การพัฒนาระบบคลังข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก

Authors

  • รชมน สุขชุม
  • เสรี ชัดแช้ม
  • พีร วงศ์อุปราช

Keywords:

ข้อความภาษาไทยบรรทัดฐาน, ด้านอารมณ์ความรู้สึก, ระบบคลังข้อความภาษาไทย, บรรทัดฐาน, อารมณ์ความรู้สึก

Abstract

          ข้อความ (Texts) ในรูปแบบของวลี (Phrase) เป็นส่วนหนึ่งของภาษาที่เป็นเครื่องมือสื่อสารของมนุษย์นำมาใช้เป็นสิ่งเร้ากระตุ้นให้บุคคลได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ความคิด ความเข้าใจ และเจตคติ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อความภาษาไทยด้านอารมณ์ความรู้สึกและตรวจสอบคุณภาพของข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก โดยหาค่าความตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนก ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อความแต่ละข้อความ ค่าความเที่ยงของอารมณ์ความรู้สึกแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านความประทับใจ ด้านการตื่นตัว และด้านการมีอิทธิพล จากนั้นนำไปจัดระบบคลังข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก โดยการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบคลังข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ ความรู้สึก กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยอาศัยอยู่ในประเทศไทย มีอายุระหว่าง 18 ปี ถึง 60 ปี ไม่จำกัดเพศ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส เลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก (The Self-Assessment Manikin: SAM) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที          ผลการวิจัยปรากฏว่า          1. ข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว จำนวน 382 ข้อความ จำแนกตามอารมณ์ความรู้สึก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความประทับใจ จำนวน 137 ข้อความ (ลักษณะพึงพอใจ จำนวน 77 ข้อความ ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 22 ข้อความ และลักษณะไม่พอใจ จำนวน 38 ข้อความ) 2) ด้านการตื่นตัว จำนวน 119 ข้อความ (ลักษณะตื่นเต้น จำนวน 51 ข้อความ ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 46 ข้อความ และลักษณะสงบ จำนวน 22 ข้อความ) และ 3) ด้านการมีอิทธิพล จำนวน 126 ข้อความ (ลักษณะกลัว จำนวน 15 ข้อความ ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 95 ข้อความ และลักษณะไม่กลัว จำนวน 16 ข้อความ)          2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบคลังข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึกออนไลน์พัฒนารูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น จัดเก็บข้อความภาษาไทยที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว มีคุณภาพในระดับดี           Texts in style of phrase are a part of language. They are instruments for human communication and stimuli that convey emotion, cognition, and attitude. The objectives of this research were (1) to analyze the Thai texts of affective and to assess the quality of the affective norms for Thai texts via content validity, a discrimination index, the mean and standard deviation of Thai texts, the reliability of Thai texts for three emotional domains (i.e. valence, arousal, and dominance); and (2) to develop the affective norms for Thai texts (Thai-ANT) bank system. The sample used in this study involved Thai volunteers who lived in Thailand, and were aged between 18 and 60 years, regardless of gender, educational level, and marital status. The sample composed of 400 people. The Self-Assessment Manikin Scale were employed in the study, and t-tests were used to analyze the data.          It was found that;          1. A total of 382 Thai affective texts were validated and retained. These texts were classified along the three emotion dimensions: 1) 137 valence texts (77 pleasant, 22 neutral, and 38 unpleasant), 2) 119 arousal texts (51 exited, 46 neutral, and 22 calm), and 3) 126 dominance texts (15 uncontrol, 95 neutral, and 16 control).          2. A user-friendly computerized program of the Thai Affective Texts (Thai-ANT) Bank System was developed as an online computerized program for housing the validated Thai affective texts had quality at the good level.

Downloads