การตรวจสอบเฝ้าระวังอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) โดยใช้แผนภูมิควบคุม p ปรับแก้

Authors

  • ณัฐนันท์ วารีเศวตสุวรรณ
  • สุชาดา กรเพชรปาณี

Keywords:

แผนภูมิควบคุม p ปรับแก้, การตรวจสอบเฝ้าระวัง, การวิเคราะห์พาเรโต, โรคเบาหวาน, ตั้งครรภ์

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) โดยใช้แผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ การดำเนินงานใช้เครื่องมือคือ แผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ ร่วมกับกฎความไวสำหรับแผนภูมิควบคุม (Sensitivity rules for control chart) คือใช้กฎการแปลความหมาย (Interpretation rules) 4 ข้อ ในการตรวจสอบเฝ้าระวังและหาระดับการเตือนอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) ในพื้นที่ศึกษา จากข้อมูลทุติยภูมิ GDM ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 – มกราคม 2559 (52 เดือน) โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จังหวัดสกลนคร           ผลการตรวจสอบเฝ้าระวังอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) โดยแผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ ปรากฏว่า 1) มีจุดออกนอกขีดจำกัดควบคุม 1 จุด คือ เดือนพฤศจิกายน 2558 กระบวนการเกิดความผิดปกติขึ้น 2) ตรวจสอบหาสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยนำปัจจัยเสี่ยง (Risk factor) ของ GDM มาวิเคราะห์พาเรโตด้วยกฎ 80/20 ปรากฏว่า ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุสำคัญมากเกือบร้อยละ 80 มี 3 ปัจจัย ได้แก่ อายุตั้งครรภ์ตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ภาวะอ้วนก่อนการตั้งครรภ์ และภาวะน้ำหนักเกินก่อนการตั้งครรภ์ แสดงให้เห็นว่า เกิดจากสาเหตุที่ระบุได้ (Assignable causes) จึงตัดข้อมูลเดือน พ.ย. 2558 ออก และ 3) ปรับเส้นขีดจำกัดควบคุม ปรากฏว่า 3.1) ทุกจุดอยู่ในขีดจำกัดควบคุม กระบวนการปกติ และ 3.2) ตรวจหาระดับการเตือน พบจุดที่ตกนอกขีดจำกัดเตือนบน 3 จุด คือ เดือนตุลาคม 2554, มกราคม 2555 และเมษายน 2558 ดำเนินการแจ้งเตือนเพื่อป้องกันการออกนอกขีดจำกัดควบคุมในอนาคต           The purpose of this research was to monitor the incidence of Gestational Diabetes Mellitus (GDM) using adjusted p control charts. The research were used adjusted p control charts to monitor the incidence of GDM based on secondary data from the years 2011 through 2016 from the Sakonnakorn Hospital.           The results indicated that concerning the GDM incidences monitored by the adjusted p control chart, 1) there was only one point, November 2015, detected to be out-of-control; 2) investigating the relevant causes, by applying the Pareto 80/20 rule, there were three particularly salient GDM risk factors, locating almost 80 percent of the cases i.e., 30 years or more of gestation, obesity before pregnancy, and overweight before pregnancy; 3) after adjusting new control limits, all points lay within the action limits which indicated that the process was under control.

Downloads