ผลของโฆษณาต่อต้านการสูบบุหรี่ที่มีเนื้อหาเชิงบวกต่อความจำระยะกลางและความจำระยะยาวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์
Keywords:
โฆษณาต่อต้านการสูบบุหรี่, เนื้อหาเชิงบวก, ความจำระยะกลาง, ความจำระยะยาว, คลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์Abstract
โฆษณาต่อต้านการสูบบุหรี่ที่มีเนื้อหาเชิงบวกได้ใช้ในการรณรงค์เพื่อลดการสูบบุหรี่ เนื่องจากเนื้อหา เชิงบวกทำให้เกิดการจดจำได้ดี การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทของโฆษณาต่อต้านการสูบบุหรี่ ที่มีเนื้อหาเชิงบวก และออกแบบกิจกรรมทดสอบการรู้จำ (Recognition task) รวมถึงวิเคราะห์และ เปรียบเทียบผลของโฆษณาต่อต้านการสูบบุหรี่ที่มีเนื้อหาเชิงบวกต่อความจำระยะกลาง และความจำระยะยาว ด้วยกิจกรรมทดสอบการรู้จำ และการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองชนิด ERPs (Event Related Potentials) กลุ่ม ตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2-4 ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ที่อาสา เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 60 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 42 คน และเพศหญิง จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ สารคดี และโฆษณาต่อต้านการสูบบุหรี่ที่มีเนื้อหาเชิงบวก กิจกรรมทดสอบการรู้จำในช่วงระยะกลางและช่วงระยะยาว รวมถึงเครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง Neuroscan การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ทดสอบ One-way ANOVA Repeated Measures ผลการวิจัยสรุปได้ว่า หลังการดูแลโฆษณาต่อต้านการสูบบุหรี่ที่มีเนื้อหาเชิงบวก ผลการทดสอบด้วยกิจกรรมทดสอบการรู้จำในช่วงความจำระยะกลาง ปรากฎว่า กลุ่มตัวอย่างมีเปอร์เซ็นความถูกต้องของเนื้อหาประเภท Joy มากกว่าเนื้อหาประเภท Love และ Contentment อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลตรวจการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองชนิด ERPs ปรากฎว่า P300 แอมพลิจูดของเนื้อหาประเภท Joy ต่ำกว่าเนื้อหาประเภท Contentment อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal) ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนกลาง (Central) ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนขมับ (Temporal) ที่บริเวณเปลือกสมองด้านข้าง (Parietal) ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย (Occipital) แสดงว่าการจดจำเนื้อหาประเภท Joy สามารถจดจำได้ดีกว่าเนื้อหาประเภท Contentment ในส่วน P300 แอมพลิจูดของเนื้อหาประเภท Love ต่ำกว่าเนื้อหาประเภท Contentment อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย (Occipital) แสดงว่า การจดจำเนื้อหาประเภท Love สามารถจดจำได้ดีกว่าเนื้อหาประเภท Contentment ส่วนผลการทดสอบในช่วงความจำระยะยาว ปรากฏว่า สอดคล้องกับการทดสอบในช่วงความจำระยะกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างมีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องของเนื้อหาประเภท Joy มากกว่าเนื้อหาประเภท Love และ Contentment อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) แสดงให้เห็นว่า โฆษณาต่อต้านการสูบบุหรี่เนื้อหาประเภท Joy ทำให้ผู้ชมเกิดการจดจำได้ดีกว่าเนื้อหาประเภท Love และ Contentment The purposes of the research were to analyze the types of positive content found in anti-smoking campaign, to design a recognition task for the positive contents in anti-smoking campaign, and to compare the effects of positive content in anti-smoking campaigns on intermediate and long-term memory with recognition tasks and Event Related Potentials. The samples were 60 undergraduate students (42 males and 18 females) aged 19-24 years old from Burapha University. The data were analyzed by using One-way ANOVA Repeated Measures The result of the recognition task by percentage of correct in intermediate-term memory showed that the samples performed significantly (p< .05) better in Joy content than Love and Contentment contents, the results of ERPs showed that P300 Amplitude of Joy content was significantly (p< .05) lower than Contentment content in Frontal area, Central area, Temporal area, Parietal area, and Occipital area. It was concluded that the memorizing in Joy content was better than Contentment content. P300 Amplitude of Love content was significantly (p< .05) lower than Contentment content in Occipital area. It was concluded that the memorizing in Love content was better than Contentment content. The results of recognition task in long-term memory, measured by percentage of correct, corresponded to the results in intermediate-term memory. The result showed that the samples performed significantly (p< .05) better in Joy content than Love and Contentment contents. From all conclusions, these findings indicate that Joy content in antismoking campaign affect the memorizing of the audiences than Love and Contentment contentsDownloads
Issue
Section
Articles