก่ผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือสังคม ด้วยความสมัครใจ เต็มใจ ไม่คาดหวังผลตอบแทนถือเป็นพฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่มีคุณค่าสูงมากในทุกวัฒนธรรม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาแบบบูรณาการสำหรับพัฒนาพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และเปรียบเทียบผลการใช้โปรแกรมระหว่างกลุ่มใช้โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาแบบบูรณาการ (CBIM) กับกลุ่มใช้โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญา (CBM) กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 20-24 ปี จำนวน 60 คน ที่มีคะแนนพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมในระดับต่ำ จับคู่คะแนนใกล้เคียงกันและคู่เพศเดียวกัน (Matching) ก่อนสุ่มอย่างง่ายแยกเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ใช้แบบแผนการวิจัยแบบวัดก่อนและวัดหลังการทดลอง ใช้เวลาปรับพฤติกรรม จำนวน 10 ครั้ง (Session) ครั้งละ 60 นาที วัดเชิงพฤติกรรมด้วยมาตรวัดพฤติกรรมเอื้อต่อสังคม วัดคลื่นไฟฟ้าสมอง P300 ในขณะตัดสินใจเอื้อต่อสังคมด้วยเครื่อง Neuro Scan system ใช้โปรแกรม STIM2 สร้างกิจกรรมทดสอบการตัดสินใจ บันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองด้วยโปรแกรม Curry neuroimaging suit 7.0 แล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (t-test)          ผลการวิจัยปรากฏว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยหลังการทดลองกลุ่มใช้โปรแกรม CBIM มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมสูงกว่ากลุ่มใช้โปรแกรม CBM หลังการทดลอง (p<.05) นอกจากนี้ ความสูง (Amplitude) ของคลื่นไฟฟ้าสมอง P300 ขณะตัดสินใจไม่ช่วยเหลือในกลุ่มใช้โปรแกรม CBIM มีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มใช้โปรแกรม CBM (p<.05) สรุปได้ว่า หลักการของทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่ใช้ในโปรแกรม CBIM สามารถเพิ่มพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นได้           Pro-social behavior is an action or physical expression because of the thought, the sense of caring, the generous, the altruistic help for the others or society, which are voluntary willingness and without return expectation, which is the high valued ethical behavior in every culture. The purposes of this research were to develop a cognitive behavior integrated modification program (CBIM) for development of pro-social behavior, and to compare the program effectiveness between CBIM group and group using cognitive behavioral modification program (CBM). The program consisted of a series of modules for the service providers or therapists and a series of modules for the service recipients or clients. The participants were sixty males and females aged 20-24 years who had the low Pro-social behavior scores. They were matched by using the pro-social behavior scores and gender matching. After that, they were randomly assigned to experimental group and control group through simple random sampling. A randomized pretest and posttest active control group design was applied in this study. The participants attended 10 sessions of behavior modification lasting 60 minute each. Pro-social behavior was measured by developed scales, and ERP while decision-making in pro-social behavior situation was recorded with Neuroscan system, using STIM2 program to create decision-making activities and ERP recording with Curry neuroimaging suit 7.0. Data were analyzed by t-test.          The results showed that the developed programs were found to be effective. After the experiment, the CBIM group exhibited a significant increase in scores on pro-social behavior when compared to the CBM group (p < .05). In addition, the amplitude of the P300 in the CBIM group were higher than the CBM group (p < .05). It was concluded that the new CBIM program was capable of effectively resulting in enhanced prosocial behaviors.

Downloads