การเพิ่มความใสใจของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายผสานกายจิต ด้วยไม้พลองแบบประยุกต์
Keywords:
ความใส่ใจ, โปรแกรมการออกกำลังกาย, นักเรียนระดับประถมศึกษา, ไม้พลองแบบประยุกต์Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายผสานกายจิตด้วยไม้พลองแบบประยุกต์สำหรับเปรียบเทียบความถูกต้องและระยะเวลาของการตอบสนองต่อความใส่ใจหลังการฝึกออกกำลังกายระหว่างกลุ่มที่ฝึกการออกกำลังกายผสานกายจิตด้วยไม้พลองแบบเดิมกับแบบประยุกต์และกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 5 อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง จำนวน 90 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการออกกำลังกายแบบผสานกายจิตด้วยไม้พลองแบบประยุกต์ กิจกรรมทดสอบการเลือกสนใจภาพและเสียงด้วยคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสานกายจิตด้วยไม้พลองแบบประยุกต์ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ การบริหารสมอง การหายใจ และการฝึกสมาธิ 2) ความถูกต้องและระยะเวลาของการตอบสนองต้อความใส่ใจในกลุ่มทดลองระหว่างก่อนกับหลังการฝึกออกกำลังกายผสานกายจิตด้วยไม้พลองแบบประยุกต์ หลังการออกกำลังกายดีกว่าก่อนการออกกำลังกายผสานกายจิตด้วยไม้พลองแบบประยุกต์ 3) ความถูกต้องและระยะเวลาของการตอบสนองต่อความใส่ใจหลังการฝึกออกกำลังกายระหว่างกลุ่มที่ฝึกการออกกำลังกายผสานกายจิตด้วยไม้พลองแบบเดิมกับแบบประยุกต์และกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ฝึกการออกกำลังกายผสานกายจิตด้วยไม้พลองแบบประยุกต์ดีกว่ากลุ่มที่ฝึกการออกกำลังกายผสานกายจิตด้วยไม้พลองแบบเดิม และกลุ่มควบคุม สรุปได้ว่า รูปแบบการออกกำลังกายแบบผสานกายจิตด้วยไม้พลองแบบประยุกต์ช่วยพัฒนาการเลือกสนใจภาพและเสียงในนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายได้ The objectives of this research were to develop an applied mind–body exercise program using a stick, and to compare the accuracy of scores and response times on a selective attention task when given to an experimental group and a control group. Multi-stage random sampling was used to draw 90 primary school students in the second semester of the academic year 2017, Nikomsangtoneng Rayong 5 school, Nikhom Pattana district, Rayong. The experimental group received the new stick-based exercises while the control group undertook similar exercises without a stick. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-tests. Results indicated that: 1) The developed mind–body exercise program using the stick was composed of three main components: brain exercise, breathing, and meditation. 2) In the experimental group, after exercising the accuracy of scores and response times on the selective attention task were better than before exercising. 3) After both groups completed the exercises, the experimental group had higher scores on the attention task, and their response times were lower than those of the control group. In conclusion, the developed mind–body, stick-based exercise program was found to enhance selective attention in upper primary school students.Downloads
Issue
Section
Articles