การเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายโดยการเล่นหมากเก็บแบบ ประยุกต์

Authors

  • จรัญญา สีพาแลว
  • ปริญญา เรืองทิพย์
  • ปรัชญา แก้วแก่น

Keywords:

ความสามารถ, ด้านมิติสัมพันธ์, การเล่นหมากเก็บ, แบบประยุกต์, คลื่นไฟฟ้าสมอง

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเล่นหมากเก็บแบบประยุกต์สำหรับเพิ่มความสามารถด้านมิติ   สัมพันธ์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โดยเปรียบเทียบผลการเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์  ของกลุ่มรับการเล่นหมากเก็บแบบประยุกต์กับกลุ่มที่ไม่ได้รับการเล่นหมากเก็บแบบประยุกต์ด้วยวิธีการ  เปรียบเทียบความถูกต้องของการตอบและเวลาปฏิกิริยา ความสูงและความกว้างของคลื่นไฟฟ้าสมอง P300  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย เพศชายและเพศหญิง อายุ 10-12 ปี จำนวน 60 คน   สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หมากเก็บ  แบบประยุกต์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกิจกรรมทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial ability task) ที่ ประกอบด้วย ภาพสัตว์ จำนวน 16 ข้อ และรูปทรงเรขาคณิต จำนวน 16 ข้อ รวม 32 ข้อ และเครื่องตรวจวัด   คลื่นไฟฟ้าสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test แบบ อิสระต่อกัน          ผลการวิจัยปรากฏว่า          1. ผลการเปรียบเทียบความถูกต้องของการตอบและเวลาปฏิกิริยา ขณะทำกิจกรรมทดสอบความ สามารถด้านมิติสัมพันธ์ กลุ่มทดลอง มีคะแนนความถูกต้องมากกว่ากลุ่มควบคุมและเวลาปฏิกิริยา น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่า การเล่นหมากเก็บแบบประยุกต์ สามารถเพิ่มความสามารถ ด้านมิติสัมพันธ์ของกลุ่มทดลองได้          2. ผลการเปรียบเทียบความสูงและความกว้างของคลื่นไฟฟ้าสมอง P300 ขณะทำกิจกรรมทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองมีความสูงของคลื่นไฟฟ้าสมอง P300 มากกว่ากลุ่มควบคุม ที่ตำแหน่งอิเล็กโทรด ดังนี้ F3 C6 P6 P1 และ POZ และความกว้างของคลื่นไฟฟ้าสมอง P300 น้อยกว่ากลุ่มควบคุม ที่ตำแหน่งอิเล็กโทรด CP5 สรุปได้ว่า การเล่นหมากเก็บแบบประยุกต์สามารถเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาได้           This research aimed to develop a pattern/ model of playing Applied Maak Gep for increasing spatial ability among primary school students. A comparison of spatial abilities between student sample groups with and without playing Applied Maak Gep was determined by comparing the response accuracy, reaction time, amplitude, and latency of a P300 brainwave. The randomly selected sample of sixty primary school students included males and females aged between ten to twelve years old; they were randomly assigned to experimental and control groups. The experimental plan comprised a pre- test and post- test with the control group. The experimental group was subjected to play Applied Maak Gep forty minutes a day for fifteen consecutive days. The main tool used in the research consisted of Applied Maak Gep as created by the researcher. A mental rotation task test was also used, consisting of sixteen animal images and sixteen geometric shapes; EEG was recorded while performing the task test. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test for independent.          The results were as follows:          1. In the experimental group, response accuracy and reaction times while conducting the test were compared on a pre- post basis. It was found that the experimental group, after playing Applied Maak Gep, had a lower reaction time and higher response accuracy scores than before playing, with a statistical significance. In addition, the experimental group had a lower reaction time and higher response accuracy scores than the control group. Therefore, it can be concluded that playing Applied Maak Gep improved the spatial ability of the  experimental group.          2. The results of amplitude and latency of the P300 brainwave of the experimental   group while performing the spatial ability test were compared with that of the control group. The experimental group had higher P300 amplitude than the control group, at the sites of   F3, C6, P6, P1 and POZ, as well as, lower P300 latency than the control group, at the sites of CP5.          It can be concluded that the Applied Maak Gep was able to enhance the spatial   ability of the primary school students.

Downloads